บล.กสิกรไทยมองดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์ถัดไป 30 ต.ค. – 3 พ.ย.ที่ 1,360 และ 1,420 จุด

26 ต.ค. 2566 | 23:15 น.
อัพเดตล่าสุด :27 ต.ค. 2566 | 13:35 น.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม “ ผลการประชุมเฟด (31 ต.ค.-1 พ.ย.) รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนก.ย. ของธปท.” ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ที่ระดับ 36.00-36.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ

ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทสัปดาห์ถัดไป (30 ต.ค. – 3 พ.ย.) ที่ระดับ 36.00-36.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ  โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 27 ต.ค. 2566 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 36.23 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับ 36.51 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (20 ต.ค.)

บล.กสิกรไทยมองดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์ถัดไป 30 ต.ค. – 3 พ.ย.ที่ 1,360 และ 1,420 จุด

สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 24-27 ต.ค. 2566 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 2,598 ล้านบาท แต่มีสถานะเป็น Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตรไทย 9,695 ล้านบาท (ซื้อสุทธิพันธบัตร 10,973 ล้านบาท หักตราสารหนี้หมดอายุ 1,278 ล้านบาท)

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด(บล.) มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,360 และ 1,350 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,400 และ 1,420 จุด ตามลำดับ ซึ่งในวันศุกร์ที่ 27 ต.ค. ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,388.23 จุด ลดลง 0.79% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 45,203.82 ล้านบาท ลดลง 4.69% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 1.96% มาปิดที่ระดับ 399.90 จุด

บล.กสิกรไทยมองดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์ถัดไป 30 ต.ค. – 3 พ.ย.ที่ 1,360 และ 1,420 จุด

ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมเฟด (31 ต.ค.-1 พ.ย.) รายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนก.ย. ของธปท. สัญญาณเงินทุนต่างชาติ รวมถึงสถานการณ์ในอิสราเอล ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ดัชนี PMI/ISM ภาคการผลิต

 ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนต.ค. ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.ย. นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามผลการประชุม BOJ และ BOE ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/66 และอัตราเงินเฟ้อเดือนต.ค. ของยูโรโซน และข้อมูล PMI ภาคการผลิตเดือนต.ค. ของจีน ยูโรโซน และอังกฤษด้วยเช่นกัน