“สมโภชน์ อาหุนัย” ตอบรับนายกฯ ทุ่มเงิน 250 ล้าน สู้โควิด

07 พ.ค. 2563 | 23:44 น.
อัปเดตล่าสุด :08 พ.ค. 2563 | 08:37 น.

“สมโภชน์” ตอบรับนายกฯ ทุ่มเงิน 250 ล้านช่วยเหลือประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ สู้โควิด

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ก่อนอื่น ผมขอขอบพระคุณท่านนายกรัฐมนตรีที่กรุณาให้เกียรติส่งจดหมายมาถึงผม ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ถือเป็นวิกฤตที่รุนแรงอีกครั้งหนึ่งของมนุษยชาติ ผมจึงขอเป็นกําลังใจให้แก่ท่านนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาล และทีมงานที่เข้มแข็ง พร้อมทั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ในภารกิจการนําพาประเทศไทยให้ก้าวข้ามผ่านวิกฤตในครั้งนี้ และขอยกย่องใน ความเสียสละ ทุ่มเทของบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดในประเทศไทยให้เป็นที่ชื่นชมในระดับต้นๆ ของโลก แต่จากการที่องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า สถานการณ์โควิด-19 จะยังคงอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้น ประเด็นที่ว่าเรา จะอยู่อย่างไรให้ปลอดภัย และสามารถลดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมให้น้อยที่สุดจึงเป็นสิ่งที่สําคัญมาก จนกว่าจะมี วัคซีนและยารักษาโรค

นับตั้งแต่ที่ทราบข่าวว่าพบผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563 ผมรู้สึกเป็นห่วงและ ได้ติดตามเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคอย่างใกล้ชิด ซึ่งในเวลานั้นสถานการณ์ค่อนข้างวิกฤตและยากที่จะคาดการณ์ได้ว่า การระบาดจะรุนแรงจนเกินความสามารถในการรองรับของระบบสาธารณสุขของประเทศหรือไม่ แล้วมีแนวโน้มจะสิ้นสุดอย่างไร ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วหรือไม่ ผมจึงได้พยายามคาดการณ์และประเมินสถานการณ์ในแต่ละกรณีตามแผนภาพ (รายละเอียดตาม เอกสารแนบ 1) โดยประเมินถึงสิ่งที่จําเป็นที่ประเทศไทยอาจจะขาดแคลนในแต่ละกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่จะส่งเสริมและ ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์พร้อมทั้งลดการติดเชื้อตั้งแต่ต้นทาง

ผมพบว่า ยังมีหลายสิ่งที่ต้องทําและเตรียมการอีกมากมาย ซึ่งอาจจะต้องมีการประสานงานเพื่อลดความซ้ําซ้อน เพื่อให้ เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้ริเริ่มชักชวนผู้ที่สนใจทุกภาคส่วนในสังคมที่มีความรู้ความสามารถ หลายด้านมาร่วมมือกัน โดยไม่หวังผลประโยชน์ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่อิงการเมือง ไม่วิพากษ์วิจารณ์ใคร มาร่วมกันทํางานอย่างโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ พร้อมเปิดรับแนวคิดที่เป็นประโยชน์ ไม่ทํางานซ้ำซ้อนกับโครงการอื่น ขณะเดียวกัน จะสนับสนุนและ ส่งเสริมโครงการดีๆ ที่มีผู้อื่นทําอยู่แล้ว และพร้อมที่จะสลายกลุ่มทันทีเมื่อวิกฤตผ่านพ้นไป โดยตั้งชื่อว่า “กลุ่มช่วยกัน”

ไม่ว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อ หรือแม้กระทั่งในกรณีเลวร้าย เกิดการติดเชื้อเป็นจํานวนมากเกินความสามารถของระบบ สาธารณสุขของประเทศ จึงมีความจําเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ประเทศไทยจะต้องเพิ่มขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขของ ประเทศ พร้อมทั้งต้องเพิ่มศักยภาพของคนไทยในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และที่สําคัญที่สุดคือ จะต้อง ค้นหาจุดสมดุลใหม่ ระหว่างการระงับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และการประคองเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้สังคมไทย ดําเนินต่อไปได้อย่างสงบเรียบร้อย

