จับตากำไรกลุ่มแบงก์ไตรมาส 2/67 แตะ 6.1 หมื่นล้าน ครึ่งแรกปี 67 กำไรโต 3.4%

07 ก.ค. 2567 | 05:49 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ก.ค. 2567 | 05:01 น.

กลับมาสู่ฤดูกาลประกาศงบ ประจำไตรมาส 2/67 ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไปและไม่เท่าเทียม อาจทำให้กลุ่มแบงก์ทำกำไรในไตรมาส 2/67 ทรงตัวที่ 6.1 หมื่นล้านบาท โบรกให้คงน้ำหนัก เท่าตลาด ยังมีความน่าสนใจเชิง Div yield ชู KBANK BBL TTB เป็นหุ้นเด่น

นับเวลาถอยหลังเข้าสู่ฤดูการประกาศงบผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/2567 ซึ่งแน่นอนว่ากลุ่มแรกที่เริ่มทยอยแจ้งงบเป็นกุ่มแบงก์ ทำให้ในช่วงที่ผ่านมานักวิเคราะห์จากหลายบริษัทหลักทรัพย์ได้ทำการประเมินกำไรในไตรมาสที่สองออกมา รวมถึงภาพรวมในช่วงครึ่งหลังปี 67 ว่ามีแนวโน้มอย่างไร ด้วยปัจจัยเชิงบวกจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของถารัฐในช่วงไตรมาสที่ 4/2567 ดูเหมือนจะเป็นอีกหนึ่งความหวังที่เข้ามาช่วยส่องสว่างให้กับเศรษฐกิจกลับมามีการเติบโตที่เพิ่มขึ้นได้ และช่วยเพิ่มสภาพคล่องกำลังซื้อ ให้กับประชาชน 

โดยนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เปิดเผยว่า ฝ่ายวิจัยคาดการณ์กำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) ในไตรมาส 2/67 ที่ 6.1 หมื่นล้านบาท ลดลง 2.5% จากไตรมาสก่อน แต่ทรงตัวเมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน จาก NII ตามทิศทางสินเชื่ออ่อนแรง รวมทั้งการ REPRICING เงินฝากประจำ ด้าน CREDIT COST ทรงตัวจากไตรมาสก่อน เป็นไปตามภาพเศรษฐไทยที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและไม่เท่าเทียมกัน กดดันต่อพอร์ตลูกหนี้ แทบทุกประเภทสินเชื่อทั้งธุรกิจและรายย่อย จึงคาดหมาย NPL / LOAN ณ สิ้นไตรมาส 2/67 ที่ 3.7% จาก 3.6% ณ สิ้นงวดก่อน

หากเทียบการขยายตัวของกำไรเชิงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน มอง TTB (เติบโต 19% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน) และ KBANK (โต 9% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน) ทำได้ดีกว่ากลุ่มฯ หากกำไรไตรมาส 2/67 ตามคาด จะส่งให้กำไรสุทธิในช่วงครึ่งแรกปี 67 เท่ากับ 1.2 แสนล้านบาท เติบโต 3.4% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน 52% ของประมาณการทั้งปีฝ่ายวิจัยที่ 2.3 แสนล้านบาท โต 3% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน และ BB CONSENSUS ขณะที่ KBANK, KTB และ TTB ซึ่ง สัดส่วนกำไรครึ่งแรกปี 67 เกิน 50% พอควร ทำให้ DOWNSIDE จำกัดกว่ากลุ่มฯ

กลุ่มฯ น่าสนใจจาก DIV YIELD สูงเกิน 5% เลือก KBANK (OUTPERFORM) จาก การเร่งบริหารจัดการ NPL เร็วกว่ากลุ่มฯ ประเมินมีช่องวางในการลด CREDIT COST เมื่อเทียบกับกลุ่มฯ ตามด้วย BBL (OUTPERFORM) หลัง PBV ซื้อขายที่ 0.45 เท่า ต่ำกว่าช่วง COVID-19 ที่ซื้อขายเฉลี่ย 0.5 เท่า ทั้งที่ ROE สูงกว่า ส่วน TTB (OUTPERFORM) การมี TAX SHIELD คาดหนุนการเติบโตของกำไร สูงกว่า ค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ สำหรับ ธ.พ. ที่เหลือเรียงตามความชอบ ดังนี้ KTB (NEUTRAL) > TISCO (NEUTRAL) > SCB (NEUTRAL) > KKP (UNDERPERFORM)

ทั้งนี้ หากพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลงของกำไรสุทธิเชิงจากไตรมาสก่อน มองว่า BBL ทำได้ดีกว่ากลุ่มฯ เพราะ FVTPL ที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ตามข้อมูลในอดีต รวมถึงฐานงวดก่อนค่อนข้างต่ำติดลบ 82 ล้านบาท เพียงแต่ FVTPL ไม่ใช่ รายการที่ตลาดให้น้ำหนักทางบวกมากนัก ดังนั้น ในงวดนี้ฝ่ายวิจัยจึงให้น้ำหนัก ความน่าสนใจไปยังเมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน ซึ่งประเมิน TTB ที่มี Tax shield และ KBANK จากทิศทาง Credit cost ลดลงมาที่ 1.9% (ไตรมาส 1/67 ที่ 1.9% และไตรมาส 2/66 มีฐานสูงที่ 2.1%) มี โอกาสกำไรสุทธิขยายตัวเมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อนเด่นกว่ากลุ่มฯ

*ชอบ KBANK, BBL และ TTB
อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายคงน้ำหนัก เท่าตลาด โดย SETBANK YTD ปรับฐาน 8% ใกล้เคียง SET Index มองว่ากลุ่มฯ ยังมีความน่าสนใจเชิง Div yield ชดเชยแนวโน้มการขยายตัวของ กำไรกลุ่มฯ ที่อยู่ในอัตราใกล้เคียงกับการเติบโตของ GDP ไทย เลือก KBANK (Outperform : มูลค่าเหมาะสม 148 บาท) จากการเร่งบริหารจัดการ NPL ตั้งแต่ครึ่งหลังปี 67 เร็วกว่า กลุ่มฯ ประเมินช่วยให้ Credit cost ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายธนาคารฯ ที่ 1.75% - 1.95% อีกทั้งทำให้มีช่องวางในการลด credit cost เมื่อเทียบกับกลุ่มฯ ที่ credit cost อยู่ในระดับต่ำแล้ว

ตามด้วย BBL (Outperform : มูลค่าเหมาะสม 175 บาท) หลัง PBV ซื้อ ขายที่ 0.45 เท่า ต่ำกว่าช่วง COVID-19 ที่ซื้อขายเฉลี่ย 0.5 เท่า ทั้งที่ ROE สูงกว่า พร้อมคาด Div yield ราว 5.3% ส่วน TTB (Outperform : มูลค่าเหมาะสม 1.98 บาท) การมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีคาดการณ์หนุนการเติบโตของกำไรปี 67-68 สูงกว่า ค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ประเมิน Div yield 6.5% ต่อปี

โดยคาดว่า DIV YIELD ในช่วง 6 เดือนแรกปี 67 ราว 3% (สมมติฐาน DPS เท่า ครึ่งแรกปี 66 ที่ 0.05 บาท) สูงกว่า ธ.พ. อื่นๆ สำหรับ ธ.พ. ที่เหลือเรียงตามความชอบ ดังนี้ KTB (Neutral) > TISCO (Neutral) > SCB (Neutral) > KKP (Underperform)
 

**ชู KBANK TTB เป็นหุ้นเด่น

บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) เผยในบทวิเคราะห์ว่า คาดผลกำไรสุทธิรวมของธนาคาร 8 แห่งในไตรมาส 2/67 อยู่ที่ 56 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน และลดลง -1.3% จากไตรมาสก่อน โดยกำไรเติบโตเมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน

หนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น และสำรองหนี้ฯ ลดลง แต่กำไรลดลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจากสินเชื่อหดตัว และ NIM ลดลง รวมทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมอ่อนแอผลจากเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า และภาวะการลงทุนผันผวน

โดยทางฝ่ายคาดว่า KBANK KTB TTB เป็นกลุ่มที่กำไรสุทธิเติบโตเมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน แต่ลดลงจากไตรมาสก่อน ขณะที่ BBL SCB TISCO เป็นกลุ่มที่กำไรโตจากไตรมาสก่อน แต่ลดลงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน

ส่วน KKP TCAP เป็นกลุ่มที่กำไรสุทธิลดลงทั้งเมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน และจากไตรมาสก่อน ทั้งนี้ ด้วยสินเชื่อรวมในไตรมาส 2/67 หดตัวจากไตรมาสก่อน แต่ยังปรับเพิ่มเล็กน้อย 0.2% ในครึ่งแรกปี 67 ด้วยผลกระทบจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเปาะบางและไม่ทั่วถึงทำให้ความต้องการสินเชื่อชะลอตัว ธนาคารคุมเข้มในการปล่อยสินเชื่อใหม่

ทางฝ่ายคาดว่าสินเชื่อรวมในไตรมาส 2/67 จะลดลง 0.5% จากไตรมาสก่อน (โต 0.1%เมื่อเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน) แต่จะเพิ่มขึ้น 0.2% ในช่วงครึ่งแรกปี 67 แม้ธนาคารเน้นกลยุทธ์ตั้งรับทำให้สินเชื่อไม่โต แต่ทำให้ควบคุมคุณภาพสินเชื่อได้ดี

ทางฝ่ายคาดว่า NPL ratio เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารจะทรงตัวจากไตรมาสก่อน ที่ 3.6% เป็นผลให้ธนาคารสามารถผ่อนคลายการตั้งสำรองหนี้ฯ ลงได้ และคาดว่า Coverage ratio ของกลุ่มธนาคารยังทรงตัวสูงที่ 183.6% ในไตรมาส 2/67 รองรับความไม่แน่นอนในอนาคต

ส่วนกำไรสุทธธิรวมในครึ่งแรกปี 67 ที่ 112.7 พันล้านบาท เติบโต 6.7% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวเปาะบางเป็นปัจจัยกดดันการขยายตัวสินเชื่อ และ NIM ปรับลดลงต่อเนื่องจากต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

ขณะที่คุณภาพสินเชื่อทรงตัว และธนาคารกันสำรองหนี้ฯ รองรับสินเชื่อกลุ่มอ่อนแอล่วงหน้าไปบางส่วนในปี 66 ทั้งนี้ ท่ามกลางเศรษฐไทยฟื้นตัวช้าในครึ่งแรกปี 67 ทางฝ่ายยังมีมุมมองบวกต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังปี 67 ที่จะได้แรงหนุนหลักจากเม็ดเงินจากการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 67-68 มาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของภาครัฐ

รวมทั้งการฟื้นตัวแข็งแกร่งในภาคการท่องเที่ยว เรามองว่าผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคารอาจกลับมาเติบโตดีขึ้นได้ในไตรมาส 3/67 และปรับลดลงเป็นระดับต่ำสุดของปีไตรมาสสุดท้าย เราคาดว่ากำไรสุทธิรวมจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 67-68 แต่ในอัตราชะลอตัวที่ 7.6% และ 7.3% ในปี 67-68 จากปี 66 ที่เติบโต 18.4% โดยคาดว่า TTB จะมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิโดดเด่น 14% ในปี 67 และ BBL โต 9.7%, KBANK โต 9.1% โดยจะมีเพียง TISCO ที่คาดว่ากำไรสุทธิในปี 67 จะลดลง 3.3%
 
ประกอบกับเงินกองทุนแข็งแกร่งรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต ทำให้ธนาคารสามารถผ่อนคลายสำรองหนี้ฯ ลงเป็นปัจจัยช่วยลดทอนผลกระทบจากสินเชื่อ และ NIM ได้ในไตรมาส 2/67 สำหรับในปี 67 กำไรสุทธิรวมมีแนวโน้มเติบโตชะลอตัวที่ 7.6% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน (จากปี 66 ที่โต 18.4%) แต่ ROE ยังคงสูงขึ้นได้ต่อเนื่องที่ 9.1% ในปี 67 (จากปี 66 ที่โต 8.8%)

แม้อัตราการเติบโตจะไม่โดดเด่น แต่อัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงที่ 7% ในปี 67 และ Valuation ไม่แพง กลุ่มธนาคารซื้อขายที่ 0.5 เท่า PBV’24E หรือ -1.0SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี ทางฝ่ายคงน้ำหนักการลงทุน "เท่ากับตลาด" เลือก KBANK และ TTB เป็นหุ้นเด่น