"จิตตะ"ชงรัฐทบทวนเก็บภาษีหุ้นตปท.- ASPS มองหนุนกองทุน FIF ,DR

19 ก.ย. 2566 | 05:15 น.
อัพเดตล่าสุด :20 ก.ย. 2566 | 01:28 น.

"จิตตะ" ( Jitta ) วอนรัฐทบทวนเก็บภาษีลงทุนตปท. ยกเว้น.Capital Gain Tax เช่นเดียวกับการลงทุนหุ้นไทย ด้าน บล.เอเซียพลัส (ASPS) มองเก็บภาษีหุ้นตปท. หนุนนักลงทุนลงกองทุน FIF,DR และหุ้นไทย เพิ่ม

จากกรณีที่กรมสรรพากร ออกประกาศเตรียมเก็บภาษีสำหรับคนที่มี “เงินได้จากต่างประเทศ”  โดยให้นำเงินได้พึงประเมินมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดา โดยมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.67 นั้น

นายตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ นักลงทุนในหุ้นต่างประเทศ และผู้ก่อตั้ง Jitta (จิตตะ) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีการวิเคราะห์หุ้นทั่วโลกที่นักลงทุนไทยนิยมใช้เพื่อตัดสินใจลงทุนต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตนอยากเสนอให้กรมสรรพากรพิจารณาประกาศเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง เนื่องจากมีผลกระทบต่อนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากที่มีการลงทุนต่างประเทศอยู่ในขณะนี้

ตราวุทธิ์ บอกว่า โดยภาพรวมแล้ว แนวทางที่สรรพากรนำมาใช้ เพื่อจัดเก็บภาษีรายได้ในต่างประเทศส่วนนี้เพิ่มเติม ก็เพราะคิดว่า บุคคลที่สามารถลงทุนต่างประเทศได้นั้น น่าจะเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งสุทธิสูง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีด้านการลงทุนต่างประเทศได้พัฒนาขึ้นมาก ทำให้ปัจจุบันนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากได้ทำการลงทุนในต่างประเทศ เพราะมองเห็นโอกาสในการสร้างผลตอบแทน และมีการกระจายความเสี่ยงที่ดีกว่าการลงทุนแต่ในประเทศเพียงอย่างเดียว โดยปัจจุบันนี้นักลงทุนรายย่อยทั่วไปสามารถเริ่มลงทุนต่างประเทศได้แล้ว ด้วยเงินเพียงหลักร้อยหลักพันบาทเท่านั้น

"หากกรมสรรพากรมีการเรียกเก็บภาษีจากเงินลงทุนในหุ้นต่างประเทศ กลุ่มคนที่น่าจะโดนผลกระทบหนักสุด คือ นักลงทุนรายย่อยมากกว่า นักลงทุนรายใหญ่ๆ ที่มีโอกาสลงทุนที่มากกว่า และไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน หรือโอนเงินกลับเข้าประเทศเลย"

นอกจากนี้แนวทางปฏิบัติในการคิดภาษีในส่วนของการลงทุนในหุ้นยังต้องมีความชัดเจนอย่างมาก เนื่องจากการลงทุนในหุ้นต่างประเทศจะแตกต่างจากการมีรายได้อื่นๆ เช่น จากการทำงาน หรือ การมีอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า เพราะหุ้นเป็นทรัพย์สินเสี่ยง มีโอกาสขาดทุนหรือมีกำไรก็ได้ รวมทั้งมีจำนวนการทำธุรกรรมการซื้อขายที่เยอะกว่า ทำให้การคิดภาษีมีความซับซ้อนสูง สร้างความสับสนในการปฏิบัติต่อนักลงทุน

ดังนั้น ถ้าหากจะต้องเสียภาษีในการลงทุนหุ้นต่างประเทศ ควรจะต้องพิจารณาในส่วนนี้อย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ลงทุนที่จะต้องเสียภาษีทุกคน

ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เราลงทุนต่างประเทศ ปีแรกมีกำไรแล้วนำเงินเข้ามา เสียภาษีไปแล้ว อีกปีนำเงินไปลงทุนต่อ แต่กลับขาดทุนหนัก แต่ขอภาษีตอนกำไรคืนก็ไม่ได้ แบบนี้ก็ยิ่งทำให้ในระยะยาวแล้ว นักลงทุนจะยิ่งขาดทุนหนักขึ้นเรื่อยๆ จนไม่มีใครอยากจะไปลงทุนในต่างประเทศอีกเลย

หรือในกรณีมีการนำเงินไปลงทุนในพอร์ตการลงทุน 2 พอร์ต ที่จีนและที่อเมริกา ถ้าพอร์ตที่อเมริกากำไร แต่พอร์ตที่จีนขาดทุน แล้วนำเงินกลับมา เมื่อทำการคิดภาษีเฉพาะพอร์ตที่กำไร ก็อาจจะไม่ยุติธรรมสำหรับนักลงทุน

