“สิทธิกร ดิเรกสุนทร” แม่ทัพใหม่ บสย.บนภาระกิจท้าทาย “เป็นที่หนึ่งในใจ SMEs

18 ก.พ. 2565 | 12:47 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ก.พ. 2565 | 20:14 น.

แม่ทัพใหม่ บสย.“สิทธิกร ดิเรกสุนทร” กับภาระกิจท้าทาย “เป็นที่หนึ่งในใจ SMEs ชูดิจิทัลเทคโนโลยี ยกระดับองค์กรสร้างนวัตกรรมค้ำประกันสินเชื่อ ผ่านรูปแบบ “Hybrid Guarantee”

แม่ทัพใหม่ บสย.“สิทธิกร  ดิเรกสุนทร”  กับภาระกิจท้าทาย “เป็นที่หนึ่งในใจ SMEsเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อทุกมิติ ชูดิจิทัลเทคโนโลยี ยกระดับองค์กร สร้างนวัตกรรมค้ำประกันสินเชื่อ ผ่านรูปแบบ “Hybrid Guarantee”

“สิทธิกร ดิเรกสุนทร”  แม่ทัพใหม่ บสย.บนภาระกิจท้าทาย “เป็นที่หนึ่งในใจ SMEs

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)  เปิดเผยทิศทางและแผนดำเนินงาน บสย. ปี 2565 โดยระบุว่า บสย.พร้อมยกระดับองค์กรก้าวสู่ ดิจิทัล แพลตฟอร์ม ภายใต้แนวคิด “TCG Fast & First” รวดเร็ว รอบคอบ เป็นที่หนึ่งในใจ SMEs

 

 

โจทย์ใหญ่ในวันนี้คือ โลกที่เปลี่ยนเร็ว โมเดลแบบเดิมไม่ตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจในอนาคต  การขับเคลื่อนองค์กรด้วย digital Technology สร้าง Financial Platform เป็นเครื่องมือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของ บสย.

 

เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย รับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในปัจจุบัน ครอบคลุมถึงการขยายบทบาท บสย. สู่ Digital Credit Enhancer เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้กลยุทธ์ 3 N ได้แก่

 

  1. New Engine พัฒนาผลิตภัณฑ์ ค้ำประกันสินเชื่อเจาะเฉพาะกลุ่ม (Segmentation) รูปแบบผสมผสาน  (Hybrid Products) ระหว่างผลิตภัณฑ์ค้ำประกันเชิงพาณิชย์ของ บสย. (Commercial Product) และผลิตภัณฑ์ค้ำประกันที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ (PGS 9) และการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการ SMEs แบบเฉพาะกลุ่ม (Segmentation) 
  2. New Culture  ก้าวสู่วัฒนธรรมองค์กรใหม่ บสย. “TCG Fast & First” เป็นที่หนึ่งในใจ SMEs  รวดเร็วเหมือน Fintech Company  และ รอบคอบ  เหมือนสถาบันการเงิน พร้อมการปรับกระบวนการทำงานภายในที่ขับเคลื่อนด้วย digital Technology
  3. New Business Model  ด้วย Digital Platform พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน Digital Gateway เชื่อมโยงธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เชื่อมโยงระบบต่าง ๆกับสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทุกแพลตฟอร์ม ผ่าน Digital Touchpoint  ในรูปแบบ O2O ( Online to Online Lending)  อาทิ Electronic Know Your Customer หรือ e-KYC   และ  e-Statement ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าและได้มาตรฐานการบริหารจัดการ Good Governance

 

ในส่วนของ แผนดำเนินงาน  ปี 2565 บสย. ให้ความสำคัญกับ 4 แนวทางคือ 

  1. สร้างสรรค์นวัตกรรมค้ำประกันสินเชื่อ ในรูปแบบ “Hybrid Guarantee”  ผสมผสาน เชื่อมโยง ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกการเงิน พร้อมสร้าง Financial Platform ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยกลุ่มฐานราก กลุ่มอาชีพอิสระ และ กลุ่มผู้ค้า Online  
  2. เพิ่มสัดส่วนคุ้มครองความเสี่ยงให้สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ ในโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 9 
  3. จัดทำโครงการพิเศษ ในโอกาส บสย.ครบรอบ 30 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี 3 ปี และ อัตราความคุ้มครอง ร้อยละ 30 สำหรับลูกค้าค้ำประกันสินเชื่อ ลดต้นทุนธุรกิจในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว   
  4. ขยายบทบาท 2 ด้านหลัก ได้แก่ 1.ด้านค้ำประกันสินเชื่อ SMEs  มุ่งสู่ Digital Credit Enhancer เพื่อเพิ่มโอกาสเติมเต็มศักยภาพทางการเงิน และลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs และลดการพึ่งพาสินเชื่อนอกระบบ  2.เพิ่มบทบาทการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน  (Financial Literacy) ผ่านศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs  หรือ บสย. F.A. Center โดยทีมผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญด้านการเงิน ซึ่งในปีนี้ บสย. จะติดตามผลการให้คำปรึกษาและลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการ SMEs ที่ขอรับคำปรึกษา นอกเหนือจากการร่วมเป็นทีมที่ปรึกษาในโครงการ ”หมอหนี้เพื่อประชาชน” ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้คำปรึกษาปัญหาหนี้ เพื่อช่วยลดปัญหาการขยายตัวของหนี้ครัวเรือน  

