ธปท.จับตาความต่อเนื่องการฟื้นตัวภาคท่องเที่ยวช่วงที่เหลือ

31 พ.ค. 2565 | 09:22 น.
อัปเดตล่าสุด :06 มิ.ย. 2565 | 09:48 น.

ธปท.เผยเครื่องชึ้เศรษฐกิจเม.ย.65ปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวเข้ามาแล้ว 2.93แสนคนและส่งออกสินค้า คาดเดือนพ.ค.แนวโน้มเศรษฐกิจทยอยปรับดีขึ้นตามการเปิดประเทศ-จับตาภาคท่องเที่ยว-ปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต-ค่าครองชีพและเงินเฟ้อช่วงที่เหลือ

ธปท.ชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือนพ.ค.มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แต่ยังถูกกดดันจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น จับตา 3 สถานการณ์ “การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนและราคาสินค้า – ปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต-การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการ"

 

นางสาวชญาวดี  ชัยอนันต์   ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนเมษายน 2565 ปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและการส่งออกเป็นสำคัญ โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น 3.0% จากเดือนก่อนติดลบ 0.8%

ธปท.จับตาความต่อเนื่องการฟื้นตัวภาคท่องเที่ยวช่วงที่เหลือ

โดยเฉพาะการใช้จ่ายในหมวดบริการซึ่งสอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติที่เพิ่มขึ้น 2.93 แสน คนจากเดือนมี.ค.อยู่ที่ 2.10แสนคน ส่งผลให้กิจกรรมภาคบริการในหมวดท่องเที่ยวและหมวดขนส่งปรับตัวดีขึ้นเป็นผลจากการทยอยเปิดประเทศและความกังวลต่อการระบาดของโอมิครอนที่ปรับลดลง

อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนยังคงลดลงตามยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งและจักรยานยนต์ที่ประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต ความเชื่อมั่นยังไม่ดีนักเนื่องจาก ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น

ธปท.จับตาความต่อเนื่องการฟื้นตัวภาคท่องเที่ยวช่วงที่เหลือ

"ธปท..ยังคงติดตามปัจจัยเสี่ยง หลักๆที่มาจาก ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยว    ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวจากอินเดียและนักท่องเที่ยวคนไทยเข้ามาเพิ่มขึ้นเกือบ 3 แสนคนรวมทั้งปี 791,000คนจากเป้าทั้งปีตั้งไว้จำนวน 5.6ล้านคน ขณะเดียวกันยังติดตาม ค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นในช่วงที่เหลือ"

 

ธปท.จับตาความต่อเนื่องการฟื้นตัวภาคท่องเที่ยวช่วงที่เหลือ

นางสาวชญาวดี ระบุว่า  ภาคบริการที่ปรับตัวดีขึ้นในเดือนนี้ได้ส่งผลบวกต่อภาคแรงงานโดยรวมปรับดีขึ้นสะท้อนจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ยังเป็นบวกรวมทั้งจำนวนผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในระบบประกันสังคม ที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้น 0.4% แต่โดยรวมยังเปราะบางเพราะการจ้างงานใหม่ในระบบยังฟื้นตัวไม่เต็มที่

 

 ส่วนเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน0.9% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ 0.7% ตามการลงทุนหมวดก่อสร้างที่อยู่ในทิศทางฟื้นตัวสอดคล้องกับการเปิดประเทศ ยอดขายซิเมนต์ พื้นที่ก่อสร้างขยายตัวดี   อย่างไรก็ตามการผลิตที่ค่อนข้างทรงตัวส่งผลให้การลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ยังไม่ปรับตัวดีขึ้น โดย ความเชื่อมั่นยังมีแรงกดดันด้านปัจจัยการผลิตและต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

ธปท.จับตาความต่อเนื่องการฟื้นตัวภาคท่องเที่ยวช่วงที่เหลือ

สำหรับมูลค่าการส่งออกปรับตัวเป็น 1.2% ไม่รวมทองคำ  โดยสินค้าส่งออกที่ปรับตัวดี เช่น ปิโตรเลียม   สินค้าเกษตรแปรรูป เป็นต้น  ด้านการใช้จ่ายภาครัฐไม่รวมเงินโอนหดตัวจากทั้งรายจ่ายประจำรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลางส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงในปีก่อนประกอบกับหน่วยงานด้านการศึกษาและคมนาคมทยอยเบิกจ่ายในช่วงก่อนหน้า โดยรายจ่ายประจำของรัฐบาลกลางไม่รวมเงินโอน -2.1% รายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลางไม่รวมเงินโอน -16.1% มีเพียงรายจ่ายลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ยังเป็นบวก 15.2%

 

ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนเมษายนกลับมาเกินดุล 3.4พันล้านดอลลาร์  เนื่องจากดุลการค้าเกินดุลลดลง อยู่ที่ 22.7 พันล้านดอลลาร์ ตามการส่งออกทองคำที่ลดลงเป็นสำคัญ   ดุลบริการ  รายได้และเงินโอนขาดดุลมากขึ้น-4.4% แนวโน้มเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในเดือนเม.ย.-พ.ค.อ่อนค่าลงซึ่ง สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาคหลังจากธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นประกอบกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียที่ยังไม่คลี่คลายรวมทั้งความกังวลต่อเศรษฐกิจจีนและการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด

 

อย่างไรก็ดีอัตราเงินเฟ้อทั่วไป 4.65%ปรับลดลงบ้าง (จากเดือนมี.ค.อยู่ที่ 5.73%)ตามอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานเป็นสำคัญขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัว 2.0%

" เดือนเมษายนเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเกือบทุกองค์ประกอบมีเพียงการใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนที่ปรับลดลงบ้างและการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ทรงตัวเนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตตลาดแรงงานแม้ปรับตัวดีขึ้นแต่โดยรวมยังเปราะบาง ส่วนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเดือนพ.ค.มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นบ้างแต่ยังถูกกดดันจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยยังต้องติดตามสถานการณ์ 1.การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนและราคาสินค้า 2. ปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตและ3.การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการ"

ธปท.จับตาความต่อเนื่องการฟื้นตัวภาคท่องเที่ยวช่วงที่เหลือ