Binance พาเจาะลึกภาพรวม Web3 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2024 ผ่านการใช้ตัวย่อของเทรนด์ที่กำลังมาแรงที่สุด อย่าง “BITCOIN” เพื่อถ่ายทอดทิศทางดังกล่าว โดยคำว่า BITCOIN ในที่นี้ มีที่มาจากคำว่า Brand Collaboration การร่วมมือกันระหว่างแบรนด์ International Compliance การปฏิบัติตามข้อกำหนดระหว่างประเทศ Trust Enhancement การเสริมสร้างความเชื่อมั่น Comprehensive Security มาตรการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุม Opportunities in APAC โอกาสการขยายตัวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Innovative Products ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และ Nurturing Blockchain การดูแลระบบนิเวศบล็อกเชน
การอนุมัติ spot Bitcoin ETF โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม Web3 เนื่องจากมีการคาดว่าการอนุมัติในครั้งนี้จะดึงดูดการลงทุนครั้งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างอุตสาหกรรมคริปโต และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นสัญญาณแห่งการยอมรับ การเติบโต และการขยายตัวสู่ผู้คนในวงกว้างของสินทรัพย์ดิจิทัล
การร่วมมือกันระหว่างแบรนด์ (Brand Collaboration)
การเข้ามาของ Web3 ได้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในพลวัตทางธุรกิจและการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า เห็นได้จากการที่แบรนด์ Nike เข้าซื้อกิจการ RTFKT ซึ่งเป็นสตูดิโอ Web3 เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รองเท้าทั้งในรูปแบบจริง และรองเท้าดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี NFC และ NFT ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นใบเบิกทางให้แก่อุตสาหกรรมแฟชั่นได้ปลดล็อกโอกาสด้านการออกแบบ และการถือครองกรรมสิทธิ์ให้กับแบรนด์ นักออกแบบ และผู้บริโภค
ทั้งนี้ อีกหนึ่งตัวอย่างที่โดดเด่น คือ การที่ Binance ผู้นำนวัตกรรม Web3 ได้ปฏิวัติประสบการณ์ของเหล่าแฟนกีฬาและผู้ที่สนใจด้านความบันเทิง ด้วยการผนึกกำลังกับทีม BWT Alpine F1 และ Khaby Lame
เรเชล คอนแลน รองประธานบริหารฝ่ายการตลาดของ Binance กล่าวว่า “การสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์มีความสำคัญอย่างมากในการขยายขอบเขตการเข้าถึงและเสริมความแข็งแกร่งให้กับ Binance ไม่ว่าพันธมิตรเหล่านั้นจะมาจากโลกของ Web3 หรือ Web2 ก็ตาม โดยเรายังคงมุ่งมั่นมองหาพันธมิตรรายใหม่ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีความเชื่อมั่นถึงศักยภาพและคุณค่าของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่สอดคล้องกับเรา เพื่อมาร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์ และส่งมอบคุณค่าให้แก่เหล่าสมาชิกในชุมชนบล็อกเชน รวมถึงผู้ใช้ใหม่ในอนาคต”
การปฏิบัติตามข้อกำหนดระหว่างประเทศ (International Compliance)
จากการศึกษาของ PwC พบว่าในปี 2023 มีเขตอำนาจศาลอย่างน้อย 42 แห่ง ในหลากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่กำลังพัฒนากรอบการกำกับดูแลและการนําใช้กฎระเบียบของสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างครอบคลุม โดยแคลร์ วิลสัน หุ้นส่วนของ HM ได้ชี้ให้เห็นเพิ่มเติมว่า ในปี 2023 ประเทศสิงคโปร์ได้เริ่มต้นเสริมความแข็งแกร่งให้กับการควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อเตรียมสู่ระบบการชําระเงินผ่านโทเค็นดิจิทัลที่จะมีขึ้นในปี 2024 โดยมาตรการดังกล่าว ครอบคลุมทั้งความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี จริยธรรมทางธุรกิจ และการเข้าถึงของผู้บริโภค ซึ่งออกแบบมาเพื่อปกป้องนักลงทุนและป้องกันการบิดเบือนราคาตลาด
