ธนาคารกรุงไทยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MOR ลง 0.250% ต่อปี MLR และ MRR ลง 0.125% ต่อปี เพื่อให้เป็นไปตามกลไกของตลาด สอดคล้องกับบริบทของประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนในระดับที่สูงและเศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่ต่ำ หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 2.50% เป็น 2.25% ต่อปีเมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ธนาคารยังไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแต่อย่างใด ซึ่งผลจากการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าว ให้มีผลในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินก็ของธนาคารคือ
ขณะเดียวกัน ธนาคารจึงยังมีการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางออกไปอีกจนถึง 31 มีนาคม 2568 จากเดิมที่จะสิ้นสุดลงในวันที่15 พฤศจิกายน 2567 เนื่องจากลูกหนี้กลุ่มเปราะบางดังกล่าว ยังอยู่ระหว่างการฟื้นตัวและปรับตัวได้ช้า ตั้งแต่สถานการณ์โรคระบาด COVID-19
“ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางเหล่านี้อาจมีระดับหนี้ที่สูง ความสามารถในการมีรายได้ในระดับที่ยังไม่เพียงพอกับรายจ่ายอย่างเหมาะสม และยังอยู่ระหว่างที่ภาครัฐกำลังเร่งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ”
สำหรับมาตรการพิเศษในการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง 3 กลุ่ม ได้แก่
ผลจากมาตรการดังกล่าว ธนาคารสามารถช่วยลดภาระทางการเงินให้กับลูกค้าได้มากกว่า 3 แสนบัญชี ต่อเนื่องออกไปอีก คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวมมากกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งธนาคารจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้อัตโนมัติสำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบางทั้ง 3 กลุ่มที่มียอดสินเชื่อกับธนาคาร ณ 31 มีนาคม 2567
ทั้งนี้ ธนาคารให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มให้สามารถปรับตัวและฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน เดินหน้าขับเคลื่อนการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ภายใต้ “โครงการรวมหนี้ข้าราชการยั่งยืน” โดยร่วมมือกับกระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์จำกัด ฯลฯ และอยู่ระหว่างขยายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ เพิ่มเติม
ล่าสุด ได้ออกมาตรการทางการเงิน เพื่อลดภาระให้กับผู้ประสบอุทกภัยในหลายพื้นที่ ตามแนวทางการแก้หนี้ยั่งยืน และแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ขณะเดียวกันยังเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่มีทั้งมาตรการระยะสั้นรองรับการเปลี่ยนผ่านและมาตรการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะกลางและระยะยาว เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและการสร้างรายได้ที่พอเพียงและยั่งยืน