นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุม APEC Digital Trade Symposium การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ Advancing Digital Trade Transformation and Connectivity in APEC and ASEAN โดย นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกที่หันไปสู่การใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน องค์กรกับนโยบายภาครัฐก็ต้องปรับเปลี่ยนให้รองรับและพร้อมสำหรับธุรกรรมดิจิทัลต่างๆ APEC มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกต่างๆ มาช่วยกันสร้างมาตรฐานกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
ประเทศไทยได้เสนอโครงการ APEC Digital Trade Transformation Work Program และได้ทำงานร่วมกับประเทศญี่ปุ่นกับสิงคโปร์ในการทดสอบระบบแบบไลฟ์และทำproof of conceptโดยแลกเปลี่ยนเอกสารทางการค้ากับข้อมูลต่างๆด้วยกัน ประเทศไทยก็ได้จัดตั้งระบบNational Digital Trade Platform เพื่อเป็นศูนย์กลางในการส่งข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและสะดวกรวดเร็วสำหรับนักลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นประเทศไทยยังพัฒนาระบบอละกฏหมายดิจิทัลอื่นๆเช่น e-transactions, e-meetings, pdpa เป็นต้น เพื่อให้ประเทศไทยพร้อมก้าวสู่ยุคDigital Trade Transformation
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ สมาคมธนาคารไทยถือว่าเป็นหน่วยงานหลักในการจัดประชุม ในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการหารือร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับเรื่อง Digital Trade ในสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค พร้อมทั้งให้ความสำคัญต่อแผนงาน Digital Trade Transformation Work Program ภายใต้ APEC DESG ที่ประเทศไทยเป็นผู้นำเสนอ เป็นโครงการสำคัญในปี ที่ไทยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมเอเปค 2565
นอกจากนี้ในการประชุม จะมีผู้เข้าร่วมจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมหารือแลกเปลี่ยนความเห็นในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ digital trade and digital transformation
ขณะที่ นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานร่วมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า กกร.ทั้งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมเปิดแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (เอ็นดีทีพี) โดยในเฟสแรกดำเนินการโดย บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด และบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด เพื่อเป็นการรองรับบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ ให้สามารถแข่งขันกับเวทีการค้าโลกต่อไปได้ และให้ผู้ส่งออก ผู้นำเข้าทำธุรกิจสะดวก ช่วยป้องกันการทำธุรกรรมซ้ำซ้อน และช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนของเอสเอ็มอีในประเทศมากขึ้น