อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯเดือนมิ.ย.ขยายตัว 9.1 สูงสุดในรอบ 41 ปี ทำให้ตลาดคาดารณ์ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นถึง 1% ในการประชุม FOMC เดือนนี้ เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งแรงกดดันจากเงินเฟ้อและต้นทุนธุรกิจเพิ่มขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ย ทำให้เกิดความวิตกมากยิ่งขึ้นว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะเกิดขึ้นในต้นปีหน้า
นางสาววรพร วิทยะสิรินันท์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริหารกลุ่มลูกค้าลักษณะเฉพาะ (Micro Segment Management) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนปีนี้เปลี่ยนแปลงเร็วและรุนแรงมาก โดยที่ต้องจับตามากคือ ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบเชิงภูมิศาสตร์หรือ Geopolitical risks โดยเฉพาะความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน ซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ได้รับจากผลกระทบของโควิด-19
ปัจจัยต่างๆ กดดันให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย ดังจะเห็นได้ว่า สินทรัพย์ส่วนใหญ่ปรับลดลงแรงในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา และกระทบต่อ Wealth ของลูกค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน รวมถึงในครึ่งปีหลังที่ยังคงต้องระมัดระวังต่อไป ด้วยการจัดสรรเงินลงทุนอย่างระมัดระวังเหมือนที่เกิดขึ้นกับช่วง 6 เดือนแรกของปี
สำหรับแนวโน้มการให้บริการธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง หรือ Wealth Management ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ธนาคารให้ความสำคัญกับการแนะนำให้ลูกค้าลงทุนแบบพอร์ตโฟลิโอที่กระจายการลงทุนอย่างเหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้สำหรับลูกค้าแต่ละคน มากกว่าการเร่งเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ เนื่องจากมองว่า จะสามารถช่วยบริหารความมั่งคั่งและรับมือกับความผันผวนได้ดีกว่า
ธนาคารยังสรรหากองทุนมาเสริมทัพการจัดพอร์ตอย่างต่อเนื่อง เช่น Private Equity และกองทุนที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ต โดยธนาคารได้ร่วมมือกับ Pictet Group พันธมิตรทางธุรกิจ ไพรเวทแบงก์ระดับโลกจากสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อยกระดับการให้บริการวางแผนการจัดการสินทรัพย์ (Wealth Management) สำหรับลูกค้าที่มีความมั่นคงทางการเงินสูงในไทยให้สามารถลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศที่มีความหลากหลาย เป็นการช่วยบริหารจัดการสินทรัพย์ท่ามกลางความผันผวนได้ดีขึ้น
“แนวทางการบริหารเงินลงทุนในช่วงนี้ แนะนำว่า ควรลงทุนอย่างระมัดระวัง เน้นการลงทุนเป็นพอร์ตลงทุนระยะยาวที่กระจายความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม"
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน แนะนำกลยุทธ์ MIND Strategy” ซึ่งประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ย่อยคือ
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมปีนี้ถือเป็นปีที่การลงทุนและการบริหารเงินเต็มไปด้วยปัจจัยความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงมาก ทั้งปัจจัยทั้งภายในและต่างประเทศสรุปเป็น 4 ประเด็นหลักที่จะเป็นแรงกดดันต่อการบริหารพอร์ตของนักลงทุนคือ
“แม้จะเป็นปีแห่งความท้าทาย และมีปัจจัยกระทบต่อการลงทุนหลายด้าน แต่ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะหนึ่งในผู้นำธุรกิจ Wealth Management เรายังคงยึดมั่นในคุณค่า (Value) หลักของธุรกิจ เพื่อตอกย้ำว่า เราให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอันดับ 1 และพร้อมให้คำปรึกษาด้านวางแผนการเงินและการลงทุนอย่างใกล้ชิด เหมือนเป็น “เพื่อนคู่คิด” ที่พร้อมเคียงข้างลูกค้าอยู่เสมอ” นางสาววรพรกล่าว
หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,801 วันที่ 17 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565