นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์( ก.ล.ต.) แถลงแผนยุทธศาสตร์ก.ล.ต.ประจำปี 2565 ภายในงานสัมมนาแถลง แผนยุทธศาสตร์ก.ล.ต.ปี 2565 ว่า ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ก.ล.ต. ปี 2565 – 2567 ได้มีการพิจารณาแนวโน้ม Megatrends หรือ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก ใน 5 ด้าน ได้แก่
ทั้ง 5 Megatrends จะส่งผลกระทบต่อระบบนเวศน์ของตลาดทุนและผู้เกี่ยวข้องด้านต่างๆ ถือเป็นความท้าทายต่อภาคเศรษฐกิจ รวมถึงตลาดทุน
สำหรับกรอบการจัดทำ แผนยุทธศาสตร์ก.ล.ต. ได้เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติทั้งฉบับเดิมและเฉพาะกิจ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และแผนพัฒนาตลาดทุนไทย
โดยมี 8 ประเด็นที่นำมาเชื่อมโยง ได้แก่
ขณะที่เป้าหมาย คือ ต้องการให้แผนฯ นำไปสู่การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน เสริมสร้างการมีส่วนร่วม และสร้างความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น ใน 5 ด้าน คือ
ด้านนางสาวสิริวิภา สุพรรณธเนศ รองเลขาธิการ ก.ล.ต.กล่าวถึงแผนงานส่งเสริมการระดมทุนผ่านตลาดทุน โดยเฉพาะ SMEs ที่พบว่า มีมูลค่าคิดเป็นสัดส่วน 30% ของจีดีพี มีการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคนดังนั้นการส่งเสริมให้ SMEs เข้าถึงการระดมทุนได้ ยังเป็นการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจแล้ว ยังช่วยเพิ่มการจ้างงาน และลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศได้ด้วย
ดังนั้นการส่งเสริมให้ SMEs เข้าถึงการระดมทุนได้ ยังเป็นการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจแล้ว ยังช่วยเพิ่มการจ้างงาน และลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศได้ด้วย ซึ่งอุปสรรคที่ผ่านมาที่ SMEsไม่สามารถเข้าถึงการระดมทุนผ่านตลาดทุนได้ คือ การไม่รู้จักตลาดทุน ข้อจำกัดของกฎหมายหลักทรัพย์และกฎหมายพื้นฐาน
ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขข้อจำกัด โดยในปี 63 ได้อนุญาตให้ SMEs ที่เป็นบริษัทจำกัด มีการออกหุ้นหรือหุ้นกู้แปลงสภาพในวงจำกัด โดยมีบริษัทที่ระดมทุนสำเร็จไปแล้วกว่า 10 แห่ง มีมูลค่ารวมกันกว่า 200 ล้านบาท ล่าสุดในปี 65 ได้เปิดช่องให้มีการทำ SME PO หรือ ออกหุ้นในวงกว้าง และ List ใน Live Exchange รวมถึง การส่งเสริมให้ธุรกิจเป้าหมาย BCG และ S-curve เข้าถึงตลาดทุนได้ง่ายขึ้น
ขณะที่ การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการระดมทุนและคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม โดยเรื่องแรก ก.ล.ต.ได้มีการส่งเสริมการระดมทุนในรูปแบบดิจิทัล โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระดมทุนดิจิทัล โดยมีการพัฒนากฎเกณฑ์เพื่อรองรับการระดมทุนดิจิทัล หรือ ICO เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาใช้ในการระดมทุนได้ ซึ่งสามารถทำให้ธุรกิจระดมทุนได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และต้นทุนการระดมทุนต่ำลง
โดยขั้นตอน จะต้องมีการยื่นขออนุญาต มีการเปิดเผยข้อมูล และต้องมีการเสนอขายสินค้าผ่านตัวกลาง หรือ ICO Portal ซึ่งจะปัจจุบันมีผู้มาขึ้นทะเบียน ICO Portal แล้วประมาณ 7 ราย
ทั้งนี้ได้มีการพัฒนาการนำหลักทรัพย์มาใช้ในการค้ำประกันหรือเพิ่มมูลค่าในการระดมทุนได้ ซึ่งสินทรัพย์ที่ใช้ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คืออสังหาริมทรัพย์ และในอนาคตเตรียมเพิ่มให้สามารถนำกระแสเงินสดมาใช้เป็นหลักประกันในการออกตราสาร ซึ่งขณะนี้ ก.ล.ต. อยู่ระหว่างการออกเกณฑ์รองรับ
“ก.ล.ต. กำลังดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้การระดมทุนที่มีวัตถุประสงค์ในการระดมทุน มาอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ให้หมด ซึ่งปัจจุบัน ก.ล.ต. ได้ดำเนินการแก้ไขตัว พ.ร.บ.หลักทรัพย์แล้ว เพื่อทำให้การระดมทุนโดยใช้เทคโนโลยีมาอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ และได้มีการเสนอร่างที่แก้ไขไปสู่กระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้ว” นางสาวสิริวิภากล่าว
