ธปท.คาดเปิดรับสมัครVirtual Bankปี67 -ออกเกณฑ์สางหนี้ครัวเรือน 21ก.คนี้ .

19 ก.ค. 2566 | 23:16 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ก.ค. 2566 | 11:16 น.

ผู้ว่าธปท.เผยเตรียมออกเกณฑ์ “ธนาคารไร้สาขา”สิ้นเดือนก.ค.นี้ ก่อนเปิดรับสมัครปี 67 เริ่มดำเนินการปี 68 แจงออกใบอนุญาต รอบแรก 3รายนำร่อง ห่วงกระทบระบบ เหตุปีแรกผู้เล่นมีโอกาสขาดทุนหลัก1,000ล้าน ลั่น! -21ก.ค.ออกเกณฑ์สางหนี้ครัวเรือน-

ดร. เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน “Meet the Press” เมื่อวันที่ 19ก.ค.2566 โดยกล่าวถึงความคืบหน้าการออกใบอนุญาต( License)  ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ว่า

 ธปท.เตรียมส่งร่างประกาศหลักเกณฑ์ต่อกระทรวงการคลังคาดว่าจะออกจากธปท.สิ้นเดือนก.ค. จากนี้น่าจะเปิดรับสมัครภายในสิ้นปีนี้ เบื้องต้นกำหนดจะประกาศรายชื่อปี2567 และเริ่มดำเนินการประมาณ2568 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขั้นตอน

“ รอบแรก 3รายไม่มากไม่น้อยเกินไป ซึ่งก็มีผู้สนใจเข้ามาพอควร ไม่ขี้เหร่   จับมือกันมาเป็นแพ็ก  มีความหลากหลาย โดยหลักการต้องใส่ใจเรื่องไอทีเรื่องCyber เราอยากให้มีสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่และบริการกลุ่มให้บริการกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน หรือกลุ่ม Underservedและไม่ซ้ำเติมหนี้ครัวเรือน”

สำหรับการออกใบอนุญาต Virtual Bank นั้น เป็นโจทย์ของธปท.ที่อยากกระตุ้นการแข่งขันธุรกิจธนาคารบนรูปแบบใหม่ ซึ่งจำนวนรายไม่ต้องมากแต่ทุนจดทะเบียน 5,000ล้านบาท เพราะไซซ์ต้องใหญ่พอ  เพื่อไม่สร้างความเสี่ยง เพราะธนาคารไร้สาขาต้องเปิดรับฝากเงินจากประชาชนจึงไม่เหมือนธุรกิจอื่น

"ธปท. อยากเห็น Virtual Bank เป็นผู้เล่นประเภทใหม่ที่สามารถตอบโจทย์การให้บริการแก่ลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้บริการรายย่อยและ SMEs ที่ยังไม่ได้รับหรือเข้าถึงบริการทางการเงินได้เพียงพอ และช่วยกระตุ้นการแข่งขันในระบบธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) อย่างเหมาะสม โดยไม่สร้างความเสี่ยงต่อระบบการเงิน ดังนั้น จึงควรเริ่มจากจำนวนไม่มาก และต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะแข่งขันกับผู้เล่นรายเดิมและอยู่รอดได้ เพราะ Virtual Bank ทำธุรกิจรับฝากเงินจากประชาชน หากไม่สามารถอยู่รอดจนต้องปิดกิจการไปจะกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในวงกว้างได้"

ดังนั้นการเปิดให้จัดตั้ง Virtual Bank จำนวนไม่เกิน 3 รายในระยะแรก ถือเป็นสัดส่วนค่อนข้างสูงแล้วเทียบกับจำนวนธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่เดิมในระบบ หลายประเทศที่มีจำนวน ธนาคารพาณิชย์สูงกว่าไทย  เช่น  เกาหลี  5 ราย สิงคโปร์ 4 รายมาเลเซีย 4ราย   หากเทียบจำนวนธธนาคารพาณิชย์เดิมที่มีอยู่ กรณีไทยอนุญาต 3รายนั้น ธนาคารพาณิชย์ในระบบที่มีอยู่แล้วจำนวน 17 แห่ง  ส่วนเกาหลี  52แห่ง สิงคโปร์34แห่ง  มาเลเซีย 42แห่ง  

ธปท.คาดเปิดรับสมัครVirtual Bankปี67 -ออกเกณฑ์สางหนี้ครัวเรือน 21ก.คนี้ .

