นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด(NCB)หรือเครดิตบูโร เปิดเผยว่า สถิติการเข้าดูข้อมูล 10เดือนปีนี้ พบว่ามีจำนวน 38ล้านครั้งมากกว่าปีก่อนอยู่ที่ 34ล้านครั้ง สะท้อนความต้องการสินเชื่อทำให้สถาบันการเงินเข้ามาตรวจสอบข้อมูลลูกค้าเก่าเพื่อจะอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งสถาบันการเงินมอนิเตอร์ลูกหนี้และการก่อหนี้อย่างใกล้ชิด
หนี้ทะลัก1.4ลล.บ.
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนมีจำนวน 14.7ล้านล้านบาทคิดเป็น สัดส่วน 88%ของจีดีพีโดยทยอยปรับลดในเดือนต.ค.ที่ผ่ามาน ซึ่งในจำนวนนี้มีดสัดส่วน 28%ที่เป็นการก่อหนี้เพื่อกินเพื่อใช้จ่าย หากเทียบกับบางประเทศส่วนใหญ่จะเป็นหนี้ที่อยู่อาศัย แต่หนี้เพื่อกินพื่อใช้เพียง 10% ขณะที่หนี้ที่อยู่ในเครดิตบูโรจำนวน 13ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ ฐานข้อมูลเครดิตบูโรมียอดสินเชื่อคงค้าง 13.05 ล้านล้านบาทในไตรมาส3ของปี2565 เพิ่มขึ้น 4.7%เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 12.46ล้านล้านบาท
ประกอบด้วย สินเชื่ออื่นๆ 1.46ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.5% สินเชื่อบัตรเครดิต 5.29แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.4% สินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.70ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.1% สินเชื่อรถยนต์ 2.56ล้านล้านบาทเพิ่มขึ้น 4.5% สินเชื่อส่วนบุคคล 2.5ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.7% สินเชื่อเกษตร 9.44แสนล้านบาทหดตัว 0.1% เช่นเดียวกับสินเชื่อเบิกเกินบัญชี(OD) 3.36แสนล้านบาทหดตัว 0.3%
เครดิตบูโรมีความกังวล สินเชื่อส่วนบุคคลมีการปล่อยกู้สูงโดยมาจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (ธ.ก.ส.กับออมสินราว 15ล้านบัญชีหรือ 5-6ล้านคน) กลุ่มนี้มีความเปราะบาง โอกาสจะเป็นหนี้เสียในอนาคต ประมาณ 2-3ล้านคนหากเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวกลับมาอย่างต่อเนื่อง
ไตรมาส3ปีนี้NPLsเพิ่ม8.4%
สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPLs) ไตรมาสที่3ของปีนี้อยู่ที่ 1.09ล้านล้านบาท 8.4% และหนี้ที่จัดชั้นที่กล่าวถึงเป็นพิเศษอีกประมาณ 4.6แสนล้านบาทกว่า 3.1% โดย 2ส่วนดังกล่าวรวมกันจะมีหนี้เสียแล้วและส่วนที่ยังเฝ้าดูรวมประมาณ 11.5% มูลหนี้ราว 1.4ล้านล้านบาท ซึ่งต้องเฝ้าดูใกล้ชิดว่าจะไหลเป็นหนี้เสียหรือไม่
หนี้ปรับโครงสร้างอืด-ไหลย้อนกลับ7.8แสนล.