ขณะที่นางวรัชญา ศรีมาจันทร์ รองเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า บริบทที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจ มี 4 เรื่องสำคัญ คือ
โดย ก.ล.ต. ได้นำทั้ง 4 ประเด็นมากำหนดแผน KR5 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศในตลาดทุนให้รองรับยุคดิจิทัล สนับสนุนการใช้ปัจจัยความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจ และสนับสนุนการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีของประชาชน
โดย ก.ล.ต. ได้เสริมสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสม ทั้งการจ้างผู้เชี่ยวชาญศึกษาของเขตของธุรกิจหลักทรัพย์ การปรับกฎเกณฑ์ ขั้นตอน อำนวยความสะดวก สร้างโอกาส และลดภาระการระดมทุน โดยจะมีการสอบถามความเห็นจากผู้ประกอบการเพื่อนำมาวิเคราะห์และพิจารณาปรับหลักเกณฑ์ให้ตอบสนอง มีความยืดหยุ่น ทันสมัย
นอกจากนี้เตรียมสนับสนุนข้อมูล หรือ Data for Capital Market ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนำไปใช้ในการแนะนำนักลงทุน และยังเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลของ ก.ล.ต. โดยจะปรับให้มีความทันสมัยมากขึ้น มีการปรับการประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือในการดูแลผู้ประกอบธุรกิจได้ใกล้ชิดขึ้น ตรงขึ้น และเร็วขึ้น
ทั้งนี้จะมีการผลักดัน ESG เข้าสู่การประกอบธุรกิจ เช่น จะมีการกำหนดเกณฑ์ตั้งแต่ระดับการออกผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนว่ากองที่เข้าไปลงทุนนั้น มีการลงทุนใน ESG จริง ซึ่งจะเริ่มใช้วันที่ 1 เมษายน 65 และจะขยายไปสู่มาตรฐานของอาเซียน เพื่อขยายการระดมทุนระหว่างอาเซียนเพิ่มขึ้น เป็นต้น
ด้านนายศักรินทร์ ร่วมรังษี รองเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวถึงการบังคับใช้กฎหมาย ว่า เพื่อสร้างความโปรงใส่ และเป็นธรรม ทาง ก.ล.ต. ได้มีการบังคับใช้กฎหมายตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเริ่มจากการติดตาม ตรวจสอบ สอบข้อเท็จจริง ฟ้อง ตัดสิน และบังคับคดี ซึ่งจะมีการดำเนินการทั้งทางอาญา และมาตรการโทษทางแพ่ง สำหรับบทลงโทษ เช่น การสั่งเอาผลประโยชน์คืน การปรับ 2 เท่า การสั่งหยุดการซื้อขาย การห้ามไม่ให้เป็นกรรมการหรือมีอำนาจในการบริหาร เป็นต้น
อย่างไรก็ตามสำหรับมาตรการลงโทษทางแพ่งได้เริ่มบังคับใช้ในปี 59 ซึ่งในปี 65 นี้จะมีการประเมินทบทวนประสิทธิผลและกระบวนการของ Civil Penalty รวมทั้งทบทวนการใช้มาตรการทางอาญาเพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดการเกรงกลัวในกฎหมายมากขึ้น ขณะเดียวกันจะเพิ่มเติมกฎหมายให้ ก.ล.ต. มีอำนาจในการสอบสวน และการคุ้มครองพยาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการเสนอแก้กฎหมาย
ขณะที่มาตรการปั่นหุ้น จะมีการประเมินแนวโน้มการกระทำความผิด ให้มีความครอบคลุมมากขึ้น โดยกฎหมายใหม่จะเพิ่มการเอาผิดไปถึงผู้รับรู้ข้อมูลทุกคน โดยถือเป็นผู้กระทำความผิดร่วม ซึ่งเป็นการเสริมมาตรการเชิงป้องกัน
ส่วน พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล โดยกฎหมายเริ่มบังคับใช้ในปี 61 ซึ่งกฎหมายอาจไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งจำนวนผู้เข้ามาเกี่ยวข้อง และรูปแบบการกระทำผิด ทำให้การบังคับใช้กฎหมายต้องปรับปรุง โดยผู้กำกับดูแลต้องทำหน้าที่ให้มีความเข้มแข็งและเข้มงวดยิ่งขึ้น เช่น เข้าไปดูแลตั้งแต่ผู้ออกเหรียญฯ เป็นต้น
นอกจากนี้ ในปี 65 ก.ล.ต. จะมีการนำระบบและฐานข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบความสัมพันธ์ของบุคคลและนิติบุคคล เพื่อยับยั้งความเสียหาย การนำระบบเชื่อมข้อมูลจากหน่วยงานพันธมิตร ในการเรียบเรียงพยานหลักฐานและข้อเท็จจริง รวมถึงจะมีการใช้ระบบตรวจจับและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการปั่นหุ้น เพื่อให้มีการตรวจสอบพบพฤติกรรมที่ผิดปกติได้เร็วและแม่นยำขึ้น และยังสามารถดึงข้อมูลมาใช้ในชั้นศาลได้