 

ในประเด็นของความเท่าเทียมกันในการจัดเก็บภาษีจากการลงทุนนั้น เนื่องจากการลงทุนในตลาดหุ้นไทยปัจจุบันได้รับการยกเว้นภาษี capital gain tax ดังนั้นส่วนตัวจึงคิดว่า การลงทุนในหุ้นต่างประเทศ ก็ควรจะได้รับการยกเว้นเช่นเดียวกัน ซึ่งก็จะตรงกับที่ทางกรมสรรพากรออกมาชี้แจงล่าสุดว่า ต้องการสร้างความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีระหว่างผู้มีเงินได้จากแหล่งเงินได้ภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้นภาษีภายในประเทศจัดเก็บแบบไหน ก็ควรจะนำไปใช้เป็นแนวทางการจัดเก็บภาษีรายได้จากต่างประเทศในแบบเดียวกัน

ทั้งนี้เพื่อให้นักลงทุนสามารถนำเงินไปแสวงหาโอกาสการลงทุนที่ดีจากทั่วโลกได้ เพราะสุดท้ายแล้วเมื่อลงทุนได้กำไร นักลงทุนก็จะนำเงินกำไรที่ได้จากต่างประเทศกลับมาใช้จ่ายในประเทศ กระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการหมุนเวียนต่อไป น่าจะเหมาะสมกว่าที่จะจัดเก็บภาษีจากกำไรตั้งแต่ต้น

เก็บภาษีหุ้นตปท.หนุนนักลงทุนลง FIF-DR เพิ่ม

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส ( ASPS)  มองการเก็บภาษีหุ้นตปท. ทำนักลงทุนอาจขายทำกำไรหุ้นตปท.ในช่วงที่เหลือของปี   แต่หนุนกองทุน FIF, DR, DRx รวมถึงหุ้นไทยเอง ได้รับความสนใจลงทุนเพิ่ม  โดยเฉพาะช่วงที่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลใหม่ต่อเนื่อง

โดยฝ่ายวิจัย  ฯ มองประเด็นการที่รัฐบาลจะเก็บภาษีลงทุนต่างประเทศ ในส่วนของ"ภาษีหุ้นต่างประเทศ" โดยให้นำมาคิดรวมคำนวณกับภาษีเงินได้ เริ่ม 1 ม.ค. 67 ว่า 

 

\"จิตตะ\"ชงรัฐทบทวนเก็บภาษีหุ้นตปท.- ASPS มองหนุนกองทุน FIF ,DR

1. น่าจะเห็นนักลงทุนขายทำกำไรหุ้นต่างประเทศบางส่วน ในช่วงที่เหลือของปีก่อนการเก็บภาษีจะมีผลบังคับใช้ เพราะนอกจากจะยังไม่เสียภาษีแล้ว ยังได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม หลังจากเงินบาทอยู่ในโซนอ่อนค่า 35.67 บาท/เหรียญ (อ่อนค่ามา 3.1%ytd) ซึ่งเม็ดเงินบางส่วนอาจเข้ามาเสริมสภาพคล่องตลาดหุ้นไทยในระยะถัดไป

2. กองทุนต่างประเทศ (FIF) จะได้รับความสนใจมากขึ้น ข้อมูล ณ สิ้นเดือน ส.ค.พบว่า มีกองทุน FIF ในไทยอยู่ 1040 กองทุน คิดเป็นสัดส่วน 36% จากกองทุนทั้งหมด 2903 กองทุน และมีมูลค่าสินทรัพย์รวม 9.63 แสนล้านบาท
คิดเป็นสัดส่วน 19% ของมูลค่าสินทรัพย์รวมของกองทุนทั้งหมด 5.08 ล้านล้านบาท ประเด็นการเก็บภาษีหุ้นต่างประเทศ น่าจะหนุนให้ บลจ. ต่างๆ ออกกองทุน FIF เพิ่มขึ้น (เพราะได้รับสิทธิไม่ต้องนำกำไรมาคำนวณรวมกับภาษี
เงินได้เหมือนกับหุ้นต่างประเทศ) หนุนความต้องการซื้อหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้นได้

3. DR, DRx น่าจะได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่เคลื่อนไหวและถูกซื้อขายได้เหมือนหุ้นต่างประเทศ โดยไม่ต้องไปเปิดพอร์ตหุ้นต่างประเทศ และยังไม่ต้องนำกำไรมาคำนวณรวมกับภาษีเงินได้เหมือนกับหุ้นต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมี DR และ DRx อยู่ในตลาดทั้งหมด 19 ตัว ดังนี้

 

\"จิตตะ\"ชงรัฐทบทวนเก็บภาษีหุ้นตปท.- ASPS มองหนุนกองทุน FIF ,DR