การเสริมสร้างความเชื่อมั่น (Trust Enhancement)
การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในด้านเทคโนโลยี เป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้การสร้างปฏิสัมพันธ์และการทำธุรกรรมผ่านระบบ Web3 เกิดขึ้น ดังนั้น การที่ผู้รับฝากสินทรัพย์และแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลมีการพัฒนาโปรโตคอลบล็อกเชนที่มีความปลอดภัยและโปร่งใสจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อป้องกันการฉ้อโกงและปกป้องเงินทุน รวมถึงข้อมูลของผู้ใช้
ในปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์ม Binance ได้เปิดตัวระบบกลไกพิสูจน์เงินทุนสำรอง (Proof-of-reserves) เพื่อเน้นย้ำถึงการเพิ่มศักยภาพการดูแลทุนของผู้ใช้ได้อย่างโปร่งใส อย่างไรก็ตาม Binance ตระหนักถึงข้อจำกัดของระบบ และยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการใช้งานโปรโตคอล zk-SNARK เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในด้านความเป็นส่วนตัวและลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก (Zero-knowledge proof) ในการพิสูจน์ระบบกลไกพิสูจน์เงินทุนสำรอง มากไปกว่านั้น Merkle ช่วยให้แพลตฟอร์มสามารถพิสูจน์ได้ว่าเงินทุนของผู้ใช้ถูกสงวนไว้โดยไม่ต้องเปิดเผยยอดคงเหลือของผู้ใช้แต่ละราย
โดยล่าสุด แพลตฟอร์มและบริการเทคโนโลยีระดับโลกของ Binance ได้ผ่านการตรวจสอบด้านการควบคุมระบบและองค์กรตามมาตรฐาน SOC 2 Type II ซึ่งดำเนินการโดย A-LIGN ที่ถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทในด้านการสร้างมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อปกป้องผู้ใช้และเสริมสร้างความไว้วางใจในอุตสาหกรรม
มาตรการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุม (Comprehensive Security)
เทคโนโลยีบล็อกเชนได้นำเสนอมาตรฐานใหม่ด้านความปลอดภัยเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างแบบกระจายศูนย์และกระจายการเข้าถึง โดยจากรายงานของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) มีฉันทามติว่าความเสี่ยงจากโปรโตคอล การละเมิดความเป็นส่วนตัว การรั่วไหลของข้อมูล การเข้าถึงคีย์หรือรหัสส่วนตัว และช่องโหว่ของ Smart Contract ยังเป็นภัยคุกคามหลักที่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม Chainalysis ยังได้เผยข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณอันดีของมาตรการรักษาความปลอดภัย ด้วยตัวเลขการโอนเงินผิดกฎหมายในระบบบล็อกเชนที่ลดลงจาก 39.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2022 เหลือเพียง 24.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023
ดังนั้น องค์กรและหน่วยงานกำกับดูแล จึงควรประยุกต์ใช้และยกระดับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อเพิ่มการคุ้มครองผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น พร้อมไปกับการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเหล่านี้และผู้เชี่ยวชาญ Web3 เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างกลไกป้องกันที่แข็งแกร่ง เพื่อให้สามารถจับกุมอาชญากรได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
โอกาสการขยายตัวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
จากรายงานดัชนีการใช้งานคริปโตทั่วโลกของ Chainalysis ได้แสดงให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งประเทศอินเดีย ถือเป็นผู้นำในด้านปริมาณธุรกรรม และติด 5 อันดับแรกในหมวดหมู่ต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย ที่มีรายชื่อใน 10 อันดับแรกด้วยเช่นกัน
สำหรับประเทศญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ได้ผลักดันนโยบายเพื่อนำพาประเทศสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจหลักประเทศแรกของโลกที่ออกกฎระเบียบว่าด้วย Stablecoin เมื่อเดือนมิถุนายน 2023 ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนถึงเป้าหมายของรัฐบาลในด้านการลงทุน Web3 ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์สำคัญในการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมเข้าสู่ยุคดิจิทัล
ทั้งนี้ ทาเคชิ จิโนะ ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศญี่ปุ่นของ Binance และคณะกรรมการของสมาคมธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลญี่ปุ่น (Japan Cryptocurrency Business Association) กล่าวว่า “Stablecoin จะทำหน้าที่เป็นกาวเชื่อมระหว่างเศรษฐกิจจริงและเศรษฐกิจบล็อกเชน ด้วยกฎระเบียบของ Stablecoin ที่มีผลบังคับใช้เมื่อปีที่แล้ว เราคาดว่าจะเริ่มเห็นการปล่อยและแจกจ่าย Stablecoin ในประเทศญี่ปุ่นปีนี้ โดย Binance มีความมุ่งมั่นที่จะนำความเชี่ยวชาญของเรามาช่วยผลักดันการนำ Web3 มาใช้ในญี่ปุ่นต่อไป"
ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมา ฮ่องกงยังเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนในการเป็นศูนย์กลางคริปโตระดับโลก ผ่านการเน้นย้ำกรอบการกํากับดูแลที่ก้าวหน้า โดยอนุญาตให้มีการบริการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลแก่นักลงทุนรายย่อย ตามมาตรฐานของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Securities and Futures Commission)
ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม
จากกฎระเบียบที่เกี่ยวกับ Stablecoin ในญี่ปุ่น ทําให้คาดว่าความร่วมมือกันระหว่างพันธมิตรจะเพิ่มขึ้นในปี 2024 โดย Circle ผู้ออก USDC Stablecoin ได้ประกาศความร่วมมือกับ SBI Holdings กลุ่มการเงินขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นเพื่อหมุนเวียน USDC และบุกเบิกนวัตกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลในญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน บริษัท Mitsubishi UFJ Trust and Banking Corporation (MUTB) ได้ประกาศความร่วมมือกับ Binance Japan เพื่อศึกษาการออกเหรียญ Stablecoin ใหม่ผ่านการใช้แพลตฟอร์ม Progmat Coin
การดูแลระบบนิเวศบล็อกเชน
การที่ระบบนิเวศบล็อกเชนจะเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มต้นจากการยอมรับให้เกิดการใช้งานในวงกว้างจากผู้เล่นในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้มีเงินลงทุนไหลเข้าไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลัก รองรับการเติบโตในอนาคต ดังจะเห็นได้จากองค์กรต่างๆ เช่น Hashed ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ก่อตั้งและผู้สร้างนวัตกรรม Web3 ผ่านการเร่งการพัฒนาแอปพลิเคชันเกิดใหม่ อย่าง DeFi และเกม เพื่อขยายระบบนิเวศบล็อกเชน
ทั้งนี้ ในปี 2023 ได้เกิดความคืบหน้าทางกฎระเบียบที่สําคัญ โดยหน่วยงานกํากับดูแลและองค์กร Web3 ได้ร่วมกันเสนอแนวทางความร่วมมือเพื่อกำหนดข้อตกลงสำหรับอุตสาหกรรม Web3 โดยนายไรอัน คิม หุ้นส่วนของ Hashed ได้ประกาศว่าในปี 2024 Hashed จะให้ความสำคัญกับ Stablecoin DeFi เกม Web3 และตลาดทรัพย์สินทางปัญญา (IP) พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า “พวกเรามีความคิดเห็นร่วมกันว่าบล็อกเชนจะเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดในอนาคต โดยประเด็นสำคัญที่สุดที่พวกเราให้ความสนใจ คือ การเข้ามามีส่วนร่วมของสถาบันต่างๆ เพราะว่าขนาดของ Web3 จะได้รับการยกระดับขึ้นก็ต่อเมื่อผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมหรือ Web2 ก้าวเท้าเข้ามาสู่อุตสาหกรรม Web3 และนำความสามารถของตนมาสนับสนุนการปฏิวัติบล็อกเชน”