 

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เหตุการณ์การระบาดของโรคเริ่มลุกลามมากขึ้น อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จําเป็นเริ่มขาดแคลน การจัดซื้อจัดหาทําได้ลําบากขึ้นเรื่อยๆถึงแม้ว่าจะมีกําลังทรัพย์ก็ตาม ผมเกรงว่า หากสถานการณ์เลวร้ายลงไปกว่านี้ เราอาจจะ ไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์เหล่านั้นตามจํานวนที่ต้องการได้ทันเวลา ผมจึงได้เริ่มออกแบบ จัดหา และสั่งซื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์สําคัญ ที่มีในท้องตลาดในเวลานั้นเป็นการล่วงหน้า  เพื่อนํามาใช้โดยตรง หรือสามารถดัดแปลงและนํามา ติดตั้งง่ายๆ ในเวลาอันรวดเร็วโดยช่างติดตั้งทั่วไป อีกทั้งสามารถนําไปปรับใช้งานอื่นได้ภายหลังการระบาดสิ้นสุดลง

 

นอกเหนือจากนี้ ผมคิดว่าหากเรามองวิกฤตให้เป็นโอกาส วิกฤตครั้งนี้ก็อาจเป็นโอกาสสําคัญที่ประเทศไทยของเราจะ สามารถเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือด้านสาธารณสุขสําหรับใช้ในประเทศ เพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาวได้อีกด้วย สิ่งที่ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นมานั้น ผมยินดีเป็นอย่างยิ่ง หากผู้ใดสนใจนําไปพัฒนาต่อยอด

 

ผมขอเรียนรายงานท่านนายกรัฐมนตรี ทราบถึงสิ่งที่ได้ดําเนินการไปแล้ว สิ่งที่อยู่ระหว่างดําเนินการ และความคืบหน้าของ แผนงานในอนาคตดังต่อไปนี้ 

ส่วนที่ 1: เพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานให้บุคลากรทางการแพทย์ สิ่งที่ได้ดําเนินการไปแล้ว และสิ่งที่อยู่ระหว่างดําเนินการแผนงานในอนาคต 

ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อปรับปรุงห้องพักปกติ เช่นโรงแรม หรือ ร่วมจัดหาประกันที่มีวงเงินประกัน 25,000 ล้านบาท 

คอนโดมิเนียม ให้สามารถรองรับ กลุ่มผู้สงสัยติดเชื้อ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์จํานวน 50,000 คน 

ได้อย่างปลอดภัยจํานวน 1,000 ห้อง ติดตั้งอุปกรณ์ฆ่าเชื้อไวรัสในระบบปรับอากาศส่วนกลางให้กับ 

ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อให้เตียงเคลื่อนย้ายในโรงพยาบาล โรงพยาบาลจํานวน 5 แห่ง และกําลังจะเข้าไปดําเนินการอีก 8 แห่ง 

สามารถขนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อจํานวน 500 เตียง โดยมีเป้าหมายให้ครบ 100 แห่งภายใน 2 เดือน ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อปรับปรุงห้อง ICU ปกติให้เป็นห้องแรงดันสบ ผลิตหน้ากากแรงดันบวกเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ในการ จํานวน 50 เตียง โดยมีเป้าหมาย 1,000 เตียงภายใน 2 เดือน ป้องกันการติดเชื้อเวลาตรวจผู้ป่วยจํานวน 3,000 ชุด 

ผลิตตู้ฆ่าเชื้อ UVC เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ ของใช้ขนาดเล็ก ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อปรับปรุงห้อง Cohort ให้เป็นห้องแรงดันลบ 

รวมถึงช่วยฆ่าเชื้อหน้ากาก N95 และหน้ากากอนามัย จํานวน 1,000 เตียงภายใน 2 เดือน 

ให้กลับมาใช้ได้ใหม่จํานวน 1,000 ตู้ ปรับปรุงรถพยาบาลเพื่อให้สามารถขนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อได้ จัดหาเครื่อง RT-PCR พร้อมน้ํายาตรวจราคาถูก เพื่อให้สามารถ จํานวน 200 คันภายใน 2 เดือน 

