นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ผลการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค 1,000 คน ตั้งแต่อายุ 18-65ปี(รวมGEN;Z,Y, X)ปี2564 พบว่าอนาคตการชำระเงิน "คริปโตเคอเรนซี"หรือ สกุลเงินดิจิทัล นั้น พบว่า ลูกค้าส่วนใหญ 69%มีความสนใจในการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล มีเพียง 12%ที่ไม่สนใจ
ต่อข้อถามบทบาทวีซ่าเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลนั้นนายสุริพงษ์กล่าวว่า สำหรับในประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ยังไม่มีนโยบายสนับสนุนสกุลเงินดิจิทัลด้านชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่ง วีซ่ายังปฎิบัติตามนโยบายของธปท.
ส่วนในต่างประเทศ วีซ่าทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ร่วมมือกับแพลตฟอร์ม ,ธนาคารนั้นๆในการออกบัตรร่วมกับธนาคารที่ใช้สกุลเงินดิจิทัล โดยแปลงสกุลเงินดิจิทัลเป็นสกุลเงินท้องถิ่นในแต่ละประเทศก่อน
สำหรับทัศนคติลูกค้าต่อการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดนั้น พบว่า ลูกค้ามีความเชื่อมั่นมากขึ้นในการใช้ชีวิตโดยไม่พกเงินสด เห็นได้จาก 9 ใน 10คนไม่พกเงินสดมีความมั่นใจ 87%ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 82%เมื่อปีก่อนโดย22%สามารถอยู่ได้โดยไม่พกเงินสด ขณะที่เห็นการเปลี่ยนแปลงช่วงโควิดการใช้ชีวิตใน 24ชั่วโมงโดยไม่ใช้เงินสดเกือบ 80%(79%) สะท้อนความมั่นใจเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ 68%
นอกจากนี้ยังพบว่า การระบาดของโควิดในช่วง 2ปีได้ร่นระยะเวลาการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดเร็วขึ้น 3ปี คือในปี 2027 หรือ ภายในปี 2570 โดยถ้าไม่เกิดโควิด-19การเข้าสู่สังคมไร้เงินสดในปี 2573
การชำระเงินแบบไร้สัมผัสหรือคอนแทคเลส ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคใช้จ่ายได้อย่างง่ายดายเพียงแตะบัตรชำระเงิน หรือสมาร์ทโฟนที่จุดรับชำระ พร้อมมอบประสบการณ์ในการใช้จ่ายที่เหนือกว่าให้กับผู้ใช้ทั้งความรวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกสบาย
ระบบชำระเงินแบบคอนแทคเลสกำลังได้รับความนิยมในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นในการใช้ชำระค่าสินค้าและบริการที่ร้านค้าปลีกทางกายภาพและการเดินทาง ในปัจจุบันผู้โดยสารผ่านระบบขนส่งในกรุงเทพฯ สามารถใช้บัตรเครดิตแบบคอนแทคเลสชำระค่าบริการได้แล้วที่รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง รวมถึงรถประจำทาง เรือไฟฟ้า และทางพิเศษโทลเวย์
จากการศึกษายังพบอีกว่า เกือบเก้าในสิบของผู้ตอบแบบสอบถาม (87%) มีการรับรู้เกี่ยวกับบัตรคอนแทคเลส โดยในกลุ่มของผู้ที่ยังไม่เคยใช้งานจำนวน 86% กล่าวว่า พวกเขาสนใจการชำระเงินรูปแบบนี้