ย้อนกลับไป ปี 2022 ถือเป็นปีที่หนักหน่วงสำหรับแวดวงคริปโตและบล็อกเชน เนื่องจากการเกิดเหตุการณ์ที่ทำลายความเชื่อมั่น จนทำให้ทั้งนักลงทุนรวมถึงหน่วยงานกำกับดูแลมองอุตสาหกรรมคริปโตและบล็อกเชนเปลี่ยนไป และส่งผลกระทบในระยะยาวซึ่งอุตสาหกรรมคริปโตจำเป็นต้องพยายามกู้คืนความเชื่อมั่นกลับมา
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาลงไปลึกๆ พบว่า ในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมคริปโตก็ยังมีเรื่องราวดีๆ ซ่อนอยู่ ทั้งในด้านความสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การขยายการเข้าถึง การเปิดตัวโซลูชันใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงข้อคิดที่ได้จากบทเรียนครั้งสำคัญที่เพิ่งเกิดขึ้น
BUIDLing–การสร้างและพัฒนาเพื่อการใช้งานในวงกว้าง
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ผู้คนในอุตสาหกรรมต่างพยายามพัฒนาโซลูชันในการขยายเครือข่ายบล็อกเชน (Scalability) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะความพร้อมดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในคุณสมบัติอันพึงประสงค์ 3 ประการของบล็อกเชน (Blockchain Trilemma) เช่นเดียวกับความปลอดภัย (Security) และการกระจายศูนย์ (Decentralization) ซึ่งเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2022 ที่ผ่านมา อีเธอเรียมได้ทำการอัปเกรด The Merge หรือการเปลี่ยนกลไกจากระบบ Proof-of-Work เป็น Proof-of-Stake เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการใช้งานในวงกว้าง โดยการเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือเป็นการยกระดับความพร้อมด้านการขยายเครือข่าย หรือ scalability ที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมนับตั้งแต่การเปิดตัว Taproot ของบิทคอยน์ รวมถึงยังช่วยให้เครือข่ายอีเธอเรียมสามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 99.95% อีกด้วย
การเพิ่มการเข้าถึงบริการและทรัพยากรคริปโต
เข้าไม่ถึงการใช้งานคริปโตถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต้องเร่งแก้ไข เพราะถ้าไม่สามารถขยายการเข้าถึงในวงกว้างได้ การใช้งานคริปโตอย่างแพร่หลายก็ไม่มีทางเกิดขึ้น ดังนั้นในปีที่ผ่านมา Binance จึงได้มุ่งมั่นที่จะเพิ่มการเข้าถึงบริการและทรัพยากรด้านคริปโตมาโดยตลอด ผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์มให้สามารถรองรับได้มากถึง 40 ภาษา การเปิดใช้งาน Binance Cards กว่า 1.7 ล้านใบให้ผู้ใช้งานในเขตเศรษฐกิจยุโรป และปัจจุบัน Binance มีผู้ใช้งาน Binance NFT มากกว่า 6 แสนรายต่อสัปดาห์ รวมถึงจัดการธุรกรรมคริปโตมูลค่าราว 2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน
ความปลอดภัยและการกำกับดูแลกฎระเบียบ
ปีที่ผ่านมาช่วยให้เราเห็นว่าหากต้องการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปข้างหน้า ผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัลจะต้องปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยและการกำกับดูแลกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดเพื่อให้สามารถปกป้องผู้ใช้งานคริปโตจากผู้ไม่ประสงค์ดีให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สำหรับ Binance เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ได้ทำการจดทะเบียน การขอใบอนุญาต และขออนุญาตเข้าดำเนินกิจการมากถึง 14 รายการในประเทศต่างๆ ซึ่งรวมถึงประเทศเศรษฐกิจสำคัญอย่างดูไบและฝรั่งเศส พร้อมเสริมความแข็งแกร่งด้านการกำกับดูแลกฎระเบียบ ด้วยการขยายทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแลจนมีจำนวนถึง 750 คน เพิ่มขึ้น 500% เมื่อเทียบกับปี 2021 รวมถึงการยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย ด้วยการอนุญาตเฉพาะผู้ใช้งานที่ยืนยันตัวตนด้วยเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการให้สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลบนแพลตฟอร์ม Binance ได้เท่านั้น ซึ่งนี่ถือเป็นแนวทางที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานในระบบนิเวศของเรามีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ความคืบหน้าของการใช้งานในระดับโลก
(แหล่งข้อมูล: Statista) จากผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุว่าตนเองครอบครองหรือใช้สกุลเงินคริปโต
ถึงแม้ว่าตลาดคริปโตจะเผชิญกับความท้าทายและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศโดยรวม แต่การใช้งานคริปโตทั่วโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับผู้ใช้รายย่อยและองค์กรต่างๆ ที่เริ่มนำเครื่องมือและบริการบล็อกเชนมาปรับใช้ โดยตัวเลขจากผู้ตอบแบบสอบถามของ Statista เผยว่า ปีที่ผ่านมาการครอบครองและใช้งานคริปโตยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องใน 56 ประเทศหลักที่มีการสำรวจเมื่อเทียบกับปี 2021 ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีการครอบครองและใช้งานคริปโตกว่า 44% ซึ่งถือเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศไนจีเรีย นับว่าอัตราการเติบโตที่สูงเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2019 ซึ่งผลสำรวจดังกล่าวตรงกับรายงานของ Hootsuite แพลตฟอร์มเครื่องมือจัดการโซเชียลมีเดียระดับโลก ที่ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยติด 5 อันดับแรกของจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ถือครองคริปโตในกลุ่มอายุ 16 - 64 ปี โดยยังมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2027 จำนวนผู้ถือครองคริปโตในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงถึง 5.12 ล้านคนเลยทีเดียว
นอกจากนี้ ผลการศึกษาของ Binance Research พบว่า ในปีที่ผ่านมามีองค์กรดั้งเดิมหลายแห่งเริ่มเข้าสู่วงการคริปโตและมีการนำคริปโตและเทคโนโลยีบล็อกเชนมาปรับใช้ อาทิ JPMorgan, Rakuten, Tencent, Tesla, Instagram, PayPal, American Express, Nasdaq, McDonald’s, Google Cloud, Mastercard, Sony และ Nike ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอนาคตอันสดใสของการยอมรับเทคโนโลยีบล็อกเชน ตลอดจนการใช้งานและคุณค่าที่แท้จริงของคริปโตที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
บทเรียนสำคัญจากปี 2022
อุตสาหกรรมคริปโตยังคงต้องมีความฉับไว พร้อมรับมือเหตุการณ์เขย่าวงการได้อย่างทันท่วงที ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมคริปโตมุ่งเน้นไปที่การขับเคลื่อนการยอมรับคริปโตและพัฒนาเทคโนโลยีเป็นหลัก จนทำให้หลายบริษัทหลงลืมถึงการเตรียมพร้อมรับมือต่อเหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆ ซึ่งจากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ทำให้แพลตฟอร์มคริปโตต้องพยายามมากขึ้นเพื่อที่จะลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ต่างๆ และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มความโปร่งใส ยกระดับเกณฑ์การบริหารความเสี่ยง ตลอดจนส่งเสริมความเชื่อมั่นของผู้ใช้งาน
ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การปฏิบัติตามกฎระเบียบถือเป็นหนึ่งเรื่องที่ Binance ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเมื่อปี 2022 Binance ได้ทำการขยายจำนวนทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแลจาก 500 คนเป็น 750 คน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องในการเสริมความแข็งแกร่งในด้านการกำกับดูแลกฎระเบียบให้เกิดขึ้นจริง อีกทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ Binance ยังได้ประกาศการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Association of Certified Sanctions Specialists (ACSS) องค์กรเดียวที่เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติตามมาตรการคว่ำบาตร เพื่อนำข้อมูลจากสื่อการฝึกอบรม ฐานข้อมูลที่ครอบคลุม และเครือข่ายเชิงลึกภายใน ACSS มาเพิ่มทักษะและความเชี่ยวชาญให้กับทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแลของ Binance เพื่อเดินหน้าในการกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบควบคู่ไปกับผู้เล่นรายอื่นๆ ต่อไป
จะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต?
อุตสาหกรรมคริปโตเติบโตขึ้นอย่างเกินความคาดหมายในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา และแม้ว่าจะมีเหตุการณ์ด้านลบเกิดขึ้นในปี 2022 แต่อย่างไรก็ตามเราก็ได้สร้างความสำเร็จและความคืบหน้าต่างๆที่ไม่อาจคาดหมายได้เมื่อ 2-3 ปีก่อน ซึ่ง Binance ในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตที่ใหญ่ที่สุดในโลกในแง่ปริมาณการซื้อขาย ได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน เราจึงศึกษาเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา พร้อมร่วมพูดคุยเพิ่มเติมกับผู้กำหนดนโยบาย รวมถึงการเรียกร้องให้ผู้ประกอบการรายอื่นดำเนินการเช่นเดียวกัน เพื่อเดินหน้าสู่หนทางการเติบโตของอุตสาหกรรมคริปโตที่มั่นคงยั่งยืนต่อไป