SET วันนี้แกว่ง Sideways กรอบ 1,480-1,500 จุด หลังกลุ่มแบงก์กำไรดีกว่าคาด

22 ต.ค. 2567 | 02:57 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ต.ค. 2567 | 02:57 น.

บล.ลิเบอเรเตอร์ ชี้ SET Index วันนี้ แกว่ง Sideways ในกรอบ 1,480-1,500 จุด ผันผวนตามการรายงานผลประกอบการกลุ่มแบงก์ออกมากำไรรวมดีกว่าตลาดคาด 5.7% แนะติดตามกลุ่ม Real sector ในช่วงถัดไป แนะเน้นการย่อตั้งรับ หุ้นที่คาดหวังรายงานกำไรเด่น แนะนำ BTG

นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด (Liberator) ประเมินภาพรวมตลาดหุ้นไทยวันนี้ 22 ต.ค.67 ว่า คาด SET Index วันนี้ 22 ต.ค.67 แกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1480-1500 จุด ผันผวนตามการรายงานผลประกอบการกลุ่มธนาคารออกมากำไรรวมดีกว่าตลาดคาดราว 5.7%

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นทั่วโลกยังอยู่ในช่วงเกาะติดผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 3/67 ส่งผลให้ตลาดค่อนข้างผันผวน สอดคล้องกับผลสำรวจล่าสุดของ Bloomberg เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงที่เหลือของปี พบว่านักลงทุนกว่า 45% ให้น้ำหนักเรื่องผลประกอบการ ส่วน 39% มองผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ และราว 16% มองเรื่องลดดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED)

โดยสัปดาห์นี้บริษัทในตลาด S&P500 ราว 20% จะทยอยรายงานผลประกอบการ ดังนั้น อาจทำให้ตลาดมีความผันผวนมากขึ้น ส่วนด้าน Dollar Index แข็งค่าทดสอบระดับ 104 จุด สอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่วานนี้ (21 ต.ค.67) ปรับขึ้นกว่า +11bps สู่ระดับ 4.2% สูงสุดในรอบ 3 เดือน สอดคล้องกับโอกาสการปรับลดดอกเบี้ยสหรัฐฯ ใน เดือน พ.ย. ที่เพียง 0.25%

ส่วนปัจจัยในประเทศ ยังอยู่กับการรายงานงบเช่นกัน โดยล่าสุดกลุ่มธนาคารออกเรียบร้อยแล้ว พบว่า 7 ธนาคารหลักมีกำไรรวม 5.47หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% จากไตรมาสก่อน และเติบโต 8.5% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ดีกว่าตลาดคาด 5.7% ซึ่งดีกว่าคาดมากสุด คือ KKP SCB โดยรวมมาจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย และการตั้งสำรองที่ลดลง

แม้สัญญาณ NPL ส่วนใหญ่จะขยับขึ้นเล็กน้อย ขณะที่สินเชื่อชะลอตัวทั้งจากไตรมาสก่อน และจากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน มีแค่ KTB ที่ขยายตัว ส่วน NIM ทรงตัว แต่มีแนวโน้มลดลงในช่วงถัดไปจากการที่ กนง. ลดดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี กลุ่มธนาคาร ยังจ่ายปันผลสูง และ Valuation ไม่แพง ดังนั้น อาจใช้กลยุทธ์ย่อตั้งรับเน้น KTB SCB KBANK

