แบงก์ชาติห่วง! เอสเอ็มอีรายจิ๋ว-รายย่อย

27 ส.ค. 2567 | 10:55 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ส.ค. 2567 | 11:14 น.

ธปท.เผยไตรมาส2ปี สินเชื่อรวมยังชะลอตัว 0.3% หนี้Stage2-NPLขยับเพิ่มแตะ 6.50% และ 2.84% เหตุแบงก์จัดชั้นเชิงคุณภาพ ห่วง เอสเอ็มอีรายจิ๋ว-รายย่อย หลังรายได้ฟื้นไม่พอจ่ายหนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2567 กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบอยู่ที่ 76,000ล้านบาทปรับดีขึ้น 2.7%จาก 68,000ล้านบาทเมื่อไตรมาส1 ที่ผ่านมา  สาเหตุหลักมาจากรายได้เงินปันผลของบริษัทลูก    บางแห่งกำไรปรับลดเนื่องจากค่าใช้จ่ายสำรองเพิ่มและรายได้มิใช่ดอกเบี้ยปรับลดลงจากความผันผวนของตลาด 

แบงก์ชาติห่วง!  เอสเอ็มอีรายจิ๋ว-รายย่อย

ทั้งนี้ภาพรวมสำรองมีการเพิ่มขึ้นจากคุณภาพหนี้ที่ด้อยลง   อัตราส่วนทางการเงินปรับตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนทั้ง NIM ,ROA ROE  แต่เทียบประเทศอื่น พบว่า NIMของธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ระดับกลางๆ  ROAยังต่ำกว่าในหลายประเทศ   และ ROE ต่ำสุดในภูมิภาค

นางอัจจนา ล่ำซำ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบแบบจำลองและวิเคราะห์ความเสี่ยงสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์รวมเครือภารวม ไตรมาส2ปี2567 สินเชื่อชะลอตัว 0.3% จาก 1.3% โดยสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลง อยู่ที่ 0.74% จาก 2.1% เนื่องจากความเสี่ยงด้านเครดิตปรับเพิ่มขึ้น, สินเชื่อภาคธุรกิจทรงตัว -0.5% จาก 0.4% แต่เห็นการขยายตัวในภาคการเงิน และโทรคมนาคม ส่วนสินเชื่อภาคธุรกิจที่มีการหดตัวได้แก่  กลุ่มยานยนต์,อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ

อย่างไรก็ดี สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีวงเงินสินเชื่อมากกว่า 500ล้านยังขยายตัวอยู่ที่ 2.0%   (จาก 3.4%) เห็นได้ในกลุ่มโฮลดิ้งของภาคบริการ  การสื่อสาร ,และอสังหา   ส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีหดตัวในกลุ่มพาณิชย์ ค้าส่ง ค้าปลีก ,อุตสาหกรรมยานยนต์และไฟฟ้า โดยเฉพาะที่มีวงเงินต่ำกว่า 500ล้านบาทหดตัว 5.4% จาก 5.3%  

ด้านสินเชื่ออุปโภคบริโภคโดยรวมชะลอตัว  0.74% จาก 2.1%  แต่การขยายตัวชะลอลงในสินเชื่อบ้าน เช่น บ้านแนวราบ และบ้านราคามูลค่าต่ำกว่า 5ล้านบาท    และสินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวชะลอลง5.8%จาก 7.3%

ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อหดตัว 4.8% ส่วนหนึ่งมาจากผู้บริโภคชะลอการซื้อรถโดยพฤติกรรมผู้บริโภค คนรุ่นใหม่จะเช่ารถแทนการซื้อ  รวมทั้งสถาบันการเงินมีความเข้มงวดขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อด้วย  และสินเชื่อบัตรเครดิตก็หดตัว0.2% 

สำหรับตราสารหนี้ไตรมาส 2 หดตัว -0.5% สะท้อนการหดตัวเกือบทุกประเภทธุรกิจ ส่วนหนึ่งเพราะก่อนหน้านี้ธุรกิจระดมทุนไปค่อยข้างมากแล้วในช่วงก่อนหน้า  และนักลงทุนชะลอการลงทุน เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านเครดิตในบางธุรกิจ   แต่ตราสารหนี้ยังขยายตัวในสาธารณูปโภค อุตสาหกรรม และอสังหาฯ ยังขยายตัวอยู่

แบงก์ชาติห่วง!  เอสเอ็มอีรายจิ๋ว-รายย่อย

ด้านคุณภาพสินเชื่อหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ( NPL)ภาพรวมปรับเพิ่มขึ้นเป็น 540.8 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 2.84% จากไตรมาสก่อนอยู่ที่ 2.8% โดยเอ็นพีแอลสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อSMEsนั้นทรงตัว  แต่สินเชื่ออุปโภคด้อยลงทุกประเภทพอร์ตสินเชื่อ

หลักๆเป็นลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่เคยได้รับการช่วยเหลือมาก่อนโดยไม่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไข และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่ทั่วถึง  ทำให้รายได้ฟื้นตัวกลับมาช้าและผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000บาทแถมมีภาระหนี้เดิมอยู่   แต่การเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลนั้นธนาคารยังสามารถบริหารจัดการได้โดยไม่เกิดการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด (NPL Cliff)   หากแยกคุณภาพตามขนาดของธุรกิจ สินเชื่ออุปโภคบริโภค   

สำหรับสัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (significant increase in credit risk: SICR หรือ stage 2) อยู่ที่ 6.50% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนอยู่ที่ 6.38% โดย Stage2 ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ธุรกิจขนาดใหญ่-SMEsที่ยังชำระหนี้ได้ตามสัญญา

แบงก์ชาติห่วง!  เอสเอ็มอีรายจิ๋ว-รายย่อย

แต่สถาบันการเงินจัดชั้นเชิงคุณภาพ โดยลูกหนี้ยังชำระหนี้ได้แต่ผลประกอบการเริ่มขาดทุน และStage2 ของสินเชื่ออุปโภคบริโภคปรับเพิ่มขึ้นในกลุ่มลูกหนี้เคยได้รับการช่วยเหลือ แต่เมื่อมีการปรับเบี้ยเพิ่มลูกหนี้ไม่สามารถผ่อนชำระ และบางส่วนเป็นการจัดชั้นเชิงคุณภาพ เพราะลูกหนี้บางกลุ่มเริ่มจ่ายหนี้ล่าช้า

ต่อข้อถามธปท.เป็นห่วงหนี้กลุ่มไหนนั้นนางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ห่วงเอสเอ็มอีรายยจิ๋ว วงเงินสินเชื่อต่ำกว่า 5ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการกู้ในนามบุคคล บางส่วนใช้สินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งกลุ่มมีค่อนข้างเงินทุนหรือสายป่านสั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีปัญหาเชิงโครงสร้าง 

ในส่วนของ Stage2 นั้น  พบว่าลูกหนี้รายใหญ่เกิดใหม่เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ค้างชำระหนี้  เพียงแต่สถาบันการเงินเจ้าหนี้มีการเข้มข้นในการจัดชั้นเชิงคุณภาพก่อน  หรือมีสัญญาณแนวโน้มจากรายได้ที่ปรับเพิ่มขึ้นไม่เท่ากับภาระหนี้ที่ต้องจ่าย  

"ตอนนี้ธปท.พยายามผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ ไม่ว่าการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ก่อนที่จะเป็นหนี้เอ็นพีแอล และการปรับโครงสร้างหนี้ภายหลังลูกหนี้เป็นเอ็นพีแอล ขณะเดียวกันธนาคารเจ้าหนี้สามารถเข้าให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ภายใต้มาตรการ RL อยู่แล้ว"