มาตรการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานานและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนหลายคนกลายเป็นหนี้เรื้อรัง ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หรือ “แบงก์ชาติ” เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้วในวันที่ 1 มกราคม 2567 หนึ่งในนั้นคือ การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญหาหนี้เรื้อรัง (general PD) คือ ลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรังที่จ่ายชำระดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมในช่วงย้อนหลังตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี
ลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD) คือ ลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรังที่จ่ายชำระดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมในช่วงย้อนหลัง 5 ปี และเป็นลูกหนี้ในลักษณะ ดังต่อไปนี้
ประเมินลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรังเป็นรายบัญชี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ข้อมูลดอกเบี้ยและเงินต้นของแต่ละบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มีเงื่อนไขการชำระคืนไม่เป็นงวดของลูกหนี้มาคำนวณจำนวนดอกเบี้ยรวมและเงินต้นรวมของแต่ละบัญชี ดังนี้
สถาบันการเงินผู้ให้บริการต้องแจ้งเตือนให้ลูกหนี้แต่ละรายทราบว่าเริ่มมีสัญญาณเป็นหนี้เรื้อรัง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยใช้ข้อมูลจากการประเมินงวดเดือนธันวาคมของปีก่อนหน้าประกอบการแจ้งเตือน ทั้งนี้ ลูกหนี้แต่ละรายต้องได้รับแจ้งเตือนการเริ่มมีสัญญาณเป็นหนี้เรื้อรัง ไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งต่อบัญชี โดยการแจ้งเตือนผ่านช่องทางที่ผู้ให้บริการใช้สื่อสารข้อมูลสำคัญกับลูกหนี้อย่างน้อย 1 ช่องทาง เช่น จดหมาย อีเมลข้อความสั้นซึ่งส่งผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ (SMS) แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (mobile application) หรือ บัญชีทางการ LINE (LINE Official Account) พร้อมข้อมูลสำคัญของลูกหนี้แต่ละรายอย่างน้อย ดังนี้
สถาบันการเงินผู้ให้บริการต้องแจ้งเตือนให้ลูกหนี้แต่ละรายทราบว่าเข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรังอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนสิงหาคมโดยใช้ข้อมูลการประเมินงวดเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน หรือภายในเดือนกุมภาพันธ์โดยใช้ข้อมูลจากการประเมินงวดเดือนธันวาคมของปีก่อนหน้า แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ลูกหนี้แต่ละรายต้องได้รับการแจ้งเตือนการเป็นลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง ไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งต่อบัญชี โดยการแจ้งเตือนให้ทำผ่านช่องทางอย่างน้อย ต่อไปนี้ จดหมาย หรืออีเมล ประกอบกับ ข้อความสั้น ซึ่งส่งผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ (SMS) หรือ ช่องทางที่ผู้ให้บริการใช้สื่อสารข้อมูลสำคัญกับลูกหนี้ เช่น แอปพลิเคชันที่ติดตั้งบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (mobile application) หรือ บัญชีทางการ LINE (LINE Official Account) พร้อมข้อมูลสำคัญของลูกหนี้แต่ละรายอย่างน้อย ดังนี้
สำหรับแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ severe PD รวมถึงกรณีที่ลูกหนี้เคยได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะเชิงป้องกัน (pre-emptive DR) จากผู้ให้บริการมาก่อนแล้ว แต่ภายหลังเป็นลูกหนี้ severe PD โดยลูกหนี้ดังกล่าวมีสิทธิเลือกที่จะเข้าร่วมมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง (opt-in) เพื่อเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาด้วยการเปลี่ยนประเภทสินเชื่อเป็นสินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด (installment loan) โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
ที่มา: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)