ผู้ประกอบการไทยประสบปัญหากับภาวะต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แนวโน้มอัตรากำไรของธุรกิจลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินแนวโน้มต้นทุนการผลิตปี 2565 จะปรับเพิ่มขึ้น 5.7% ซึ่งส่งผลทำให้อัตรากำไรต่อยอดขายของผู้ประกอบการในภาพรวมลดลง 4.5%
จะเห็นว่า ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรของธุรกิจในระดับที่แตกต่างกันไปตามลักษณะธุกิจ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรประคับประคองรักษาระดับอัตรากำไรเพื่อให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ ท่ามกลางแนวโน้มต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้ หนึ่งในทางเลือกที่ช่วยรักษาอัตรากำไรให้คงอยู่ คือ การปรับราคาขายสินค้าเพื่อส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาสินค้าขาย หากผู้ประกอบการปล่อยให้ขาดทุนติดต่อกันจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูง จะทำให้ธุรกิจไม่อาจอยู่รอดได้
อย่างไรก็ดี การปรับราคาต้องถือหลัก “ราคาที่สมเหตุสมผล และลูกค้ายอมรับได้” เนื่องจากการปรับราคาขายขึ้นย่อมส่งผลต่อความรู้สึกของลูกค้า ซึ่งอาจทำให้สูญเสียลูกค้าในระยะยาวได้
ดังนั้น การปรับขึ้นราคาควรดำเนินการอย่างรอบคอบ โดยการพิจารณาปรับเพิ่มราคาสินค้าประกอบด้วย 5 ปัจจัย ดังนี้
จะเห็นว่าความจำเป็นในการปรับราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ แต่ย่อมส่งผลต่อความรู้สึกของลูกค้า ดังนั้น การพิจารณาปรับเพิ่มราคาควรทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า การขึ้นราคานั้นสมเหตุสมผล
เมื่อผู้ประกอบการพิจารณาและกลั่นกรอง 5 ปัจจัยด้วยความรอบคอบ ก็จะสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางการปรับเพิ่มราคาสินค้าได้ตามความเหมาะสมกับอัตรากำไรของตนเอง ซึ่งจะช่วยประคับประคองธุรกิจให้คงอยู่ ในยุค “ข้าวยากหมากแพง” ต่อไปได้