สำนักข่าวอิศรา ได้ออกมารายงานถึงความคืบหน้า คดีขายหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) หลังจากล่าสุดศาลพาณิชย์ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษได้มีคำตัดสินให้ "นายณพ ณรงค์เดช" และพวกรวม 14 คน จ่ายค่าเสียหายรวมราว 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3 หมื่นล้านบาท แก่ "นายนพพร ศุภพิพัฒน์" ผู้ก่อตั้งและอดีต CEO ของบริษัทวินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 66 ที่ผ่านมา
หลังถูก นายนพพร ฟ้องในข้อหาสมคบกันชักจูงใจด้วยข้อมูลลวงให้ขายหุ้น WEH ขณะที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จำเลยที่ 10 และ นายอาทิตย์ นันทวิทยา อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) จำเลยที่ 11 รวมทั้งนางคาดีจา บิลาลซิดดีกี จำเลยที่ 5 พิพากษาให้ยกฟ้อง
โดยผู้ถูกฟ้องสำคัญคนอื่นๆ ในคดี ได้แก่ นายณพ ณรงค์เดช ลูกชายคนกลางของ นายเกษม ณรงค์เดช เป็นจำเลยที่1 ส่วนนายเกษม ผู้เป็นบิดา ตกเป็นจำเลยที่ 14
และจำเลยที่ 15 คือ คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา แม่ภรรยาของนายนพ และภรรยาของ พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา อดีตอธิบดีกรมตำรวจผู้ล่วงลับ
สำนักข่าวอิศรารายงานเพิ่มเติมว่าเอกเอกสารคำพิพากษาของศาลอังกฤษมีการระบุว่าจำเลยจำนวน 8 คนมีพฤติกรรมที่เกี่ยวกับเอกสาร และหลักฐานที่มีลักษณะเป็นเท็จ
โดยคำพิพากษาบางส่วนระบุว่าพยานฝ่ายจำเลยหลายคนไม่น่าเชื่อถือ
“บันทึกเอกสารในการหาข้อเท็จจริงที่สําคัญเพราะเป็นที่ชัดเจนว่าพยานหลายคน (สําหรับจําเลย) ซึ่งข้าพเจ้า (ผู้พิพากษา) ได้ยินมาล้วนพูดไม่จริงต่อศาลอย่างดังนั้นการให้ปากคำของพวกเขาจึงไม่น่าเชื่อถือ
โดยขอบเขตการโกหกของการพูดไม่จริงพวกเขาถือว่าน่าทึ่ง เช่นเดียวกับทัศนคติของพวกเขาที่ดูไม่ร้อนใจต่อการผลิตเอกสารเท็จเพื่อหลอกลวงและทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในขณะที่นายนพพร ศุภพิพัฒน์ มีบางครั้งที่ให้หลักฐานตรงไปตรงมาเป็นครั้งคราว
ข้าพเจ้าพิจารณาแล้วเห็นว่านี่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะว่านั่นเกิดจากความรู้สึกขับข้องใจที่เขามีต่อจำเลย ซึ่งเขาไว้ใจ แต่แล้วก็ทรยศเขาด้วยแผนการที่วางไว้อย่างถี่ถ้วน โดยรวมแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าเขาเป็นพยานที่ซื่อสัตย์
ข้าพเจ้าได้ยินหลักฐานจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายไทยจำนวนมากมาจากผู้เชี่ยวชาญสามคนซึ่งเป็นพยานที่ทําหน้าที่รายงานผู้เชี่ยวชาญได้แก่ 1.นายมุนินทร์ พงศาปาน ทำหน้าที่เป็นพยานฝ่ายโจทก์, 2.นายสุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุลทำหน้าที่พยานฝ่ายจำเลย และ 3.นายอนุรักษ์ นิยมเวชทำหน้าที่เป็นพยานให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จำเลยที่ 10
ข้าพเจ้าถือว่าพยานผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ได้พยายามจะช่วยเหลือศาลอย่างเต็มที่ แม้ว่าข้าพเจ้าจะพิจารณาแล้วเห็นว่านายมุนินทร์ และนายสุชาติเป็นพยานที่น่าประทับใจมาก และมากกว่านายอนุรักษ์ ในแง่ของการให้หลักฐานที่เกี่ยวกับความรู้ในกฎหมายของไทย”
โดยสรุปแล้วฝ่ายโจทก์ กล่าวหาว่าการบิดเบือนความจริงสามประเภทเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน2558 ดังนี้
1.นายณพและนายณัฐวุฒิ ในการเจรจาเพื่อให้สัญญาซื้อขายหุ้น REC เพื่อให้เกิดผล พวกเขาอ้างว่าตั้งใจที่จะให้ผลกับ 'ธุรกรรมทั่วโลก'
2.นางคอลลินส์ ถูกกล่าวหาทั้งในนามของเธอเองและในนามของตัวแทนของนายณพ ระบุว่าได้มีการชักจูงบริษัทของนายนพพรให้มีการโอนหุ้นเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาซื้อขายหุ้น REC
3.นายณพและนายณัฐวุฒิ พยายามป้องกันไม่ให้ฝายโจทก์พยายามจะยกเลิกเงื่อนไขสัญญาซื้อขายหุ้น REC
“ในการวิเคราะห์ประเด็นอันเป็นกังวลเกี่ยวกับกรณีการทำธุรกรรมทั่วโลกซึ่งมีการบิดเบือนความจริง ข้าพเจ้าได้พยายามพิเคราะห์ว่าทำไม และก็ได้ค้นพบรายละเอียดดังนี้
1. โจทก์ให้การรับสารภาพในคดีที่นายณพและนายณัฐวุฒิ กระทําความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 341 และกฎหมายอาญามาตรา 357 (ความผิดที่ "ไม่อาจแบ่งแยกได้")
2. จากข้อเท็จจริงนายณพและนายณัฐวุฒิ ได้กระทําความผิดตามมาตรา 341 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งก่อให้เกิดการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งตามมาตรา 420 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่ใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ประมวลกฎหมายดังกล่าวที่ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งตามมาตรา 420 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
3. อย่างไรก็ตาม สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็นสิทธิที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญาหากโจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 357 ก็คงมีข้อจำกัดเรื่องเวลา
4. สุดท้ายไม่มีความผิดตามมาตรา 421 ดังนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งตามมาตรา 420 ในส่วนนี้”
ข้อมูลที่มา : สำนักข่าวอิศรา