นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ บริษัทซิปเม็กซ์ ประเทศไทย จำกัด (Zipmex Thailand) เปิดเผยความคืบหน้าในการแก้ปัญหาและสถานการณ์ของบริษัทว่า ขณะนี้ได้เปิดให้ลูกค้า ZipUp+ ถอนเหรียญจากกระเป๋า Z Wallet หรือสามารถโอนเหรียญมายัง Trade Wallet ได้ SOL,ADA และ XRP ได้เพื่อบรรเทาความเสียหายบางส่วนไปก่อน ส่วนเหรียญใหญ่อย่างบิตคอยน์ และ อีเธอเลียม อาจใช้เวลาอีกราว 2 สัปดาห์ โดย Zipmex สิงคโปร์ ได้ใช้เงินราว 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 180 ล้านบาท ที่ได้กันไว้เพื่อรองรับความเสียหายจาก Celsius และนำมาเกลี่ยให้ชาว Zipup+ ทั่วโลก
“สินทรัพย์ที่อยู่กับ Celcius โดยทาง Zipmex สิงคโปร์จะรับผิดชอบให้อยู่แล้ว และสินทรัพย์ที่ลงทุนกับ Babel นั้นยังทำธุรกิจอยู่ และยังไม่ได้ล้มละลาย แต่ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น จึงได้รายงานกับ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ทราบแล้ว ตอนนี้ทุกอย่างอยู่ในกระบวนการแก้ไขปัญหา ขอให้นักลงทุนมั่นใจว่า บริษัทจะเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร็วที่สุด”
นอกจากนี้บริษัทยังเดินหน้าระดมทุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยเชื่อว่า วิธีการระดมเงินเข้ามาในบริษัท เป็นวิธีที่เร็วกว่าการฟ้องร้องคู่ค้า ซึ่งจะทำให้มีโอกาสนำเงินมาคืนผู้เสียหายได้เร็วขึ้น ขณะเดียวกันบริษัทมีแวลู อย่าลืมว่าต่อไปนี้ใครจะมาขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ง่ายแล้ว ดังนั้น Zipmex จึงยังมีมูลค่า ซึ่งนักลงทุนให้ความสนใจโดยมองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลยังมีอนาคต และสามารถให้ผลตอบแทนกลับคืนมาใน 3 ปีข้างหน้า
คาดว่าจะมีเม็ดเงินจากการระดมทุนมากกว่า 2,000 ล้านบาท (ครอบคลุมความเสียหาย 50 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 1,805 ล้านบาท (36 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ) โดยที่ผ่านมา Zipmax สิงคโปร์ มีการเซ็นบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นกับนักลงทุน 2 ราย รายหนึ่งมีการวางเงินมัดจำไว้แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการเข้ามาตรวจสอบกิจการ ซึ่งตามปกติกระบวนการการระดมทุนจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ขณะเดียวกันยังเปิดกว้างให้นักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุนต่อเนื่อง โดยรูปแบบการเข้ามาลงทุนนั้นมีทั้งการเข้ามาซื้อทั้งหมด และการเข้ามาถือหุ้น เพิ่มทุน
คาดว่าจะมีเม็ดเงินจากการระดมทุนมากกว่า 2,000 ล้านบาท (ครอบคลุมความเสียหาย 50 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 1,805 ล้านบาท (36 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ) โดยที่ผ่านมา Zipmax สิงคโปร์ มีการเซ็นบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นกับนักลงทุน 2 ราย รายหนึ่งมีการวางเงินมัดจำไว้แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการเข้ามาตรวจสอบกิจการ ซึ่งตามปกติกระบวนการการระดมทุนจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ขณะเดียวกันยังเปิดกว้างให้นักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุนต่อเนื่อง โดยรูปแบบการเข้ามาลงทุนนั้นมีทั้งการเข้ามาซื้อทั้งหมด และการเข้ามาถือหุ้น เพิ่มทุน
“ที่ผ่านมามีผู้ลงทุนในผลิตภัณฑ์ ZipUp+ ทั่วโลกอยู่ 1.2-1.3 แสนราย โดยลูกค้าไทยที่เข้าไปลงทุนมีอยู่ประมาณ 60,000 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70% โดยนักลงทุนไทยที่มีการลงทุนสูงสุดอยู่ที่มูลค่าประมาณ 40 ล้านบาท”
นายเอกลาภ กล่าวต่อไปอีกว่า กรณีที่ ก.ล.ต. ระบุว่าไม่เคยหารือ ไม่เคยรับทราบว่า มีผลิตภัณฑ์ ZipUp+ไม่เป็นความจริง ที่ผ่านมามีการหารือและชี้แจงกับ ก.ล.ต. แบบมีลายลักษณ์อักษร อีเมล์ และผ่านการพูดคุย และต้องการตั้งทีมงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า โดยตอนนี้เกิดปัญหาขึ้นคนที่เสียหายมากสุดคือลูกค้า ซึ่งบริษัทพยายามทำทุกทางให้ลูกค้ากลับมาอยู่ในสถานะเดิม
“10 วันที่ผ่านมาหลังเกิดปัญหา เราดำเนินการหลายอย่างไปเยอะมาก โดยมีการเจรจานักลงทุน ประสานงานหน่วยงานภาครัฐ มีการจัดตั้งศูนย์ฮอตไลน์ขึ้นมาดูแลลูกค้า และทยอยเปิดให้บริการ Z Wallet โดยเป็นการเครดิตไปที่ Trade Wallet”
ส่วนประเด็นที่หลายคนสงสัย คือ การยื่นขอพักชำระหนี้ (Moratorium) ของ Zipmex สิงคโปร์ ยืนยันว่าไม่ใช่การยื่นล้มละลาย แต่เป็นการยื่นขอพักชำระหนี้ต่อศาลสิงคโปร์ และไม่ได้ทำให้บริษัทหยุดดำเนินการ ซึ่งคำสั่งของศาลสิงคโปร์ไม่ได้มีผลกระทบกับในประเทศไทย และเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้องยังมีสิทธิ์เช่นเดิม ส่วนการดำเนินการแก้ปัญหา หากดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายนั้นต้องใช้เวลานานมาก บริษัทจึงได้เร่งระดมทุนนำเงินเข้ามาในบริษัทฯ ด้วยการหารือกับนักลงทุนแล้ว 2 ราย ซึ่งจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง โดยที่ไม่ต้องรอกระบวนการของ Babel Finance
ด้านนายคงกช ยงสวัสดิกุล ทนายความของ Zipmex กล่าวเสริมว่าการยื่นขอพักชำระหนี้ของกลุ่มบริษัท Zipmex กับศาลสิงค์โปร์ เป็นการปฎิบัติตามคำแนะนำของทนายความ เพื่อ “ชะลอและลดผลกระทบในระยะสั้น” ให้บริษัทมีเวลาในการจัดการปัญหาดังกล่าวและยังเป็นส่วนช่วยในการระดมทุน