สำหรับหนี้NPLที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วประมาณ 7.8แสนล้านบาทคิดเป็นประมาณ 6% ซึ่งเป็นหนี้เสียแล้ว ที่ผ่านมาถึงปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สนับสนุนมาตรการให้สถาบันการเงินปรับโครงสร้างหนี้ก่อนและหลังเป็นเอ็นพีแอล
จึงอยากเสนอให้ธปท.เร่งทำมาตรการพุ่งเป้าช่วยลูกหนี้ 3.2ล้านคน(จาก 5.5ล้านคน) เพื่อที่จะดึงลูกหนี้กลุ่มนี้ออกมาโดยธปท.พิจารณาให้มีแรงจูงใจไม่ว่าด้วยมาตรการจูงใจ เช่น ลดดอกเบี้ย ยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไปหรือลดวงเงินผ่อนชำระต่องวด หรือเพิ่มสภาพคล่องให้มี บสย.ค้ำประกันสินเชื่อ
“ เราไม่สบายใจกับการปรับโครงสร้างหนี้กลุ่มนี้ที่ค่อนข้างอืดอยู่ ย่ำอยู่กับ 7.8แสนล้านบาทมาหลายไตรมาสแล้ว เพราะหลังจากปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วลูกหนี้ผิดนัดหรือไม่ปฎิบัติตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ก็จะไหลกลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีก หากสามารถจะเร่งปรับโครงสร้างหนี้ให้รวดเร็วขึ้นจะทำให้ช่วยชะลอการเกิดหนี้เสียเพิ่มหรือลดการไหลย้อนกลับมาเป็นหนี้เสียอีก ”
ทั้งนี้ลูกหนี้ 3.2ล้านคนนั้น เป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ในGEN วาย อายุ 21-30ปีมีจำนวน 6.14แสนคน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 31-40ประมาณ 8แสนคน,อายุ 41-50ประมาณ 7.7แสนล้าน อายุ 51-60ปีมี 6.3แสนล้าน และยังพบว่าผู้ที่อยู่ในวัยใกล้เกษียณ ส่วนอายุ 61ปีขึ้นไปมีประมาณ 3แสนคน ส่วนตัวมองถ้าช่วยกลุ่มนี้ได้จะช่วยได้เยอะมาก
ขณะที่ ลูกหนี้ 3.2ล้านคนนั้นประมาณ 8แสนคนอยู่ในเขตภาคอีสาน ราว 5แสนคนอยู่ในกรุงเทพละปริมณฑล, อีก 4.5แสนคนเป็นอยู่แถบภาคเหนือราว 2.5แสนคน อยู่ในทิศคตะวันออกเฉียงและ 1.5แสนคนที่เหลือไม่มีสถานที่ชัดเจน
นอกจากนี้ที่ยังเป็นกังวลคือสินเชื่อส่วนบุคคลเกือบ 3.5ล้านบัญชีอายุประมาณ 25-42ปี( เจนวาย) ซึ่งบัญชีมีปัญหาเป็นเงิน 1.5แสนล้านบาท อาจจะซื้อก่อนผ่อนทีหลังหรือซื้อเงินก้อนผ่อนเป็นงวด หากแก้ไขได้จะไม่สร้างปัญหาต่อเนื่องในระยะต่อไป เพราะคนกลุ่มนี้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ร้องธปท.เร่งออกมาตรการจูงใจลูกหนี้3.2ล้าน
เมื่อพิจารณาถึงหนี้เสียกว่า1.09 ล้านล้านบาทจำนวนลูกหนี้รวม 5.5ล้านคนนั้น พบว่า 3.2ล้านคนมูลหนี้กว่า 4.6แสนล้านบาทหรือประมาณ 40%ของมูลหนี้ 1.09ล้านล้านบาท เป็นหนี้เสียที่รับผลกระทบจากโควิดจนตกชั่นจากก่อนหน้าปี2562 ลูกหนี้กลุ่มนี้เคยมีสถานะเป็นลูกหนี้เกรดA
จึงอยากเสนอให้ธปท.เร่งทำมาตรการพุ่งเป้าช่วยลูกหนี้ 3.2ล้านคนเพื่อที่จะดึงลูกหนี้กลุ่มนี้ออกมาโดยธปท.พิจารณาให้มีแรงจูงใจไม่ว่าลดดอกเบี้ย ยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไปหรือลดวงเงินผ่อนชำระต่องวด หรือเพิ่มสภาพคล่องให้มี บสย.ค้ำประกันสินเชื่อ
“ ผมมองว่ากลุ่มนี้ บางคนยังไม่ได้รับการปรับโครงสร้าง และเป็นหนี้เสียต้องเร่งปรับโครงสร้างหนี้อย่างมีเป้าหมาย หากสามารถเร่งปรับโครงสร้างได้ ทำให้หนี้ครัวเรือนไทยเติบโตช้าลง ส่วนหนี้จัดชั้นที่กล่าวถึงเป็นพิเศษประมาณ 4แสนล้านบาทส่วนใหญ่ค้างชำระ 1-2งวดซึ่งค่อยๆทยอยไหลเป็นเอ็นพีแอล”
ปัจจุบันมาตรการมีอยู่แล้ว แต่ต้องหาแรงจูงใจให้คน 3.2ล้านคนเข้ามาปรับโครงสร้าง บางกลุ่มรายได้น่าจะกลับมาแล้ว แต่ต้องมีสัญญามาตรฐาน กำหนดยอดผ่อน หรือกลไกในการจัดการโดยไม่ฟ้องดำเนินคดี