หุ้นเด่น

  • BTC ราคาเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่ 26.00 บาท คาดกำไรไตรมาส 3/67 ที่ 978 ล้านบาท พลิกจากขาดทุน -784 ล้านบาท ในไตรมาส 3/66 และขยายตัวเด่น 55% จากไตรมาสก่อน จะทำสถิติสูงสุดของปี โดยมีแรงหนุนจากราคาขายที่สูง (โดยเฉพาะหมู) และราคาวัตถุดิบลดลง โดยกากถั่วเหลือง ลดลง 5% จากไตรมาสก่อน ในขณะที่ราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาย่อตัวตอบรับความเสี่ยงผลกระทบจากน้ำท่วมไปในระดับหนึ่งแล้ว ส่งผลให้ Upside มากขึ้น เป็นจังหวะเก็งกำไร งบไตรมาส 3/67 
  • WHA ทางฝ่ายยังมีมุมมองเชิงบวกจากการลงทุนในไทยปี 67 ที่มีทิศทางที่ดีขึ้น สอดคล้องกับมูลค่า FDI ปี 66 ที่เติบโตกว่า 73% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยนักลงทุนจีนเข้ามาสูงสุด จากอุตสาหกรรม EV บริษัทตั้งเป้าปีนี้ธุรกิจโลจิสติกเพิ่มอีก 2 แสน ตร.ม. ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม จะขยายเพิ่มอีก 2,070 ไร่ รวมทั้งจะมีการขยายสินทรัพย์เข้ากองทรัสต์รวม 2.13 แสน ตร.ม.
  • SGC ราคาเป้าหมาย 1.96 บาท โดยคาดกำไรครึ่งหลังปี 67 จะเร่งตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการเติบโตของโครงการ SG Finance+ ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อมือถือที่สามารถล็อกได้หากผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งจะทำให้ NPL Ratio อยู่ในระดับต่ำ ผสานกับการปลดล็อกการเพิ่มทุน จะหนุนให้ SGC ผ่อนคลายดอกเบี้ยจ่าย และมีเม็ดเงินเพิ่มเติมในการปล่อยสินเชื่อ หนุนปี 68 กำไรจะเติบโตแบบก้าวกระโดด 
  • BH คาดกำไรไตรมาส 3/67 ยังคงเติบโตโดดเด่น จากการเข้าสู่ช่วง High Season โดยคาดผู้ป่วยจากตะวันออกกลางยังปรับตัวขึ้นดี ขณะที่ประเด็นของคูเวต คาด BH มีโอกาสถูกเลือกเป็น 1 ใน 3 โรงพยาบาลในไทยที่รัฐบาลคูเวตสนับสนุน สำหรับภาพระยะกลาง คาดได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากการเปิดโรงพยาบาลแห่งใหม่ในภูเก็ตในช่วงปี 69
  • AOT คาดกำไรในช่วง ก.ค.-ก.ย. 67 จะขยายตัวได้จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ตามรายได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ในฝั่งรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับการบินอาจลดลงเล็กน้อย จากการยกเลิกร้าน Duty Free ขาเข้าตั้งแต่ ส.ค. 67 ขณะที่ในระยะสั้นคาดมีปัจจัยบวกจาก Golden week หนุนนักท่องเที่ยวจีนสูงขึ้น และการเดินหน้าต่อในช่วงปลายปีคาดนักท่องเที่ยวจะเร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการเข้าสู่ช่วงฤดูกาล ด้าน Upside อาจมาจากมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐฯ
  • CPALL ที่คาดแนวโน้มไตรมาส 3/67 เติบโตจากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน แต่ลดลงจากไตรมาสก่อน ตามฤดูกาล โดย SSSG ของ CPALL ในช่วงไตรมาส 3/67 คาดยังคงเติบโต 2.5% แข็งแกร่งกว่ากลุ่มค้าปลีก โดยได้แรงหนุนจากการบริโภคที่ขยายตัว ผสานกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ ที่เป็นแรงขับเคลื่อนเพิ่มเติม ซึ่งจะส่งต่อไปยังแนวโน้มไตรมาส 4/67 ที่จะกลับมาเร่งขึ้นทั้งจากไตรมาสก่อน และจากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน 
  • ITC คาดกำไรไตรมาส 3/67 ที่ 1,019 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 58% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน และเติบโต 1% จากไตรมาสก่อน ยังขยายตัวจากราคาวัตถุดิบที่ลดลง แม้ว่าค่าเงินบาทในช่วงไตรมาส 3/67 จะอ่อนแอกว่าคาดก็ตาม (แต่มีการล็อกค่าเงินบาทไว้แล้ว) ภาพรวมการดำเนินงานยังขยายตัวได้ต่อเนื่องตามการขยายตลาดใหม่ๆ และการส่งออกที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งยังคงรักษาอัตรากำไรขั้นต้นไว้ได้

ปัจจัยที่ต้องจับตา

22 ต.ค.  ประชุม ครม.
23 ต.ค.  ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐฯ, สต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์สหรัฐฯ, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ยูโรโซน
24 ต.ค.  ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ สหรัฐฯ, ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ, PMI ภาคการผลิตและบริการ ของ US & ยูโรโซน & ญี่ปุ่น,