ผู้สื่อข่าวรายงานการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index )วันนี้ (14ก.ย.65) เมื่อเวลา 10:00 น.อยู่ที่ 1,643.97 จุด ลดลง 17.12 จุด หรือ -1.03% ดัชนีปรับสูงสุดอยู่ระดับ 1,644.68 จุด ต่ำสุดที่ 1,642.53 จุด มูลค่าการซื้อขายราว 5.89 พันล้านบาท ก่อนที่ล่าสุด เมื่อเวลา10.30 น. ดัชนี SET จะปรับลดลง 11.00 จุด หรือ - 0.66% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 2.12 หมื่นล้านบาท
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย หรือ KS ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ ( 14 ก.ย. 65 ) ประเมินตลาดหุ้นไทย พักฐานตามต่างประเทศ เห็นได้จากตลาดหุ้นเอเซีย (ญี่ปุ่น และเกาหลีเหนือ) เช้านี้ติดลบเฉลี่ยราว 2.5% โดยประเมินตลาดหุ้นสหรัฐ และไทยหลังจากนี้ ในการประชุม Fed เดือนนี้คาดจะแกว่งตัวลง แต่ประเมินตลาดหุ้นไทยจะพักฐานน้อยกว่าในฝั่งสหรัฐ และยุโรป เนื่องจาก ไทยมีจุดเด่นทั้ง 1.)โอกาสการเกิด Recession ต่ำกว่า 2.) ยังเห็น Trend การ Upgrade ทั้ง GDP และ EPS ฯลฯ
ประเมินกรอบ SET Index วันนี้ ( 14 ก.ย.) ที่ 1635-1660 จุด โดยคำแนะนำ เน้นสะสมที่อยู่ในโซนล่าง รวมถึงหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศ(Domestic Play) ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกจำกัด อาทิ
กลุ่มที่แนะนำเลียงคือ กลุ่ม Global Play อาทิ กลุ่มพลังงาน, กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
บล.กรุงศรี ประเมินแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ ( 14 ก.ย.65) ดัชนี SET ปรับตัวลงแนวรับ 1,635 / 1,620 จุด หลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐเดือนส.ค. CPI +8.3% และ Core CPI +6.3% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้บ่งบอกถึงปัญหาเงินเฟ้อยังคงรุนแรง จึงมีแนวโน้มที่การประชุม FED 20 -21 ก.ย.จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 1% สะท้อนได้จาก US bond yield พุ่งขึ้นซึ่งเป็นลบต่อทิศทางการลงทุน อย่างไรก็ตามคาดว่าดัชนีจะสลับรีบาวด์ขึ้นได้จากแรงซื้อหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว
กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy
ด้าน บล.พาย (Pi) ประเมินกรอบดัชนีหุ้นไทยวันนี้กรอบ 1630-1660 จุด ระบุปัจจัยติดตามคืนนี้ได้แก่ดัชนีราคาผู้ผลิต Bloomberg ประเมินว่าจะขยายตัว 8.8% YoY หากประกาศออกมาเร่งแรงกว่าตลาดคาดการณ์จะยิ่งสร้างแรงกดดันต่อเนื่อง
กลยุทธ์การลงทุนยังคงคำแนะนำ ลดพอร์ตการลงทุนต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดหุ้นยังมีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อทรงตัวสูงดอกเบี้ยเร่งขึ้น ความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่มีโอกาสเกิดขึ้นในปีหน้า
ส่วนหุ้นแนะนำระยะสั้นเน้นไปที่ Defensive Stock อาทิ
บทวิเคราะห์ บล.พาย ระบุอีกว่า มองปัจจัยเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งเกินคาด หากพิจารณ์าองค์ประกอบกายในจะพบว่าราคาสินค้าโภคภัณท์ลดลง MoM เป็นระยะเวลา 2 เดือนติดต่อแล้ว แต่ที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องได้แก่ราคาอาหาร ค่าไฟฟ้า การให้บริการทางการแพทย์ ภาคอสังหาริมทรัพย์ราคารถยนต์ สะท้อนถึงการส่งผ่านราคาออกไปเรื่อยๆ ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานดูน่ากังวลอีกครั้งด้วยการเร่งตัวขึ้นมาทำจุดสูงสุดไหม่ในรอบ 5 เดือน มองเป็นปัจจัยกดดันต่อความหวังว่าเงินเฟ้อจะคลี่คลายลงจากนี้
ขณะที่ความเห็นของ CME Fed Watch มีการปรับเปลี่ยนท่าทีอย่างชัดจนด้วยการปรับน้ำหนักดอกเบี้ยเดือน ก.ย.ของธนาคารกลวงสหรัฐฯ (Fed) โดยโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 0.75%. เริ่มลดลงเหลือเพียง 67% จากก่อนหน้าที่ 91 แต่พบว่าน้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ย 1 กลับเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจาก 0% ขึ้นมาทดสอบ 33%
ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐจายุ 2 แล: 10 ปีปรับเพีมขึ้นต่อเนื่องพร้อมกับ Dollar Index กลับมาแข็งค่าและกดดันเงินบากกลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง โดยระมัดระวังกระแสเงินทุนต่างชาติจะไหลกลับ เนื่องจากก่อนหน้าเริ่มเห็นแรงซื้อสุทธิเข้ามา2วันติดต่อ
ขณะที่เช้านี้ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (Nikel) ปรับลงอย่างมีนัย นัยยะราว 257% ก็เชื่อว่าจะสร้างแรงกดดันต่อ SET INDEXในวันนี้ให้ปรับตัวลดลง ประเมินกรอบ 1630-1660