นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ทิศทางการดำเนินงานในปี 2566 บสย.ตั้งเป้าหมายยอดค้ำประกันสินเชื่อไว้ที่ 120,000 ล้านบาทจากปี 2565 ที่สามารถค้ำประกันสินเชื่อได้กว่า 143,998 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงระบบได้กว่า 82,747 ราย
“ปีนี้เราวางเป้าค้ำประกันสินเชื่อลดลงจากปีก่อน เพราะปี 2565 เป็นช่วงที่เอสเอ็มอีเผชิญกับวิกฤตโควิดและต้องการเติมทุนเสริมสภาพคล่อง ซึ่งรัฐบาลมีแพ็คเกจสินเชื่อออกมาช่วยเหลือเอสเอ็มอีเป็นวงกว้าง ทั้งพ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟูจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)และสินเชื่อแบงก์รัฐ ทำให้บสย.ค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดเป็นประวัติการณ์”นายสิทธิกรกล่าว
สำหรับแผนงานที่บสย.จะดำเนินการในปีนี้ ประกอบด้วย
นอกจากนี้บสย.ยังอยู่ระหว่างทำโครงการ Port Guarantee Scheme 10 (PGS10) และโครงการไมโครเอสเอ็มอี 5 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังพิจารณา ซึ่งมีวงเงินที่ขอไป 1.8 แสนล้านบาท คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในไตรมาสแรกปีนี้
ทั้งนี้หาก กระทรวงการคลังเห็นชอบมาตรการจะช่วยให้เอสเอ็มอีเข้าถึงการค้ำประกันได้มากกว่าเดิม และวงเงินค้ำในปีนี้จะทำได้มากกว่า 120,000 ล้านบาทแน่นอน ซึ่งทั้ง 2 โครงการมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวธุรกิจเอสเอ็มอี เพราะนอกจากช่วยให้เข้าถึงการค้ำประกันและแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังมีต้นทุนที่ถูกลง 0.25% และปลอดค่าธรรมเนียมอีก 2-3 ปีด้วย
ขณะเดียวกัน บสย. ได้กำหนด 5 กลยุทธ์หลัก ในการเพิ่มประสิทธิการดำเนินงาน ได้แก่
1. กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ ได้แก่
2. กลยุทธ์การเพิ่มเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ โครงการ “The S1 Project” ร่วมกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โครงการร้านโดนใจ พัฒนาโชห่วย ร่วมกับพันธมิตร บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารพันธมิตร เป็นต้น
3. กลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้าผ่าน Digital Platform
4. กลยุทธ์การบริหารจัดการหนี้ (Debt Management) การบริหารจัดการลูกหนี้เดิมและลูกหนี้ใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการช่วยลูกหนี้ โดยเฉพาะกลุ่ม Micro การกระตุ้นให้ลูกหนี้เข้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้ ผ่านช่องทาง LINE @tcgfirst
5. กลยุทธ์การสร้างความยั่งยืน Sustainable Organization มุ่งสู่การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศและเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อสนับสนุนธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม