หลังที่ผ่านมามีคำถาม และความกังวลจากผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนเกี่ยวกับการซื้อขายแบบ Program Trading โดยเฉพาะกลุ่มที่เน้นการซื้อขายแบบรวดเร็ว ที่เรียกว่า High-Frequency Trading ว่าเป็นปัจจัยที่มีผลกดดันให้ราคาหุ้นไทยในหลายหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงหรือไม่
ทาง ตลท. จึงจะขอนำเสนอ SET Note เพื่อดูสถิติการซื้อขาย และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงอธิบายถึงแนวทางการก กับดูแลการซื้อขายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อกังวลดังกล่าว
Program Trading และ High-Frequency Trading ของผู้ลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อขายและทำ Short Sale ในตลาดจนกดดันราคาหุ้นให้ร่วงลงแรงในช่วงที่ผ่านมาหรือไม่
ปัจจุบันการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นโดยใช้โปรแกรมในการประมวลผลและตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า Program Trading (PT) นั้น ได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ลงทุนอย่างมาก โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 ผู้ลงทุนต่างชาติใช้การซื้อขายแบบ PT คิดเป็น 34% หรือ 1 ใน 3 ของมูลค่าซื้อขายรวมของตลาด
โดยประมาณ 1 ใน 3 ของ PT กลุ่มนี้หรือ 11% จาก 34% เป็นการซื้อขายของกลุ่ม High-Frequency Trading (HFT) หรือกลุ่มที่ใช้กลยุทธ์ซื้อขายแบบเน้นความเร็วสูงและไม่นิยมถือครองหลักทรัพย์ไว้นาน ส่วนใหญ่ปิด position การซื้อขายภายในวันเดียว
นอกจากนี้หากพิจารณาถึงหุ้นที่กลุ่มผู้ลงทุนต่างชาติที่ใช้ PT ทั้งที่เป็น HFT และ Non-HFT นิยมซื้อขายจะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่ประมาณ 70% ของมูลค่าซื้อขายจะเป็นการซื้อขายหุ้นใน SET50 โดยส หรับกลุ่ม HFT นั้น การซื้อขายหุ้นที่ไม่ใช่ SET100 มีเพียงส่วนน้อยประมาณ 13% เท่านั้น
สำหรับประเด็นข้อสงสัยว่ามีการซื้อขายและทำ Short Sale กดดันราคาหุ้นให้ลดต่ำลงนั้นในประเด็นนี้ หากพิจารณาหุ้นทั้งหมดในตลาดที่มีระดับราคาลดลงมากกว่า 30% ในไตรมาสแรกของปี 2566 หรือมีราคาลดลงภายในวันใดวันหนึ่งมากกว่า 20%
ในไตรมาสนี้ พบว่ามีหุ้นที่เข้าข่ายดังกล่าวทั้งหมด 28 หุ้น เป็นกลุ่มหุ้นใน SET50 (2 หุ้น) SET51-100 (2 หุ้น) นอก SET100 (16 หุ้น) และ mai (8 หุ้น) ซึ่งถ้าวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อขายของหุ้นเหล่านี้ในช่วง ปี2565- ไตรมาส 1/2566 พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
สำหรับใน 4 หุ้นที่เหลือ ผู้ลงทุนบุคคลยังคงเป็นผู้มีบทบาทหลักในการซื้อขายเฉลี่ยประมาณ 50% โดยมีผู้ลงทุนต่างชาติที่ใช้ PT ร่วมซื้อขายอยู่ด้วย 25-34% และทำธุรกรรม Short Sale ร่วมด้วยเพียง 2-7% ของมูลค่าซื้อขายรวมของแต่ละหุ้นเท่านั้น
ทั้งนี้จากข้อมูลข้างต้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ความเชื่อที่ว่า PT และ HFT ของผู้ลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อขายและทำ Short Sale จนกดดันราคาหุ้นในตลาดให้ร่วงลงแรง อาจเป็นความเชื่อที่คลาดเคลื่อนไป
เนื่องจากหุ้นที่ระดับราคาลดลงมากในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ซื้อขายกันโดยผู้ลงทุนบุคคลเป็นหลัก อีกทั้ง การขาย Short Sale โดยผู้ลงทุนต่างชาติที่ใช้PT ยังอยู่ในระดับต่ำมากอีกด้วย
จริงหรือไม่ที่ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถขายหุ้น แบบ Naked Short Sale และได้เปรียบเหนือผู้ลงทุนประเภทอื่นในตลาดหุ้นไทย
ตลาดหลักทรัพย์ ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลและตรวจสอบการซื้อขายเป็นอย่างยิ่ง และใช้หลักการเดียวกันสำหรับผู้ลงทุนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนไทยหรือผู้ลงทุนต่างชาติ
สำหรับกรณี Naked Short Sale นั้น ทางตลาดหลักทรัพย์ ได้ยกระดับการกำกับดูแลให้เข้มงวดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2561 ภายหลังจากที่พบการกระทำผิดด้วย Naked Short Sale ถึง 5 รายในช่วงปี 2560-2561 โดยทำการตรวจสอบการซื้อขายของผู้ลงทุนทุกรายการที่พบว่ามีปริมาณ Short Sale ที่สูง หรือ ซื้อขายในลักษณะ Day Trading ที่ขายก่อนซื้อโดยไม่มี outstanding เพียงพอ
และมีการสอบถามไปยังบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกเพื่อประเมินว่ามีหุ้นเพียงพอก่อนขายหรือไม่ ซึ่งหลังจากที่ได้มีการใช้กระบวนการตรวจสอบที่มีความเข้มงวดมากขึ้น พบการกระทำผิด Naked Short Sale ในปี 2562-2564 ลดลงเหลือเพียง 2 ราย และปี 2565 จนถึงปัจจุบันยังไม่พบผู้กระทำผิดดังกล่าว
ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนในการตัดสินใจซื้อขาย ในไตรมาสที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ ได้เริ่มเปิดเผยข้อมูลการซื้อขายในตลาดเมื่อพบกรณีหุ้นมีสภาพการซื้อขายเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยะ เช่น ราคา ปริมาณการซื้อขาย % Turnover ปัจจัยพื้นฐาน รวมถึง การกระจุกตัวของผู้ซื้อขาย เป็นต้น
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ ยังมีแนวคิดที่จะเปิดเผยข้อมูลรายวันเพิ่มเติมใน SET website เกี่ยวกับสัดส่วนการซื้อขายด้วย Program Trading และ Short Sale ของหุ้นรายตัวที่มีสภาพการซื้อขายเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการตัดสินใจซื้อขายของผู้ลงทุนที่ชัดเจนขึ้น และลดข้อสงสัยหรือความเข้าใจที่อาจคาดเคลื่อนไปในกลุ่มผู้ร่วมตลาด
ข้อมูลที่มา : ฝ่ายกลยุทธ์องค์กร และฝ่ายกำกับการซื้อขาย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย