สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ระบุว่า หลักเกณฑ์การให้บริการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (margin loan) ปัจจุบันกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์(บล.) ปล่อย margin loan บนหลักทรัพย์ที่กำหนด ซึ่งรวมถึงหุ้นจดทะเบียนที่ออกและเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรก(IPO)ด้วย
โดยให้บล.กำหนดรายชื่อหลักทรัพย์ที่จะอนุญาตให้ลูกค้าซื้อจากบัญชีมาร์จิ้น (marginable secunties) และอัตรามาร์จิ้นเริ่มต้น (Intial Margn: IM) สำหรับแต่ละหลักทรัพย์ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
การกำหนดรายชื่อหลักทรัพย์และ IM บล. ต้องคำนึงถึงสภาพคล่อง ความผันผวนของราคา และความเสี่ยงของแต่ละหลักทรัพย์เป็นสำคัญ โดยให้บล.กำหนด IM ไม่ต่ำกว่า 50% หรืออัตราที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)กำหนดแล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า
โดยลูกค้าที่จะกู้ยืมเงินบล.เพื่อซื้อหลักทรัพย์ จะนำเงินสดหรือหลักทรัพย์ทะเบียนประเภทหุ้นมาวางเป็นหลักประกันในจำนวนที่เพียงพอตามที่กำหนด หากมูลค่าหลักประกันลดลงจนต่ำกว่าเกณฑ์และลูกค้าไม่เติมหลักประกัน บล.จะบังคับขายหลักประกันเพื่อชำระหนี้ที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติบล. แต่ละแห่งกำหนด IM ตามความเสี่ยงของหุ้นแต่ละตัวในอัตราที่แตกต่างกัน และก.ล.ต.พบว่า มีหุ้นหลายตัวที่เป็นหลักประกันในบัญชีมาร์จิ้นมีราคาผันผวนและลดลงจากสาเหตุต่างๆ จนบล.ต้องบังคับขาย
แต่มูลค่าการบังคับขายหลักประกันอาจไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ จึงเกิดความเสียหายต่อบล. และส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของตลาดทุนโดยรวม
จากการสำรวจข้อมูลในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพบว่า มี บล. 29 ราย มีการปล่อย margin loan บนหุ้น IPO ที่ออกและเสนอขายจำนวน 100 หลักทรัพย์ โดยแต่ละบล. มีการบริหารความเสียงในการพิจารณากำหนด IM ที่แตกต่างกัน
เช่น บล. บางรายกำหนด IM ตามอัตราขั้นต่ำ (50%) แต่บางรายกำหนด IM ในอัตราสูงสุด (100%)
นอกจากนี้ บล. ยังมีการกำหนดวิธีการบริหาร ความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ เช่น กำหนดยอดหนี้รวมของหุ้น IPO ไม่เกิน 5% ของส่วนของผู้ถือหุ้นของหุ้นนั้น หรือกำหนดเพดานหุ้น IPO ไม่เกิน 50% ของ port ลูกค้าแต่ละราย
อย่างไรก็ดี พบว่า บล. สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวได้โดยพิจารณาเป็นรายกรณี
ขณะที่ผลการศึกษาพบว่า หุ้น IPO ที่เพิ่งเข้าซื้อขายในตลท. ในช่วงแรก (1-14 วันแรกของการซื้อขาย) จะมีสภาพคล่องสูงมากกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดและจะลดลงหลังจากนั้น แสดงให้เห็นว่าหุ้น IPO ที่เข้าซื้อขายในช่วงแรกยังมีข้อมูลไม่เพียงพอในการประเมินความเสี่ยง
กล่าวคือ ยังไม่มีราคาที่สะท้อน มูลค่าที่แท้จริงหรือยังไม่สะท้อนสภาพคล่องที่แท้จริง และมีโอกาสที่จะมีราคาผันผวนสูง
“หากบล. มีหลักประกันเป็นหุ้น IPO ที่ราคาผันผวนจนทำให้บล. ต้องบังคับขายหุ้นดังกล่าว บล. ก็อาจ ได้รับเงินไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ ขณะเดียวกัน margin loan อาจถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมืองมือในการสร้างราคาหรือความผันผวนของราคาหุ้น IPO ในตลาดด้วย”
นอกจากนั้น ยังพบว่า การปล่อยกู้ margin loan มากจนอาจส่งผลกระทบต่อฐานะของบล.กรณี บล. มียอด margin loan คงค้างรวมในระดับที่สูงเมื่อเทืยบกับทุนของบล. หากหุ้นที่เป็นหลักประกันมีราคาลดลงรุนแรงและลูกค้าไม่สามารถเพิ่มหลักประกันหรือชำระหนี้ได้ อาจส่งผลกระทบต่อฐานะของบล.
ทั้งนี้จากข้อมูล 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2562-สิงหาคม 2567) พบว่า บล.ส่วนใหญ่ที่ให้บริการ margin loan มียอด margin loan คงค้างไม่เกิน 2.88 เท่าของเงินกองทุน (equity) มีเพียงบล. 2 รายที่มียอดหนี้คงค้างเกิน 3 เท่า โดย 1 แห่ง สามารถลดยอด margin loan ให้กลับสู่ระดับต่ำกว่า 3 เท่าของ equity ได้ ขณะที่อีก 1 แห่ง มียอด margin loan เพิ่มขึ้น สู่ระดับ 4 เท่าของ equity ในปี 2566 และส่งผลกระทบต่อฐานะของบล.ในปีถัดมา
ขณะเดียวกันบล. มีการปล่อยกู้ margin loan ให้ลูกค้ารายใดรายหนึ่งในระดับที่สูง เมื่อเทียบกับฐานะของ บล.โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่นำหุ้นตนเองมาวางเป็นหลักประกัน margin loan เพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นของตนเองเพิ่มเติม
กรณีดังกล่าวอาจเป็นช่องทางให้ลูกค้ามีพฤติกรรมสร้างราคาหุ้นตนเองและยังอาจเกิดความเสี่ยงที่ลูกค้าไม่สามารถเพิ่มหลักประกันได้
จากข้อมูลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2562 - สิงหาคม 2567) พบว่า มี บล. ให้กู้ margin loan กระจุกตัวในลูกค้าบางราย โดยกลุ่มลูกค้าที่มียอด margn loaก กระจุกตัวมากกว่า 15% ของเงินกองทุน มีจำนวนสูงถึงถึง 95 ราย โดย 69 รายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของหุ้นนั้นๆ
ขณะเดียวกัน หากลูกค้านำหุ้นมาวางเป็นหลักประกันการกู้ยืม margก loan โดยหุ้นที่วางเป็นหลักประกันดังกล่าวกระจุกตัวอยู่ในหุ้นกลุ่มที่ราคาค่อนข้างผันผวน
เช่น หุ้นกลุ่ม non-SET100 และกลุ่ม mai หรือในภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมมีการกระจุกตัวในหุ้นที่เป็นหลักประกัน โดยมีขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นดังกล่าวที่ออกและเสนอขายทั้งหมด อาจส่งผลให้เกิดความเสียงต่อฐานะของ บล.ได้
เนื่องจากหุ้นที่เป็นหลักประกันดังกล่าวอาจมีราคาเปลี่ยนแปลงรุนแรง รวมทั้ง บล.อาจขายหุ้นได้ในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นในกรณีที่ บล. ต้องบังคับขายหุ้นหลักประกันดังกล่าว นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้ตลาดเกิดความผันผวนจากการบังคับขายหุ้นหลักประกันดังกล่าวในจำนวนมากด้วย
ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2562 - สิงหาคม 2567)พบว่า ลูกค้าจำนวน 29 รายที่นำหุ้นมาวางเป็นหลักประกัน ซึ่งมีการกระจุกตัวมากกว่า 10% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเสนอขาย ขณะที่ภาพรวมในระดับอุตสาหกรรมมีหุ้น 50 หลักทรัพย์ที่มีการกระจุกตัวมากกว่า 20% ของจำนวนวนที่ออกและเสนอขาย ซึ่งหุ้นทั้งหมดเป็นหุ้นในกลุ่ม non-SET100 และ mai
นอกจากนั้น การบังคับหลักประกันหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุนอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบ (systernic risk) หากหน่วยลงทุนถูกบังคับขายเป็นจำนวนมากในเวลาที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน ซึ่งอาจนำไปสู่การบังคับขาย (force sell) ของกองทุนรวมได้
ขณะเดียวกัน การบังคับหลักประกันหน่วยลงทุนอาจมีประเด็นความเสี่ยงทางกฎหมาย (legal isk) จากการบังคับจำนำหรือขายทอดตลาดที่ไม่ถูกต้อง เช่น ในการขายทอดตลาด บล. อาจทำหน้าที่เป็นทั้งผู้รับจำนำและผู้ขายทอดตลาดซึ่งทำให้เกิดความไม่โม่โปร่งใส
ก.ล.ต.ยังพบว่า บล. บางแห่งมีการให้บริการ margin loan กับผู้ลงทุนที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งผู้ลงทุนดังกล่าวนำเงินที่ได้จากการกู้ยืมไปซื้อหลักทรัพย์ในลักษณะ big lot กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจพิจารณาได้ว่า บล. ปล่อยกู้เป็นการทั่วไปให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของ margin loan และอาจเข้าข่ายเป็นการทำธุรกรรมการให้กู้ยืมเงิน โดยมีหลักทรัพย์เป็นหลักประกันที่ไม่จำกัดวัดวัตถุประสงค์การใช้เงิน(Loan Against Securities: LAS) ซึ่งเป็นธุรกรรมที่บล. ไม่สามารถให้บริการได้
หน้า 1 หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,061 วันที่ 12 - 15 มกราคม พ.ศ. 2568