หอการค้าระนอง เวิร์กช็อปใหญ่ รื้อแผนพัฒนาจังหวัดของภาคเอกชนใหม่รับโควิดภิวัตน์ ปรับ 3 ยุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อเสนอประกอบการจัดทำยุทธศาสตร์จังหวัด 5 ปี (2564-2569) ฉบับใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 หอการค้าจังหวัดระนอง นายธีนระพล ชลิศราพงศ์ ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง ประธานที่ประชุม นอกจากรายงานภาพรวมโครงการพัฒนาสำคัญ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดแล้ว ช่วงท้ายการประชุมนายธีระพล เสนอให้เร่งรัดจัดทำยุทธ ศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี (2565-2569) ของหอการค้าระนอง เพื่อเสนอจังหวัดใช้ร่วมพิจารณาจัดทำยุทธศาสตร์จังหวัดต่อไป
จากการระบาดเชื้อโควิด -19 ที่่ส่งผลกระทบรุนแรงกว้างขวาง ภาคเอกชนโดยหอการค้าจังหวัดระนอง จึงเร่งจัดทำยุทธ ศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปีฉบับใหม่หลังวิกฤติโควิด-19 ที่ต้องปรับเปลี่ยนการขับเคลื่อนงานในแต่ละส่วน เนื่องจากหลังโควิด -19 ปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนไปไม่เหมือน เดิมอีกแล้ว โดยจะมีการประชุมเชิงปฎิบัติการ (WORK SHOP) ร่วมกันใน 3 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย การค้าลงทุน เกษตรและอาหาร และด้านการท่องเที่ยว ซึ่งจะต้องสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางการพัฒนาของจังหวัดระนอง ที่กำหนดเป้าหมายเป็น “เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย”
ส่วนประเด็นการพัฒนาของจังหวัดประกอบด้วย 4 ด้านสำคัญ 1.ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวและบริการสุขภาพเชื่อมโยงในอาเซียน 2.ส่งเสริมภาคการเกษตรครบวงจร 3.เสริมสร้างความมั่นคง ปลอดภัย และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน 4.ส่งเสริมและพัฒนาการค้า การลงทุน และการค้าชายแดน
นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า หลังจากที่การทำ WORK SHOP ของคณะกรรมการหอการค้า โดยเริ่มจากการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ในแต่ละยุทธศาสตร์ใน 3 ส่วนคือ ด้านการลงทุน ด้านการเกษตร และด้านการท่องเที่ยว ก็จะเร่งนำส่งแผนงานยุทธศาสตร์ของภาคเอกชนไปยังจังหวัดเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้กับจังหวัดในการนำไปประกอบใช้ทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดระนองฉบับใหม่ (2565-2569) ต่อไป ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือต้องเป็นแผนพัฒนาที่เน้นสู่ความยั่งยืน
นายพรศักดิ์ แก้วถาวร เลขาธิการหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า ผลกระทบจากโควิด-19 ยังไม่มีตัวเลขชัดเจนว่าแต่ละส่วนหายไปมากน้อยเพียงใด และสถานการณ์เปลี่ยนไปจากนี้จะไม่เหมือนเดิม จึงต้องจัดทำยุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อต้องการรักษาความมั่งคั่งหรือขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจระนอง ต้องกลับมาวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคต่างๆ ในแต่ละด้าน เพื่อที่จะจัดทำแผนพัฒนาเชิงรุกที่สอดคล้องกับสถาน การณ์ความเปลี่ยนแปลงต่อไป
ส่วนประเด็นการพัฒนาในยุทธศาสตร์ต่อเนื่องที่ต้องขับเคลื่อนต่อไป ประกอบด้วย โครงการรถไฟสายระนอง-ชุมพร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม คาดจะเห็นชัดเจนในปี 2568 ซึ่งจะส่งผลดีต่อโครงข่ายการขนส่งสินค้าระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน และเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารได้อีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่หอการค้าได้ร่วมผลักดันมาโดยตลอด
รวมถึงโครงการถนน 4 ช่องทางจราจร การผลักดันใช้ประโยชน์ท่าเรือประภาคารเพื่อการพาณิชย์ และการท่องเที่ยว การแก้ไขปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิที่ดินที่ย่านพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดระนอง ที่ยังเป็นปัญหาอุปสรรคสำคัญ ที่ส่งผลให้ไม่สามารถเดินหน้าพัฒนาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ การใช้ประโยชน์จากท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวท่าเรือต้นสน ที่สามารถรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยวทางทะเลได้ และโครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนกาแฟสู่ความยั่งยืนของจังหวัดระนอง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ร้องปลดล็อกที่ดิน ระนอง ย่านธุรกิจทับป่าชายเลน
ระนองอัดอีเวนต์กีฬาฟื้นท่องเที่ยว ปักหมุดงาน“โต้คลื่นเกาะพยาม”
CIVIL คว้างานปรับปรุงสนามบินระนอง
‘ระนอง’เฮ เมียนมาเตรียม ‘ทราเวลบับเบิล’ จุดประกายฟื้นเที่ยวเกาะอันดามัน “ลำปาง-ลำพูน”จับมือบูม