เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 7 สัปดาห์ที่ระดับ 33.92 ก่อนจะกลับมาปิดตลาดที่ระดับ 33.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับปิดตลาดที่ระดับ 33.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับปิดตลาดที่ระดับ 33.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 33.74 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ค่าเงินบาทยังคงเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ค่าเงินบาทยังคงเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ โดยเป็นผลมาจากแรงขายทำกำไรหลังราคาทองคำตลาดโลกทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงก่อนหน้านี้
และจากทิศทางฟันด์โฟลว์ของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งในวันนี้ขายสุทธิหุ้นและพันธบัตร 2442 ล้านบาท และ 2895 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจานี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังคงแข็งค่าขึ้นท่ามกลางมุมมองของตลาดที่ประเมินความเป็นไปได้ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ อาจชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งนี้ (The Trump Trade)
ส่วนค่าเฉลี่ย Indicative forward points ของธุรกรรมระยะ 3 เดือนสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ 50-200 ล้านบาทต่อปี รายงานข้อมูล ณ 10.00 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 จากเว็บไซต์ ธปท. อยู่ที่ -22.85 สำหรับผู้ส่งออก (ขายเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า) และที่ -19.35 สำหรับผู้นำเข้า (ซื้อเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า)
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่4-8พ.ย. ประเมินเบื้องต้นไว้ที่ 33.50-34.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ (5 พ.ย.) ผลการประชุมนโยบายการเงินของเฟด (6-7 พ.ย.) ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนต.ค. ของไทย ทิศทางเงินทุนต่างชาติและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ โดยเฉพาะค่าเงินหยวน
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.ย. ดัชนี PMI/ISM ภาคบริการเดือนต.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นสำหรับเดือนพ.ย. นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามผลการประชุม BOE (7 พ.ย.) รวมถึงดัชนี PMI ภาคบริการเดือนต.ค. ของจีน อังกฤษ ญี่ปุ่น และยูโรโซนด้วยเช่นกัน