คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. สรุปสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 11 ตุลาคม 2563
เนื้อหาในรายงานสรุปว่า นับจากวันที่ 11 ตุลาคม 2563 เหลืออีก 21 วัน จะสิ้นสุดฤดูฝน ขณะที่ปริมาณน้ำใช้การของ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำรวม 5,225 ล้านลูกบาศก์เมตร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กด่วน “พยากรณ์อากาศ” 11-12 ต.ค. 63 ทุกภาครับมือฝนตกหนัก
ด่วน“เพชรบุรี” ประกาศเตือนปชช.ขนย้ายสิ่งของหนีน้ำท่วม ภายในบ่ายวันนี้
ประมาณการความต้องการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งและช่วงต้นฤดูฝนของปี 2564 เพื่อการอุปโภค-บริโภค การเกษตรและระบบนิเวศ จำนวน 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ต้องการน้ำเก็บกักเพิ่ม 6,775 ล้านลูกบาศก์เมตร
นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุ “สรุปสถานการณ์เฝ้าระวัง” ว่า
เฝ้าระวัง
- ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ประกอบพายุโซนร้อน “หลิ่นฟา” ที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้และจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งของประเทศเวียดนาม ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้
รวมไปถึงด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
เฝ้าระวัง
- ปริมาณน้้าไหลลงเขื่อนในภาคตะวันออกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเขื่อนที่มีน้้ามากอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ได้แก่เขื่อนหนองปลาไหล (ร้อยละ 102) และเขื่อนขุนด่านปราการชล (ร้อยละ 97)
เฝ้าระวัง
- คลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีก้าลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร ส่วนอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร
สรุปสถานการณ์ ปัจจุบัน
พายุ พายุโซนร้อน “หลิ่นฟา” ได้ก่อตัวขึ้นบริเวณทะเลจีนใต้ มีแนวโน้มทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือ โดยจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งของประเทศเวียดนาม
กลุ่มเมฆ มีกลุ่มเมฆฝนปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้
ปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักบริเวณ
- จังหวัดจันทบุรี 116 มิลลิเมตร
- พังงา 100 มิลลิเมตร
- ตรัง 85 มิลลิเมตร
- ตราด 79 มิลลิเมตร
- สตูล 74 มิลลิเมตร
- สุราษฎร์ธานี 67 มิลลิเมตร
- ภูเก็ต 62 มิลลิเมตร
- ประจวบคีรีขันธ์ 60 มิลลิเมตร
- สระแก้ว 58 มิลลิเมตร
- ราชบุรี 51 มิลลิเมตร
- พัทลุง 45 มิลลิเมตร
- กระบี่ 44 มิลลิเมตร
- กรุงเทพมหานคร 40 มิลลิเมตร
- นราธิวาส 39 มิลลิเมตร
- สมุทรสาคร 39 มิลลิเมตร
- สงขลา 37 มิลลิเมตร
- ยะลา 36 มิลลิเมตร
- ฉะเชิงเทรา 35 มิลลิเมตร
ปริมาณน้้าในอ่างเก็บน้้าขนาดใหญ่ 35 แห่งทั่วประเทศ อ่างเก็บนน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศมีปริมาณน น้ำกักเก็บคงเหลือ 39,659 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 56% ของความจุ โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การ 16,116 ล้านลูกบาศก์เมตร
ระดับน้้าในแม่น้้าสายส้าคัญระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักในภาคเหนือมีระดับน้้าน้อยถึงระดับน้้าปานกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางมีระดับน้้าปานกลางถึง
ระดับน้้ามาก และอาจมีน้้าล้นตลิ่งต่้าบริเวณปากแม่น้้าในช่วงน้้าทะเลหนุนสูง ส่วนภาคใต้มีระดับน้้าน้อยถึงระดับน้้าปานกลาง และมีน้้าล้นตลิ่งบริเวณดังต่อไปนี้
- บริเวณคลองเกรียงไกร ต.บางเคียน อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ โดยมีแนวโน้มระดับน้้าลดลง
- บริเวณคลองสองพี่น้อง ต.สองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี โดยมีแนวโน้มระดับน้้าทรงตัว
- บริเวณแม่น้้าท่าจีน ต.บางตาเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี โดยมีแนวโน้มระดับน้้าทรงตัว
- บริเวณคลองชี ต.เขาวิเศษ อ.วังวิเศษ จ.ตรัง โดยมีแนวโน้มระดับน้้าเพิ่มสูงขึ้น
- บริเวณคลองละงู ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล โดยมีแนวโน้มระดับน้้าเพิ่มสูงขึ้น
- บริเวณฉลุง ต.ฉลุง อ.เมืองสตูล จ.สตูล โดยมีแนวโน้มระดับน้้าทรงตัว
สรุปคาดการณ์
คาดการณ์ฝน
- ช่วงวันที่ 11–13 ต.ค. 63 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ประกอบพายุโซนร้อน “หลิ่นฟา” ที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้และจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งของประเทศเวียดนาม ท้าให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนล่างยังคงมีก้าลังแรง
ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ รวมไปถึงด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
- ช่วงวันที่ 14-17 ต.ค. 63 ร่องมรสุมขึ้นไปพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนล่างมีก้าลังอ่อนลง ส่งผลให้ประเทศไทยตอนล่างมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักได้ในบางแห่ง ส่วนประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้น
คาดการณ์คลื่น
- ช่วงวันที่ 11–13 ต.ค. 63 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันมีกำลังแรง ส่งผลให้คลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยมี ก้าลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร ส่วนอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร