KEY
POINTS
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) ปัจจุบันอยู่ระหว่างปรับปรุงและแก้ไขข้อมูล เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถยื่นได้ทันภายใน 19 ก.ย.2567 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดไว้ โดยพันธมิตรของธนาคารจะมีการหารือในหลายมิติ มีระบบนิเวศที่มาช่วยสนับสนุนกันและกัน
โดยที่โจทย์ คือ การช่วยให้กลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้รับเงินทุนที่เหมาะสม ในขณะที่สถาบันการเงินก็ต้องมีวิธีติดตามหนี้ให้ได้ในสถานการณ์ที่หนี้ครัวเรือนเริ่มสูง ต้องคิดให้ครบและรอบด้าน ไม่ใช่วาทกรรมที่พูดกันแล้วตื่นเต้นเร้าใจ เพราะเวลานี้ไม่ได้บอกว่าให้มาแข่งขันกับคนเดิม ต้องให้ตอบโจทย์ผู้ที่เข้าไม่ถึงสถาบันการเงิน เพราะฉะนั้นภาพนี้ต้องตีให้ออก
ที่ผ่านมาธนาคารกรุงไทยมีการปฏิรูปมาตั้งแต่ปี 2014 จนปัจจุบันแบ่งออกมาเป็น 3 เฟส
เฟส 1 (2014-2019) DERISKING BY DRIVING RETAIL ASSET ORIGINATION และ STREAMLINING OPERATIONS ซึ่งเรื่องของการปฏิรูปในภาคส่วนต่างๆ สะท้อนในมุมมองของธนาคารกรุงไทยว่า ถ้าดูในมุมมองของเฟสแรกว่า KTB ต้องทำตัวเอง ตลอดจนปัดกวาดตัวเองให้มีกล้ามเนื้อ โดยอยู่บนรากฐาน ธรรมาภิบาล
ในส่วนของพนักงาน ธนาคารกรุงไทยเน้นจังหวะในการปฏิรูปเพื่อให้สอดคล้องในบริบทของการแข่งขัน และ ในบริบทของลักษณะโครงสร้าง aging ของพนักงาน โดยพนักงานของธนาคารเข้าสู่ aging society เร็วกว่าในอีกหลายๆองค์กร
เพราะไม่ได้บูรณาการมานาน จึงอาศัยจังหวะที่พนักงานเกษียณ KTB ไม่ได้เพิ่มพนักงานเข้ามา ซึ่งธนาคารเร่งเรื่องปรับกำลังคนให้เหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการปรับเปลี่ยน และ ที่สำคัญที่สุดธนาคารไม่ต้องการที่จะเติบโตองค์กรแล้วไปสร้างภาระให้กับสังคม
เฟส 2 (2019-2022) DIGITAL TRANSFORMATION “OPEN FINANCE” ที่ผ่านมาธนาคารพยายามปิดช่องว่างระหว่างคู่เทียบ วันนั้นยังไม่มี mobile banking ,uเพียง internet banking หรือ KTB netbank วันนั้นตัดสินใจที่จะทำ กรุงไทย next และ ประเมินตัวเองว่า ใน 5-7 ปีจะปิดช่องว่างคู่เทียบ
แต่ก็มองว่าต่อให้วิ่งเร็วแค่ไหนก็อาจจะใกล้เพียงคู่เทียบ แต่ไม่มีทางแซงหน้าได้ ธนาคารจึงทำการศึกษาโลกวันนั้นก็มีคำว่า open finance แปลว่า มีเรื่องของ open data นวัตกรรม ความคิดนอกกรอบ และ Speedboat ของธนาคารเวลานั้น ก็จะเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่เป็นเพียงข้าราชการ underserved เพียงอย่างเดียว
เฟส 3 (2022-ปัจจุบัน) GROWING NEW BUSINESSES ธนาคารได้พัฒนาการสร้าง digital talent (ความสามารถด้านดิจิทัล) โดยมี 4 แกนหลัก แกนแรก คือ DATA INNOVATION แกนที่ 2 คือ IT INNOVATION แกนที่ 3 คือ BUSINESS INNOVATION แกนที่ 4 คือ INTERNALIZATION เชื่อว่า ณ เวลานั้นทั้ง 4 แกนเป็นแกนหลักที่จะขับเคลื่อน Transform องค์กร บน 4 แกนที่ดำเนินการมา
"วันนั้นเรามีคนเพียง 20 คน อยู่ข้างในสังกัด CEO office วันนี้เราพยายาม Spin ออกมา เราก็เห็นว่าไปไม่ถึง 40 คน เจอความฝืด เพราะโครงสร้าง และ วัฒนธรรมขององค์กรไม่ได้มีความยืดหยุ่นตามบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก เราถึง Spin ออกมาเป็น infinitas ที่มีภารกิจดึงคนเข้ามา 1,000-2,000 คน แต่ทำได้ 70-80% ก็เริ่มฝืด เราก็ต้องตั้งคำถามแปลว่าอะไร เราสร้างแบรนด์นี้จาก 0 แตกออกจากกรุงไทย หลักๆเรามีพันธมิตรหลายราย แต่พันธมิตรที่โดดเด่น คือ Accenture กับ IBM เราก็เดินทางจนต้องมี Global INNOVATION ต้องมี Global technology ไม่ใช่ไทย technology แต่ คือ Global technology"
สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆ โดยอย่าคิดที่จะเติบโตด้วยตัวเอง เพราะไม่มีศักยภาพ ธนาคารกรุงไทยถึงทำในเรื่องของการมีพันธมิตรร่วมลงทุน ฝ่ายละ 50% กับ Accenture เพื่อพัฒนาบุคลากร พอโตขึ้นมาถึงจุดหนึ่งก็มองว่าตรงแกน BUSINESS INNOVATION ธุรกิจใหม่ๆ จำเป็นที่จะต้องมี fast track
เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา KTB ถึงมี กรุงไทย เวนเจอร์ส จุดประสงค์หลักไม่ใช่สร้างกำไร แต่ต้องการที่ผลตอบแทนที่เหมาะสม และ ต้องการใช้ส่วนนี้เป็นการดึงพันธมิตรเข้ามาร่วมในระบบ ecosystem
อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ธนาคารกรุงไทยคงจะหยุดพัฒนา New platform แต่ต้องการที่จะเพิ่มความลึกในเรื่องปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และ ยกระดับบูรณาการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และลงลึกให้ถึงหัวใจลูกค้ามากที่สุด ตลอดจนให้ความสำคัญกับการเติบโตอย่างมีคุณภาพ
ซึ่งที่ผ่านมา 2 ปี ธนาคารยังคงใช้ 7 ยุทธศาสตร์หลัก (7 Strategic focus) ประกอบด้วย
"ความท้าทายในอนาคตก็ต้องบอกว่าค่อนข้างหิน ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย สิ่งที่เกิดขึ้นก็มีทั้งระดับโลกแล้ว ก็ระดับในเศรษฐกิจในประเทศ ที่สำคัญที่สุดก็ คือ ความเหลื่อมล้ำ ซึ่งมันสอดคล้องกับเรื่องของหนี้ครัวเรือน และสอดคล้องกับเศรษฐกิจนอกระบบ วันนี้หลายคนพูดถึงเราว่ามีปัญหาในเชิงโครงสร้าง เราเองทุกคนนี่แหละเป็นความท้าทายของปัญหาในเชิงโครงสร้างนั้นด้วยเช่นกัน การที่ไปบอกว่าหนี้ครัวเรือนสูง มันไม่มีที่มาที่ไปใช่หรือไม่ มันก็ไม่ใช่ แล้วทำไมพวกเราปล่อยให้เศรษฐกิจนอกระบบมันเยอะที่สุด In The World"
นายผยง ศรีวณิช กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับทิศทางในการดำเนินงานในช่วงครึ่งหลังปี 2567 นี้ ทาง KTB คงเป้าหมายทางการเงินในปีนี้ โดยการเติบโตของสินเชื่อไว้อยู่ที่ระดับ 3% จากครึ่งแรกปีนี้ที่มีการหดตัวลง 0.6% จากสิ้นปี 2566 แต่จะเติบโตมากขึ้นจากเทียบกับในช่วงครึ่งปีหลัง สาเหตุหลักๆ เป็นผลมาจากการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ
สืบเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่เร่งตัวขึ้น ทั้งจากภาคการท่องเที่ยว และการเบิกจ่ายงบประมาณ ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) คาดสิ้นปี 2567 นี้อยู่ที่ระดับ 3.0-3.3% และอัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียม 1-5% เน้นกลุ่มลูกค้า Wealth เป็นหลัก ประกอบกับได้เพิ่มสินค้าใหม่ในแอปเป๋าตัง ซึ่งจะช่วยเพิ่มการทำธุรกรมมได้มากยิ่งขึ้น
ด้านค่าใช้จ่ายการดำเนินงานธนาคารควบคุมได้ดี และหากค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นต้องล้อไปกับการเติบโตของรายได้ ทำให้สามารถคุมให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (Cost to income ratio) อยู่ในกรอบ 40-45% ตามเป้าหมาย จากปัจจุบันอยู่ที่ 42-43% ซึ่งเป็นระดับที่แข่งขันได้ และดีกว่าคู่เทียบในอุตสาหกรรม
ขณะที่อัตราส่วนการตั้งสำรองต่อหนี้ NPL (Coverage ratio) คาดว่าจะอยู่ที่ระดับไม่เกิน 180% ในปี 2567 นี้ จากไตรมาส 2/2567 ที่อยู่ระดับ 181% จากในอดีตอยู่ที่ 98% แต่ในตอนนี้ขึ้นมาอยู่ที่ระดับประมาณ 170-180% ซึ่งมองว่าเป็นระดับที่คิดว่าแข็งแรงและเป็นระดับที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี ทางธนาคารกรุงไทยมีการทบทวนตลอดเวลาเพื่อปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์
ส่วนหนี้ที่มิก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ธนาคารกรุงไทยประเมินว่า NPL ratio ในครึ่งหลังปี 2567 จะเพิ่มขึ้น แต่สิ้นปีไม่เกิน 3.25% จากไตรมาส 2/2567 อยู่ที่ 3.1% และอัตราการสำรองหนี้สูญสิ้นปีนี้คงไว้ที่ 120-130 bp