บริติช เคานซิล ดึงดีไซน์เนอร์อังกฤษ ปรับโฉมงานคราฟท์ชุมชน

08 ธ.ค. 2562 | 04:00 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ธ.ค. 2562 | 10:52 น.

บริติช เคานซิล ร่วมมือดีไซเนอร์อังกฤษ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพิ่มมูลค่างานหัตถกรรม และศักยภาพกลุ่มสตรีไทย หวังผลักดันให้เกิดการสร้างรายได้ที่ยั่งยืน พร้อมจัดนิทรรศการ “คราฟท์ติ้ง ฟิวเจอร์” แสดงผลงาน คอลเล็คชั่นชุดผ้าทอไทลื้อ คอลเล็คชั่นเครื่องใช้ และเครื่องประดับจักสานจากกลุ่มวานีตา วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม กลุ่มสตรีจากสามจังหวัดชายแดนใต้ ภายในเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ ที่หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 7 – 15 ธันวาคมนี้

บริติช เคานซิล ดึงดีไซน์เนอร์อังกฤษ ปรับโฉมงานคราฟท์ชุมชน

นายแอนดรูว์ กลาส ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย กล่าวว่า บริติช เคานซิล ได้เดินหน้าโครงการ “คราฟท์ติ้ง ฟิวเจอร์” โครงการด้านหัตถกรรมระดับสากล ที่มุ่งสร้างศักยภาพแก่ผู้หญิงที่ทำงานในภาคหัตถกรรม เพื่อให้มีความเป็นอยู่ทางสังคมและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และเพื่อฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรม ด้วยการสร้างโอกาสผ่านงานออกแบบและการพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมและธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ ซึ่ง คราฟท์ติ้ง ฟิวเจอร์ เป็นการทำงานในรูปแบบการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร ที่มีรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างคน 3 กลุ่ม คือ

บริติช เคานซิล ดึงดีไซน์เนอร์อังกฤษ ปรับโฉมงานคราฟท์ชุมชน

กลุ่มดีไซน์เนอร์-ผู้เชี่ยวชาญจากอังกฤษ กลุ่มชาวบ้านช่างฝีมือ และกลุ่มนักออกแบบชาวไทย ที่เริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการกับตลาด แต่ยังคงเอกลักษณ์หัตถกรรมของท้องถิ่นเอาไว้ การบริหารจัดการผลิต การทำการตลาด จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาแบบยั่งยืน

บริติช เคานซิล ดึงดีไซน์เนอร์อังกฤษ ปรับโฉมงานคราฟท์ชุมชน

ดร.พัชรวีร์ ตันประวัติ หัวหน้าฝ่ายศิลปะและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ บริติช เคานซิล ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ในเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ปีนี้ บริติช เคานซิล ได้ร่วมจัดนิทรรศการ “คราฟท์ติ้ง ฟิวเจอร์” แสดงผลงานของทั้ง 2 โปรเจกต์ที่ได้ทำมาตลอด 2 ปี ได้แก่ งานหัตถกรรมจักสานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวานีตา และงานหัตถกรรมผ้าไทลื้อ อ.ปัว จ.น่าน

บริติช เคานซิล ดึงดีไซน์เนอร์อังกฤษ ปรับโฉมงานคราฟท์ชุมชน

นอกจากขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว ยังได้อบรมแลกเปลี่ยนความรู้ในเชิงธุรกิจ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถประกอบธุรกิจงานหัตถกรรมได้อย่างประสบความสำเร็จและยั่งยืน โดยเริ่มตั้งแต่การสนับสนุนการใช้วัสดุท้องถิ่น การสื่อสารเรื่องราวเพื่อเพิ่มมูลค่าในผลงาน การเลือกใช้กระบวนผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งต่อองค์ความรู้หัตถกรรม ซึ่งการพัฒนากระบวนการคิดและการทำงานดังกล่าว จะทำให้ชาวบ้านในชุมชนที่มีทักษะหัตถกรรมสามารถสร้างรายได้ และสืบสานอัตลักษณ์ชุมชนได้อย่างยั่งยืน ดร.พัชรวีร์ กล่าวทิ้งท้าย

บริติช เคานซิล ดึงดีไซน์เนอร์อังกฤษ ปรับโฉมงานคราฟท์ชุมชน