 ดร.เศรษฐพุฒิระบุว่า  หากธปท.ออกใบอนุญาตจำนวนมากกว่า 3รายนั้นมีความมั่นใจว่าจะต้องไล่ปิดสถาบันการเงินแต่ละแห่ง   ซึ่งการปิดธนาคารย่อมสร้างปัญหาเชิงระบบเพราะกระทบความเชื่อมั่น ยกตัวอย่างการปิดธนาคาร(SVB  :  ธนาคาร  Silicon Valley Bank หรือ SVB) ในสหรัฐ ซึ่งมีจำนวนมากจึงมีโอกาสที่จะมีปัญหาตามมา

ส่วนผลในแง่การแข่งขันนั้น ยกตัวอย่างธุรกิจเช่าซื้อ จำนวนหลักพันราย แต่ อัตราดอกเบี้ยกระจุกเพดาน  แม้ผู้เล่นมากไม่ทำให้ดอกเบี้ยปรับลด คือ อัตราดอกเบี้ยไม่ได้มาจากจำนวนของผู้เล่นแต่มาจากปัจจัยอื่นและความเสี่ยงของแต่ละคน

“  ปีแรก Vitual Bank ขาดทุนชัวร์ เพราะต้องลงทุนระบบแบงก์สูง มีต้นทุนในการหาลูกค้าโอกาสขาดทุนปีละ 1,000ล้านบาทตัวอย่างจากต่างประเทศ เช่น เกาหลีเวลา 3ปีกว่าจะได้กำไรหรือในอังกฤษ 6ปีจึงจะมีกำไร ส่วนที่ไม่สำเร็จหรือเจ้งไปก่อนในออสเตรเลียก็มี 2แบงก์ ทุนจดทะเบียน3,000และ 5,000ล้านท้ายที่สุดก็ต้องปิด จึงสะท้อนทุนจดทะเบียนเพราะโอกาสทำกำไรไม่เร็ว อย่างแบงก์พาณิชย์ไทยทุนจดทะเบียน 8,000ล้านบาท ถ้าเป็นD-SIBเฉลี่ย 5หมื่นล้านบาท ดังนั้นไซซ์และเสถียรภาพสำคัญ”

21ก.ค.ออกเกณฑ์สางหนี้ครัวเรือน

ธปท.คาดเปิดรับสมัครVirtual Bankปี67 -ออกเกณฑ์สางหนี้ครัวเรือน 21ก.คนี้ .

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กล่าวในประเด็นหนี้ครัวเรือนว่า แนวโน้มจะไม่เห็นหน้าผาเอ็นพีแอลหรือ NPLs Cliff โดยสามารถบริหารจัดการได้ มองไปข้างหน้าจะไม่เห็น NPLs Cliff  เพราะมาตรการต่างๆทยอยสิ้นสุด แม้แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)คงเพิ่มขึ้น  เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือที่มีStep -up

ส่วนตัวเลขหนี้จัดชั้นที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) แต่ละหมวดจะไม่กลายเป็น NPL  Cliff  เห็นได้จากการลดลงของเอ็นพีแอลจากลูกหนี้กลุ่ม SM   เช่น โอกาสที่ลูกหนี้SMจะเป็นเอ็นพีแอลสำหรับสินเชื่อรถยนต์ประมาณ  12%  สินเชื่อบ้าน 22% บัตรเครดิต 57% สินเชื่อส่วนบุคคล 54%  โดยลูกหนี้SM สินเชื่อบ้านเคยเป็นเอ็นพีแอลสูงสุด 33%  และแนวโน้มจากลูกหนี้SM กลับมาเป็นหนี้ปกติก็อยู่ในระดับสูงอย่างสินเชื่อบ้านที่ 30%   