ตรวจได้อย่างทั่วถึงให้ได้มากถึง 10,000 ตัวอย่างต่อวัน สนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการ วิจัยและผลิต แจกจ่ายชุดตรวจโควิดแบบรวดเร็วที่มีความแม่นยําสูง 

ผลิตเครื่องผลิตโอโซน จํานวน 500 เครื่อง จํานวน 6,000 ชุด 

ร่วมกับ สวทช. ทําวิจัยและพัฒนาสารเคลือบผิวสําหรับฆ่าเชื้อ ร่วมวิจัยและพัฒนาวัคซีนในการป้องกันโรคโควิด-19 

แบคทีเรียและไวรัสเพื่อลดการติดเชื้อ ส่วนที่ 2. เพิ่มศักยภาพในการป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้กับประชาชน สิ่งที่ได้ดําเนินการไปแล้วและสิ่งที่อยู่ระหว่างดําเนินการ 

แผนงานในอนาคต 

ผลิตหน้ากากแรงดันบวกเพื่อให้ประชาชนใช้ในการเดินทาง แจกจ่ายหน้ากากผ้าและหน้ากากอนามัยจํานวน 100,000 ชิ้น 

หรือเมื่อต้องเข้าไปอยู่ในที่มีคนหนาแน่นจํานวน 7,000 ชุด แจกจ่ายเจลแอลกอฮอล์จํานวน 50,000 ขวด 

ผลิตกล่องฆ่าเชื้อ UVC จํานวน 3,000 กล่อง แจกจ่ายเครื่องกรองอากาศที่ฆ่าเชื้อไวรัสได้จํานวน 2,500 เครื่อง ผลิตตู้ฆ่าเชื้อ UVC จํานวน 2,000 ตู้ 

ผลิตเครื่องผลิตโอโซน จํานวน 500 เครื่อง มูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 150,000,000 บาท 

มูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 100,000,000 บาท มูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 250,000,000 บาท

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ท้าทายที่สุดหลังจากที่เราเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานให้บุคลากรทางการแพทย์และเพิ่มศักยภาพใน การป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสให้กับประชาชนแล้วคือ การหาจุดสมดุลใหม่ของการระงับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และ การประคองเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อคืนการใช้ชีวิตของคนในสังคมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กลับสู่สภาวะปกติให้มากที่สุด และยังต้องป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดรอบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามีความจําเป็นที่จะต้องเปิดเมือง เปิดประเทศ จากการระดมสมองร่วมกับหน่วยงานหลายฝ่ายรวมถึง กลุ่มช่วยกัน กลุ่ม Code for Public, Blockfint และกลุ่มผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ อิสระที่มีความเชี่ยวชาญ จึงได้ร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า “หมอชนะ” โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิตอล (สพร.) กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สํานักงานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล (DEPA) บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) และบริษัทเอกชนอีกหลายแห่ง

 

แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 5) เป็นแอปพลิเคชันเพียงแอปพลิเคชัน (จากแอปพลิเคชั่นที่ ออกมามากกว่า 30 แอปพลิเคชันในขณะนี้) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการเปิดเมือง ทําให้ผู้ใช้ได้ทราบความเสี่ยงของตนเองจาก กิจกรรมและบุคคลที่ตนเองได้ใกล้ชิดในช่วงเวลา 14 วันที่ผ่านมา ซึ่งมีความแม่นยํามากกว่าการวัดอุณหภูมิร่างกายเพียงอย่างเดียว ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อจะต้องติดเชื้อมาช่วงระยะหนึ่งก่อนที่อาการไข้จะแสดงออกมา แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” มีจุดเด่นจากการนํา Bluetooth มาทํางานร่วมกับ GPS ทําให้สามารถติดตามได้ว่าผู้ใช้ได้เคยใกล้ชิดผู้ป่วยหรือได้เดินทางไปยังสถานที่ ที่มีความเสี่ยง และใกล้ชิดกับ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในระยะรัศมี 5 เมตร จึงทําให้สามารถคัดแยกผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อในวงที่แคบลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการรายงานผลเป็นค่าสีต่าง ๆ ในรูปของ Dynamic QR Code ผู้ใช้จะรู้ระดับความเสี่ยงของตัวเองและสามารถใช้แสดงตนก่อน เข้าไปยังสถานที่ต่างๆ และก่อนเข้ารับบริการทางการแพทย์ ทําให้บุคลากรการแพทย์ที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นและสามารถสอบสวน การติดโรคได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถรู้ระดับความเสี่ยงของสถานที่ก่อนที่จะเข้าสถานที่นั้นๆ (จากความหนาแน่นของ ผู้ที่เสี่ยงที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ ในขณะนั้น มากกว่านําข้อมูลการติดเชื้อในอดีตของพื้นที่นั้นมาแสดง ซึ่งไม่ได้บ่งบอกถึงความเสี่ยงของ พื้นที่นั้นๆอย่างแท้จริง) ทําให้ผู้ใช้แอปพลิเคชันระวังตัวและอาจจะตัดสินใจไม่เข้าไปในพื้นที่เสี่ยงนั้น อีกทั้งหากความเสี่ยงของผู้ใช้ แอปพลิเคชันเปลี่ยนไปจากการที่ผู้ที่เคยใกล้ชิดมีความเสี่ยงมากขึ้นหรือเกิดการติดเชื้อ แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ก็จะเตือนไปยัง ผู้ใช้โดยตรงทันที แอปพลิเคชันมีการเก็บข้อมูลเท่าที่มีความจําเป็นเท่านั้นและเป็นแบบไม่ระบุตัวตนเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว และมีความปลอดภัยภายใต้การดูแลข้อมูลของสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) ซึ่งข้อมูลถูกเก็บไว้เพียง 30 วัน และจะถูก ทําลายทิ้งเมื่อวิกฤตผ่านพ้นไป

 

อย่างไรก็ตาม การที่จะช่วยลดโอกาสการเกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ และควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคได้อย่างมี ประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เรากําลังจะเปิดเมือง จําเป็นต้องมีการผลักดันและเชิญชวนให้ประชาชนใช้แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ให้มีจํานวนมากเพียงพอ เพื่อให้แอปพลิเคชันมีข้อมูลที่จะเตือนผู้ใช้แอปพลิเคชันและสังคมได้อย่างแม่นยํา ผมจึงใคร่ขอนํา เรียนท่านนายกรัฐมนตรีพิจารณาออกมาตรการที่จูงใจอย่างเร่งด่วน เพื่อเชิญชวนให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ดาว์นโหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เพื่อนําไปใช้เป็นมาตรการชี้วัดความเสี่ยงและคัดกรอง เพิ่มเติมโดยการแสดง QR Code ในโทรศัพท์มือถือที่ใช้พกพาประจําตัวโดยเรียกว่า ellealth Passport หรือ COVID VISA ก่อนเข้าไป ยังสถานที่ราชการ สถานประกอบการ สถานศึกษา โรงพยาบาล ยานพาหนะในระบบขนส่งสาธารณะ ร้านค้า และสถานที่ชุมชนต่างๆ

โดยยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ หากท่านนายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่า มีแอปพลิเคชันอื่นที่ ทํางานได้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า หรือหากนํามาพัฒนาร่วมกันจะเกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ผมยินดีที่จะให้ความร่วมมือในทุกรูปแบบตามที่ได้กราบเรียนมาข้างต้น ผมในฐานะของประชาชนคนไทยคนหนึ่ง ขอใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ความเพียร และความมุ่งมั่นตั้งใจที่บริสุทธิ์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเข้ามาร่วมแก้ไขวิกฤตของประเทศในครั้งนี้ และ หวังว่าจะช่วยให้สามารถประคับประคองชีวิตของคนไทย ทําให้ฟันเฟืองเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมกลับมาดําเนินต่อไป

ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง หากท่านนายกรัฐมนตรีต้องการให้ผมนําเสนอรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงการร่วมมือกับ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาวิกฤตครั้งนี้ให้ผ่านพ้นโดยเร็ว