กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ออกมาโพสต์ข้อความว่า "ทะเลสมบูรณ์ วาฬ โลมา ก็พลอยสมบูรณ์ไปด้วย" เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก สำรวจสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ บริเวณอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก พบสัตว์ทะเลหายาก ๓ ชนิด คือ โลมาอิรวดี (lrrawaddy dolphin : Orcealla brevirostris) พบ ๓-๕ ตัว นอกฝั่งตะวันออกของจ.สมุทรสาคร ในระยะ ๓.๕ กม. โลมาหลังโหนก (Indo-Pacific humpback dolphin : Sousa Chinensis)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นัดดวลพรานเบ็ด"ตกปลาสายบุรี"มาแล้ว
รับแจ้งจากชาวประมง พบโลมาหลังโหนก ๒ ตัว ในบริเวณปากร่องน้ำแม่กลอง-บางตะบูน และ วาฬบรูด้า (Bryde’s Whale : Balaenoptera edeni) พบแพร่กระจายบริเวณนอกฝั่งตะวันออกและตะวันตกของ จ.สมุทรสาคร ระยะห่างฝั่ง ๑๕-๒๐ กม. ซึ่งส่วนใหญ่พบอาศัยหากิน และเลี้ยงลูก บริเวณทะเลเขตติดต่อกับกรุงเทพฯ ผลการตรวจสอบอัตลักษณ์ (Photo ID) พบวาฬบรูด้า ๕ ตัว เป็นคู่แม่ลูก ๒ คู่ ได้แก่ แม่สายชลและเจ้าสายฝน แม่ศรีสุขและเจ้าสีสัน และไม่ทราบชื่อ ๑ ตัว สัตวแพทย์ตรวจสุขภาพวาฬบรูด้าที่ระบุชื่อได้ทั้งสิ้น ๔ ตัว พบว่าทุกตัวมีการเคลื่อนไหว การทรงตัว คุณภาพและอัตราการหายใจปกติ และความสมบรูณ์ของร่างกาย (Body Condition Score: BCS) อยู่ในเกณฑ์ดี (ค่าเฉลี่ย BCS = ๒.๒๕) และพบรอยโรคบนผิวหนัง (Tattoo Skin disease: TSD) ทั้งหมด ๒ ตัว จะติดตามสุขภาพวาฬบรูด้าในอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตกต่อไป