ดังนั้น มองไปข้างหน้าคิดว่าจะไม่เกิด  NPL Cliff  แต่ธปท.ไม่ได้ชะล่าใจ เพราะสัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ในระดับสูงคิดเป็นสัดส่วน 90.6%ต่อจีดีพี ยังห่างจากระดับสากลที่ไม่ควรเกินระดับ 80%ต่อจีดีพี  จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขหนี้ครัวเรือนทั้ง  4กลุ่ม ได้แก่  หนี้เก่า(รหัส 21) ส่วนใหญ่ 60%อยู่ในสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ(SFIs)  อีก 30%อยู่กับนันแบงก์ทั่วไป และอีก 10%อยู่กับนันแบงก์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์  2. กลุ่มลูกหนี้เรื้อรัง  ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่จบ เช่น จ่ายดอกเบี้ยอัตรา 25%ต่อปีเป็นเวลา 5ปี และมีรายได้น้อย  3.กลุ่มหนี้ใหม่และ 4.กลุ่มหนี้นอกระบบ

โดยธปท.กำหนดจะออกมาตรการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบเป็นธรรม( Responsible Lending) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งผู้ให้กู้และผู้กู้ ทุกช่วงเวลาของการเป็นหนี้ 

ตั้งแต่ “ก่อนเป็นหนี้” ธปท.จะดูแลการโฆษณาที่ต้องระบุรายละเอียด ข้อมูลอย่างครบถ้วนทั้งรายละเอียดดอกเบี้ย,ระยะเวลาการผ่อน) และจะออกเกณฑ์กำกับและมีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค.ปี 2567

“ระหว่างเป็นหนี้” ซึ่งเป็นหนี้ปกติ ผ่อนชำระได้ดี แต่ไม่สามารถปิดจบหนี้ เรียกว่า “ลูกหนี้เรื้อรัง”  โดยจะมีมาตรการดูแลในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลหมุนเวียน (Revolving  P-loan ) โดยเปลี่ยนวงเงินจาก Revolving   P-loan เป็น สินเชื่อแบ่งผ่อนชำระ(Term loan) ซึ่งต้องปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี  ดอกเบี้ยต่ำกว่า 15%ต่อปี  และสินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan)

สำหรับลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าข่าย คือ 1.ลูกหนี้ชำระหนี้ดอกเบี้ยสะสมมากกว่าเงินต้นมาแล้ว 5 ปี และ 2.มีรายได้น้อยสอดคล้องกับฐานลูกค้าของสถาบันการเงิน เป็นมาตรการต้องเสนอทางเลือกให้ลูกหนี้ที่ตั้งใจจริง โดยสามารถแปลงหนี้Revolving  P-loan เป็นTerm Loan แบ่งผ่อนชำระและปิดจบภายใน 5ปีดอกเบี้ยน้อยกว่าอัตรา 15%ต่อปี

“ ธปท.เป็นห่วงเรื่องMoral Hazard  ซึ่งการแก้หนี้เรื้อรังจะต้องบันทึกในเครดิตบูโร  เพราะอยากให้ลูกหนี้มีความตั้งใจแก้ปัญหา ไม่ใช่ปิดหนี้ตรงนี้แต่ไปเปิดที่อื่น เมื่อมีการบันทึกการที่ลูกหนี้จะกู้หลังจากนี้ ขึ้นอยู่กับธนาคารจะพิจารณาความเสี่ยงแต่ละราย”

และมาตรการ “ลูกหนี้เรื้อรัง” สำหรับลูกหนี้ที่ไม่สามารถปิดจบหนี้ได้ในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลหมุนเวียน (Revolving P-loan) โดยเปลี่ยนวงเงินดังกล่าวเป็น สินเชื่อแบ่งผ่อนชำระ(Term loan) ซึ่งต้องปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี และดอกเบี้ยต่ำกว่า 15%มาตรการนี้คาดจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือน เม.ย.ปี2567