17 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ตามมติคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบแผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ เน้นเป้าหมายเพิ่มประชากรพะยูน การดูแลพื้นที่อาศัยของพะยูน การจัดการท่องเที่ยว/ประมงเพื่อลดการรบกวนพะยูน การจัดตั้งศูนย์ช่วยชีวิต การสร้างพิพิธภัณฑ์สัตว์หายากและศูนย์เรียนรู้ฯ และการรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์พะยูน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ปรับมุมมอง’ แก้วิกฤติขยะทะเลไทย
ซึ่งวันนี้ 17 สิงหาคมตรงกับวันเสียชีวิตของน้องมาเรียม เพื่อระลึกถึงการจากไปของมาเรียมและการรณรงค์เรื่องขยะทะเลและสัตว์หายาก คณะกรรมการนดยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ จีงมีมติให้เป็น "วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ"
ก่อนหน้านี้ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ทำหน้าที่ประธาน ณ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เห็นชอบแผนมาเรียมโปรเจกต์ โดยจะเสนอให้วันที่ 17 สิงหาคม เป็น “วันพะยูนแห่งชาติ” ซึ่งตรงกับวันเสียชีวิตของน้องมาเรียม เพื่อระลึกถึงการจากไปของมาเรียมและการรณรงค์เรื่องขยะทะเลและสัตว์หายาก
สำหรับแผนพะยูนแห่งชาติ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ประเด็นแรก ช่วยพะยูนให้ได้โดยวางเป้าหมายต้องมีพะยูนเพิ่มขึ้น 50% ภายใน 10 ปี โดยปัจจุบันมี 250 ตัว เป้าคือ 375 ตัว แม้เป็นเรื่องท้าทาย แต่น่าจะทำได้ หากได้รับการสนับสนุนที่ดีพอ ทั้งเรื่องการวิจัยพะยูน การยกระดับการดูแลรักษา เครื่องมือ อุปกรณ์ สัตวแพทย์ สถานที่ เครือข่าย ฯลฯ
.
ประเด็นที่สอง พะยูนโมเดล “พะยูนอยู่ได้ ชาวบ้านอยู่ดี ทะเลมีความสุข” เป้าหมายคือจะลดอัตราตายของพะยูนที่เกิดจากเครื่องมือประมง ซึ่งปัจจุบันเป็นสาเหตุการตายของพะยูน 90% โดยจะลดลงครึ่งหนึ่ง หรือเหลือแค่ 45% สำหรับทั้งประเทศ แต่อุทยานฯ ขอตั้งเป้าให้มากกว่านั้น โดยจะลดให้เหลือ 20%
สำหรับสถานการณ์พะยูนในปัจจุบัน พะยูนในไทยมี 250 ตัว อยู่แถว จ.ตรัง กระบี่ 200 ตัว ที่เหลือกระจายตามพื้นที่ต่างๆ ปรกติเสียชีวิต 10-12 ตัวต่อปี สาเหตุหลัก 90% คือเครื่องมือประมง ในปีนี้เกยตื้น 16 ตัว เสียชีวิต 15 ตัว เหลือน้องยามีล 1 ตัว
นอกจากนี้ วิธีการของพะยูนโมเดล คือแผน 1+11 หนึ่งคือพื้นที่นำร่อง ปัจจุบันมีอยู่แล้ว นั่นคือเกาะลิบงที่ช่วยกันจนสำเร็จในระดับหนึ่ง จะขยายผลจาก 1 ไปสู่ 11 พื้นที่ รวมกันเป็น 12 พื้นที่ 11 พื้นที่ดังกล่าวมีทั่วไทย เช่น เกาะพระทอง อ่าวบ้านดอน ปากน้ำประแสร์ ฯลฯ เป็นพื้นที่มีหญ้าทะเลหนาแน่น มีรายงานพะยูนเป็นระยะ