นางสาววิภาวี วัชรากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วัชมนฟู้ด จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายผลไม้เกรดพรีเมียมอันดับชั้นนำของประเทศไทย หนึ่งในเอสเอ็มอีไทยที่เข้าร่วมโครงการ SBTP ในปีที่ 2 เปิดเผยถึงจุดเปลี่ยนที่ทำให้บริษัทเกิดแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ธุรกิจดิจิทัล เกิดจากยอดขายที่เติบโตขึ้นสิบเท่าจาก 200 ล้านสู่ 2,500 ล้านในช่วงสิบปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2550-2562) ทำให้ระบบการทำงานแบบเดิมไม่สอดคล้องกับการเติบโต โดยหลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการ SBTP เข้าร่วมเวิรคชอปกับทีมงานยูโอบีและเดอะ ฟินแล็บ (The FinLab)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยูโอบีติดอาวุธดิจิทัล “เอสเอ็มอี”
ยูโอบี ลงทุนธีม Education Technology รายแรกในไทย
ประกันสังคมจับมือ”เอ็กซิม-ยูโอบี”ปล่อยกู้ดอกถูกรักษาการจ้างงาน
เหตุผลที่บริษัทต้องปรับใช้ดิจิทัลโซลูชัน มีด้วยกัน 3 เหตุผล คือ 1. ต้องการลดทอนความล่าช้าของระบบการทำงานในส่วนสำนักงาน อาทิ ออเดอร์สินค้า เอกสารใบสั่งซื้อ ซึ่งเดิมใช้ระบบ manual ทำให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ง่ายจึงต้องการปรับเปลี่ยน 2.แนวคิดคนทำงาน เพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาอำนวยความสะดวกให้มากขึ้น และ 3. ต้องการบริหารจัดการข้อมูลธุรกิจที่มาจากหลายๆ ทางให้มีระบบบ สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อสร้างแต้มต่อทางด้านการแข่งขันและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
นาวสาวสิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส ด้าน Digital Engagement & FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี (ไทย) และ นางสาววิภาวี วัชรากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วัชมนฟู้ด จำกัด
"ผลลัพธ์ที่เห็นประโยชน์ได้อย่างชัดเจนหลังเข้าร่วมโครงการ SBTP ในปีนี้คือ ด้วยวิกฤตของข้อจำกัดโควิด-19 ทำให้ช่องทางการนำเข้าและจัดจำหน่ายของเราเกิดข้อจำกัด เป็นเหตุและผลที่บริษัทต้องเพิ่มช่องทางการขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้ก่อตั้งบริษัท เฟรช ลิฟวิ่ง ขึ้นเพื่อเปิดช่องทางสื่อสาร นำเสนอสินค้า สร้างการซื้อขายกับผู้บริโภคเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งด้วยระยะเวลาที่รวดเร็ว ทางยูโอบี ได้แนะนำดิจิทัลโซลูชัน UOB BizSmart ระบบบริหารจัดการธุรกิจเป็น ERP ขนาดที่เหมาะสมกับองค์กร ร่วมด้วยเทคโนโลยี ZWIZ.AI หรือ chat bot อัตโนมัติ ตัวช่วยการขาย ตอบคำถามนำเสนอและปิดยอดขายได้ทันที ทำให้ยอดขายของเฟรช ลิฟวิ่ง ในช่วง1-2 เดือนที่ผ่านมาจาก 2 แสนบาทเพิ่มเป็น 2 ล้านบาทเกินกว่าความคาดหมายอย่างยิ่ง ในขณะเดียวกับที่ เฟรช ลิฟวิ่ง ยังได้รับเงินทุนสนับสนุนจากโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี จาก ITAP ที่ดำเนินงานภายใต้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หนึ่งในพันธมิตรของยูโอบีในการดำเนินโครงการ SBTP ในฐานะ start up ซี่งเป็นผลสำเร็จได้จากการแนะนำและติดต่อจากทางยูโอบีเช่นกัน”
ขณะที่นางสาวสิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส ด้าน Digital Engagement & FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวต่อถึง การให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะและการทำงานร่วมกับ วัชมนฟู้ด ว่า เราต้องพิจารณา business model และความต้องการทางธุรกิจของวัชมนฟู้ดเพื่อให้คำแนะนำด้านเทคโนโลยีและโซลูชันได้ตรงจุด อย่างเช่น เฟรช ลิฟวิ่ง เป็นช่องทาง e-commerce ที่เข้ามาต่อยอดธุรกิจ เพิ่มช่องทางการซื้อขายวัตถุดิบตรงกับร้านอาหาร มีความต้องการระบบการจัดการที่รวดเร็ว ช่วยนำเสนอสินค้าและบริการได้อย่างทันท่วงที ต้องการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ก็สามารถใช้โซลูชันที่ไม่ซับซ้อน เรียนรู้ง่ายและนำไปใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่วัชมน ด้วยขนาดองค์กรที่ใหญ่และมีความซ้ำซ้อนในระบบงาน ดิจิทัลเทคโนโลยีที่ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งทางบริษัทฯ เองก็ได้เห็นสอดคล้องกันนั่นคือการติดตั้งระบบ SAP ERP ซึ่งเมื่อการติดตั้งแล้วเสร็จในต้นปีหน้าจะเป็นการเพิ่มโอกาสและศักยภาพองค์กรของวัชมนฟู้ดให้สามารถขยายธุรกิจออกไปได้ในระดับภูมิภาคได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงยังเปิดโอกาสทางธุรกิจในการแง่มุมของการหาพันธมิตรร่วมค้าได้อีกด้วย
ขณะเดียวกันสำหรับ เอสเอ็มอี ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการเพื่อสร้างแต้มต่อทางธุรกิจด้วยการใช้ ดิจิทัลเทคโนโลยีและมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนถ่ายธุรกิจ ในโครงการปีที่ 2 นี้ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้นด้วยการนำโครงการ SBTP เข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ภายใต้ชื่อ เดอะ ฟินแล็บ ออนไลน์ (The FinLab Online) ที่จะช่วยให้เอสเอ็มอี ไทย ทั่วทุกภูมิภาคสามารถเข้าถึงโปรแกรมการปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ดิจิทัลนี้ได้อย่างง่ายดาย