ธปท.เล็งต่ออายุสินเชื่อฟื้นฟู-หลังยอดอนุมัติ 2.12แสนล้าน

20 ก.พ. 2566 | 07:05 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ก.พ. 2566 | 07:21 น.

ธปท.จ่อปรับเกณฑ์คลีนิกแก้หนี้-ขยายเวลามาตรการสินเชื่อฟื้นฟูอีก 1ปี เผยยอดอนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูและสินเชื่อเพื่อการปรับตัวคืบหน้าแล้ว 212,362ล้านนบาท ถึงมือลูกหนี้จำนวน 59,891ราย ส่วนโครงการพักทรัพย์พักหนี้ยอดอนุมัติกว่า 64,966ล้านบาท 442ราย

ธปท.อนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูและสินเชื่อเพื่อการปรับตัว 2.12แสนล้านบาท  จำนวน 59,891 รายวงเงินเฉลี่ยต่อราย 3.5ล้านบาท  เผยคณะกรรมการเจ้าหนี้อยู่ระหว่างพิจารณาแรงจูงใจ หวังดึงสถาบันการเงินเจ้าหนี้ร่วมโครงการเพิ่มพร้อมปรับคุณสมบัติลูกหนี้

ธปท.เล็งต่ออายุสินเชื่อฟื้นฟู-หลังยอดอนุมัติ 2.12แสนล้าน

นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์  ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)หรือแบงก์ชาติเปิดเผยถึงความคืบหน้า (ณ วันที่ 13 ก.พ.2566)  “สินเชื่อฟื้นฟูและสินเชื่อเพื่อการปรับตัว” โดยระบุว่า  สินเชื่อที่ได้รับอนุมัติแล้ว 212,362ล้านบาท จำนวน 59,891รายเฉลี่ยวงเงิน 3.5ล้านบาทต่อราย  โดยการอนุมัติสินเชื่อมีการกระจายตัวดี ทั้งขนาด ประเภทธุรกิจและภูมิภาค

ธปท.เล็งต่ออายุสินเชื่อฟื้นฟู-หลังยอดอนุมัติ 2.12แสนล้าน

สำหรับสินเชื่อเดิม ผู้ได้รับอนุมัติ ประกอบด้วย SME  (วงเงินสินเชื่อเดิม 5-50ล้านบาท) ได้รับอนุมัติ 87,248ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 41.1% จำนวนราย 22,428รายคิดเป็นสัดส่วน 37.4%  รองลงมาเป็นสินเชื่อธุรกิจ (วงเงินสินเชื่อเดิม >50-500 ล้านบาท) ได้รับอนุมัติ60,625ล้านบาทสัดส่วน 28.5%จำนวน  3,764รายสัดส่วน 6.3%  ส่วนMicro ( วงเงินสินเชื่อเดิม ไม่เกิน 5 ล้านบาท) ได้รับอนุมัติ 27,845ล้านบาทสัดส่วน13.1% จำนวน  22,099รายสัดส่วน 36.9%  และลูกหนี้ใหม่ได้รับอนุมัติ 36,642ล้านบาท สัดส่วน 17.3%   จำนวน  11,600รายสัดส่วน 19.4%

ธปท.เล็งต่ออายุสินเชื่อฟื้นฟู-หลังยอดอนุมัติ 2.12แสนล้าน

เมื่อพิจารณาสินเชื่อฟื้นฟูที่อนุมัติแล้ว  แยกตามประเภทของธุรกิจพบว่า  ธุรกิจการพาณิชย์จำนวนเงิน  102,628ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 48.3% มีผู้ประกอบการได้รับอนุมัติ 31,923รายสัดส่วน 53.3%    รองลงมาอุตสาหกรรมการผลิต วงเงิน 46,728ล้านบาท สัดส่วน 22.00% จำนวน 9,252รายสัดส่วน 15.1% ภาคก่อสร้าง วงเงิน   20,039ล้านบาทสัดส่วน 9.4% จำนวน 5,673รายสัดส่วน  9.5%  ภาคการบริการ ได้รับอนุมัติวงเงิน  24,270ล้านบาทสัดส่วน 11.4%จำนวนราย 8,768รายสัดส่วน 14.6% 

การสาธารณูปโภควงเงิน 8,221ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 3.9%จำนวน 2,083รายสัดส่วน 3.5%  ธุรกิจเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์  5,158ล้านบาทจำนวน 906ราย   ส่วนเกษตรและการป่าไม้  4,109ล้านบาท จำนวน  1,032ราย   การเหมืองแร่และย่อยหิน 950ล้านบาท จำนวน 165ราย และอื่น 21ล้านบาท จำนวน 14ราย

ธปท.เล็งต่ออายุสินเชื่อฟื้นฟู-หลังยอดอนุมัติ 2.12แสนล้าน

นางสาวสุวรรณีกล่าวว่า ในส่วนของสินเชื่อเพื่อการปรับตัวนั้น  เบื้องต้นยังมีคำขอสินเชื่อเข้ามาเป็นตัวเลขหลังพันล้านบาท  ซึ่งธปท.พยายามสื่อสารให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวได้อย่างต่อเนื่อง   โดยปัจจุบันคืบหน้ามีธนาคาร 9แห่งปล่อยสินเชื่แล้วจากที่เสนอแผนเข้ามา 16ธนาคาร ซึ่งเป็นการยื่นคำขอรับสินเชื่อทั้ง 3ด้าน(ดิจิทัล ,อินโนเวชั่นและสินเชื่อสีเขียว)   ส่วนใหญ่ เป็นคำขอสินเชื่อสีเขียว เพื่อพลังงานทดแทนส่วนใหญ่เป็นการติดตั้ง โซลาเซล  ที่เหลือ ด้านการปรับตัวรองรับดิจิทัลวัตถุประสงค์เพื่อทำระบบหลังบ้าน  ด้านอินโนเวชั่นเพื่อทำสมาร์ทฟาร์มมิ่ง/เลี้ยงสัตว์ระบบปิด

 

“ ยอดอนุมัติสินเชื่อโครงการพักทรัพย์พักหนี้นั้นถือว่าเกินกว่าเป้าที่ตั้งหว้ 4-5หมื่นล้านบาทและยังมีดีลที่อยู่ระหว่างเจรจาอีกคาดว่าน่าจะตกลงกันได้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 9 เม.ย.2566ซึ่งครบกำหนดหมดอายุ ส่วนสินเชื่อฟื้นฟูอยู่ระหว่างพิจารณาเพราะสามารถขยายระยะเวลาได้อีก 1ปีแต่ในหลักการธปท.ยังคงจะผลักดันให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีบางมาตรการครบกำหนด เช่นเดียวกับ คลีนิกแก้หนี้ที่คณะกรรมการเจ้าหนี้กำลังพิจารราคุณสมบัติและผู้ที่เป็นหนี้เสียก่อนวันที่ 1ก.พ.2566”