สรุปเส้นทางพายุ "โนอึล (NOUL)"
เส้นทางเดินพายุ วันที่ 17-19 กันยายน 2563
เวลา 21.00 น. ล่าสุดกรมอุตุฯรายงานว่า ศูนย์กลางอยู่บริเวณ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ละติจุด 15.8 องศาเหนือ ลองจิจุด 103.2 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกด้วยความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านแนวจังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น และ ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก
กรมอุตุฯรายงานว่า ณ เวลา 19.00 น. ศูนย์กลางอยู่บริเวณ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ละติจุด 16.2 องศาเหนือ ลองจิจุด 103.7 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านแนวจังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น และ ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก
เมื่อเวลา 18.09 น. กรมอุตุนิยมวิทยาเผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียม พายุโซนร้อนโนอึล ณ เวลา 17.00 น. วันที่ 18 กันยายน 2563 มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
พายุโซนร้อนโนอึล มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุเกือบไม่เคลื่อนที่ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านแนวจังหวัดกาฬสินธ์ ร้อยเอ็ด และ ขอนแก่น และชัยภูมิ ตามลำดับต่อไป
กรมอุตุฯรายงานว่า ณ เวลา 18.00 น. ศูนย์กลางอยู่บริเวณ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ละติจุด 16.1 องศาเหนือ ลองจิจุด 104.0 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านแนวจังหวัด กาฬสินธ์ มหาสารคาม ขอนแก่น และ ชัยภูมิ
กรมอุตุฯยังออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 18 กันยายน 2563 ระบุ "พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “โนอึล” (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 20 กันยายน 2563)"
เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (18 ก.ย. 2563) พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “โนอึล” ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญแล้ว หรือที่ละติจูด 15.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 104.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ
คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) ในระยะต่อไป ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่กับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ และระวังอันตรายจากลมแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย
คาดว่าพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
ในช่วงวันที่ 18-19 กันยายน 2563 บริเวณที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก
วันที่ 20 กันยายน 2563 บริเวณที่มีฝนตกหนัก
สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนบน และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร อ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวัง และควรงดการเดินเรือจนถึงวันที่ 20 กันยายน 2563
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 17.00 น.
กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไป ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 23.00 น.