วันที่ 21 สิงหาคม 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.แถลงตอนหนึ่งถึงความคืบหน้าการพัฒนาและผลิตวัคซีนโควิด-19 ว่า ขณะนี้การดำเนินงานของไทยยังอยู่ในขั้นก่อนการทดสอบในมนุษย์ ขณะที่หลายประเทศ เช่น อังกฤษ, รัสเซีย, จีน, เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ได้เข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบในมนุษย์แล้ว อย่างไรก็ดี ประเทศไทยได้วางแนวทางการดำเนินงานในเรื่องของวัคซีนไว้ ดังนี้ 1.เตรียมการผลิตโดยรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตต่างประเทศ 2.การสั่งซื้อ/จองวัคซีนจากผู้ผลิตทุกแหล่งที่เป็นไปได้ 3.สนับสนุนการวิจัยในประเทศและร่วมมือกับต่างประเทศ
ทั้งนี้ คาดว่าประเทศไทยจะได้วัคซีนสำหรับเริ่มทดสอบในมนุษย์ 10,000 โดสแรกในช่วงเดือนพ.ย.63-ม.ค.64 และจะได้ผลการทดสอบวัคซีนในมนุษย์ระยะที่ 1/2 ในช่วงกลางปี 64 ซึ่งหากประสบผลสำเร็จในการทดสอบและได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว คาดว่าไทยจะสามารถผลิตวัคซีนใช้เองในประเทศได้ราวต้นปี 65
ความคืบหน้าการพัฒนาและผลิตวัคซีนโควิด-19
1.เตรียมการผลิต โดยรับถ่ายทอดเทคโนโลยี จากผู้ผลิตต่างประเทศ
- ได้เตรียมการและหารือเงื่อนไขและรายละเอียดต่างๆ ในส่วนของเทคนิคระหว่างบริษัทของไทยและบริษัทต่างประเทศ
-สนับสนุนงบประมาณให้กับผู้ผลิตของไทยเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการเตรียมโรงงาน
-ประมาณการจํานวนวัคซีนที่จะต้องใช้ รวมถึงระยะเวลาและแหล่ง งบประมาณเพื่อจัดหาวัคซีนที่ผลิตได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พร้อมขนาดไหน? ถ้าไทยต้องซื้อวัคซีนโควิด-19(มีคลิป)
รัสเซียเตรียมทดลองวัคซีนโควิด-19 เฟส 3
"จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน" เตรียมทดลองวัคซีนโควิดเฟส 3
ส.ค.2563 สรุปผลเงื่อนไขต่างๆระหว่างบริษัทของไทยและบริษัทต่างประเทศ
ตค.25623 เตรียมเทคโนโลยีและโรงงานผลิต
มี.ค.2564 คาดว่าจะได้วัคซีนจํานวนหนึ่ง
มิ.ย.2564 มีวัคซีนเพียงพอสําหรับประชากรจํานวนมาก
2.สั่งซื้อ/จองวัคซีนจาก ผู้ผลิตจากทุกแหล่ง ที่เป็นไปได้
2.1 เข้าร่วมกลใกลงทุนจองซื้อวัคซีนในระดับพหุภาคี เช่น โครงการ COVAX ของกองทุน GAVI และ WHO ซึ่งมีประเทศที่แสดงความจํานง เข้าร่วมมากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก เพื่อสนับสนุนงบประมาณให้กับ 7-9 บริษัทที่พัฒนาวัคซีนได้กัาวหน้าเร็วที่สุด
2.2 การเจรจาในระดับทวิภาดี เช่น กับประเทศจีน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย หรืออื่นๆ
ส.ค.2563 แสดงความจํานงเข้าร่วมกับองค์การอนามัยโลก
ก.ย.2563 เตรียมงบประมาณเพื่อร่วมโครงการ
ก.ค.-ธ.ค.2564 ได้รับวัคซีน
3.สนับสนุนการวิจัย ในประเทศและร่วมมือกับต่างประเทศ
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเร็วที่สุดขณะนี้ คือ เทคโนโลยี mRNA ที่พัฒนาโดย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ขอรับสนับสนุนงบประมาณ การวิจัย 400 ล้านบาท
พ.ย.2563-ม.ค.2564 ได้วัคซีนสําหรับทดสอบ 10,000 โดสแรก เริ่มทดสอบในมนุษย์
มิ.ย.2564 ได้ผลการทดสอบใน มนุษย์ระยะที่ ½
ก.ย.2564 • ประเมินเปรียบเทียบกับวัคซีน mRNA ที่ผ่านระยะที่ 3
• ขอขึ้นทะเบียน Emergency Use
ม.ค.2565 ผลิตวัคซีนในประเทศ
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา วช. กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม