นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริม การค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ (DITP) กล่าวในงานสัมมนา ZERO CARBONวิกฤติ-โอกาสไทยในเวทีโลก จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย เวทีเสวนา “ Carbon War:จุดเปลี่ยนการค้า-ลงทุนโลก”โดยระบุว่า เรื่อง Carbon Barrier to Trade นั้นเป็นเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้นๆ
ขณะเดียวกันสามารถใช้เป็นกลไกในเชิงการค้าระหว่างได้ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ในฐานะกรมส่งเสริมการส่งออก มีมุมมองเชิงบวกเรื่องนี้และให้ความสำคัญเรื่องนี้ โดยเข้าใจบริบทของแต่ละประเทศ
ทั้งนี้ หากพิจารณาแต่ละประเทศ เช่น ในญี่ปุ่นกับจีนก็มีมุมมองเชิงบวกเช่นเดียวกับ CBAM (สหภาพยุโรปที่เริ่มจัดเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกก่อนข้ามพรมแดนสำหรับสินค้านำเข้า (carbon border adjustment mechanism)
ปัจจุบันญี่ปุ่นมีการส่งเสริมสินค้าภายใต้เศรษฐกิจสีเขียวอยู่แล้ว โดยญี่ปุ่น มองว่าการที่ภาคเอกชนเข้ามาบริหารจัดการโลกสีเขียวหรือลดคาร์บอนเป็นโอกาสให้เพิ่มมูลค่าสินค้าส่งออกของภาคเอกชน
“ หากเรื่องการลดคาร์บอนเป็นเชิงบวก ภาคเอกชนจะเห็นทางออกที่สามารถเทิร์นเป็นมูลค่าเรื่องการส่งออกได้ ซึ่งสิ่งแรกต้องเปลี่ยน MIND SET และมุมมองภายในวิกฤติก็มีโอกาส”
ดังนั้น เมื่อภาพรวมของการค้าระหว่างประเทศอยู่บนกติกาโลกดังกล่าว ซึ่งแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่งออกของไทยเกือบ 50% เห็นได้จากสินค้า 5ตัวแรกที่มีการส่งออกแต่ละประเทศประมาณ 1-5% ของมูลค่าการส่งออก
แต่หากเป็นสินค้าเกษตรกับอาหาร สินค้าเหล่านี้ซัพพลายเชนคือ ประเทศไทยซึ่งหมายถึงผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการSMEที่จะได้รับผลกระทบ สิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมการและมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการคนไทยต้องเตรียมรับมือตั้งแต่ผู้ประกอบการSME ไปถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ แต่ส่วนตัวเชื่อว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ได้มีการปรับตัวไปมากแล้ว
ดังนั้น ผู้ประกอบการSME มีโอกาสจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก หากไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว โดยเฉพาะประเทศใหญ่ 5ประเทศ(TOP5) เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป มูลค่ากว่า 6,890ล้านบาทคิดเป็นประมาณ 0.88%ของมูลค่าการส่งออกไทยไปยุโรป
ส่วนสหรัฐอเมริกาประมาณ 38,000ล้านบาทหรือ 3-4%ของมูลค่าส่งออกไทยไปสหรัฐฯ ญี่ปุ่นประมาณ 14,687ล้านบาท หรือประมาณ 1.8%ของมูลค่าส่งออกไทยไปญี่ปุ่น และจีนประมาณ 13,696ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 1.7%
“ ผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกของไทยเฉพาะสินค้า 5ตัวแรกในประเทศท๊อป5 ดังที่เห็นในเบื้องต้น แต่ถ้ามีการขยายไปในทุกประเภทสินค้าจะกระทบมูลค่าการส่งออกภาพรวมเกือบ 50%”