 

 นายสิทธิกร กล่าวถึง ผลประกอบการปี 2564 บสย. สร้างสถิติค้ำประกันสูงสุดในรอบ 29 ปี วงเงิน 245,548 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นร้อยละ 73 เทียบกับปี 2563  สามารถช่วยผู้ประกอบการ SMEs จำนวน  226,312 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 ก่อให้เกิดสินเชื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย มูลค่า 261,545 ล้านบาท หรือ 1.06 เท่าของยอดการค้ำประกัน และเกิดการจ้างงานใหม่ มากกว่า 400,000 ตำแหน่ง รักษาการจ้างงาน มากกว่า 2,000,000 ตำแหน่ง 

 

ผลดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ ปี 2564

1.สร้างสถิติค้ำประกันสูงสุดในรอบ 29 ปี วงเงิน 245,548 ล้านบาท  เพิ่มขึ้นร้อยละ 73 เทียบกับปี 2563

2.ช่วยผู้ประกอบการ SMEs จำนวน  226,312 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 36

3.ก่อให้เกิดสินเชื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย มูลค่า 261,545 ล้านบาท หรือ 1.06 เท่าของยอดการค้ำประกัน

4.เกิดการจ้างงานใหม่ มากกว่า 400,000 ตำแหน่ง

5.รักษาการจ้างงาน มากกว่า 2,000,000 ตำแหน่ง 

 

 ปีที่ผ่านมา บสย.ได้ช่วยผู้ประกอบการ SMEs ในระบบกว่า 3 ล้านราย เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ ร้อยละ 22.52 ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อต่างๆ ได้แก่ 

 

1.โครงการค้ำประกัน PGS 9 จำนวน 81,721 ล้านบาท ร้อยละ 33.30 

2.โครงการค้ำประกัน Micro 4 เพื่อผู้ประกอบการรายย่อย  จำนวน 20,527 ล้านบาท ร้อยละ 8.40        

3.โครงการค้ำประกันสินเชื่อตามพระราชกำหนดสินเชื่อฟื้นฟู ธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงิน 130,943 ล้านบาท ร้อยละ 53.30 

4.โครงการอื่นๆ ของ บสย. จำนวน 12,356 ล้านบาท ร้อยละ 5

 

ความสำเร็จด้านการบริหารจัดการการค้ำประกันสินเชื่อ ได้แก่

1.ช่วยผู้ประกอบการรายย่อย  (Micro) มากสุดเป็นประวัติการณ์ จำนวน  209,192 ราย

2. ช่วยผู้ประกอบการ SMEs ขนาดกลางและขนาดเล็ก อีกจำนวน 20,236 ราย

3.เพิ่มบทบาท บสย. ช่วยผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มฐานราก

4.ช่วยผู้ประกอบการกลุ่มเปราะบาง กลุ่มลูกหนี้ บสย. อาทิ พักหนี้ ยืดระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อ ในโครงการค้ำประกันสินเชื่อ  PGS 9 SMEs ไทยสู้ภัยโควิด, PGS 9 SMEs ค้ำจุน และ  Micro 4 ไทยสู้ภัยโควิด  ได้อีกจำนวน 30,786 ราย ในวงเงิน 16,512 ล้านบาท

5.เสริมสร้างผู้ประกอบการ ให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดีและเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ผ่านโครงการ  SMEs บัญชีเดียว ส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs เข้าสู่ระบบฐานภาษีอย่างถูกต้อง โดยมีลูกค้า ร่วมโครงการจำนวน  1,540 ราย

 

ความสำเร็จด้านการให้บริการเพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถของ SMEs 

มีผู้ลงทะเบียนขอรับคำปรึกษาและอบรมหลักสูตรต่างๆ 3,687 ราย และขอรับคำปรึกษาผ่านศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs หรือ บสย. F.A.Center   จำนวน 1,611 ราย  สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากการช่วยเหลือเพื่อเตรียมความพร้อม และนำส่งธนาคาร ร้อยละ 35.64 ผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงการให้คำปรึกษา SMEs ภายใต้โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน โดย บสย. ร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 118 ราย

 

ความสำเร็จด้านการดำเนินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ บสย.เพื่อบรรเทาภาระ และลดต้นทุนธุรกิจ เพื่อให้ยืนได้และไปต่อ ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจถดถอย ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ มาตรการ ผ่อนน้อย เบาแรง สามารถช่วยลูกหนี้ SMEs สะสมถึงสิ้นปี 2564 ได้ถึง 3,161 ราย 

 นอกจากนี้ บสย. ยังมีความโดดเด่นด้านการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน โดยมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่อรายได้การดำเนินงาน (Cost-to-Income ratio) ร้อยละ 6.53 และอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ร้อยละ 32.58 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ (ไตรมาสที่ 3/2564) ร้อยละ 19.90 โดยมีกำไรสุทธิ  820 ล้านบาท 

และในปี 2564 บสย.ได้รับรางวัลเกียรติยศ รางวัลชมเชยองค์กรโปร่งใส ครั้งที่ 10 (NACC Integrity Awards) จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  (ปปช.) ซึ่งเป็นรางวัลองค์กรโปร่งใส ที่ บสย. ได้รับติดต่อกัน 3 ปีซ้อน สะท้อนผลลัพธ์ความเป็นเลิศแห่งคุณธรรม จริยธรรมและความซื่อตรง และบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาลตลอดมา