ต้องไม่พลาด ชมปรากฎการณ์ "ดาวเคียงเดือน-ดาวเคราะห์ชุมนุม" 6 โมงเย็นวันนี้

19 พ.ย. 2563 | 07:41 น.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชม ปรากฏการณ์ "ดาวเคียงเดือน-ดาวเคราะห์ชุมนุม" สังเกตเห็นได้หลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในเวลา 18.40 น. เป็นต้นไป

19 พฤศจิกายน 2563 เพจสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เปิดเผยว่า คืนนี้จะเกิดปรากฏการณ์ “ดาวเคียงเดือน” ดาวพฤหัสบดีปรากฏเคียงดวงจันทร์ ใกล้กันมากที่สุด 3 องศาในเวลา 18.40 น.

 

นอกจากนี้ ยังมีดาวเสาร์ปรากฏเคียงดวงจันทร์เช่นกัน ห่าง 4.2 องศา และในขณะเดียวกันดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ปรากฏบนท้องฟ้าห่างกัน 3.2 องศา เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ดาวเคราะห์ชุมนุม” โดยสามารถสังเกตได้หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นต้นไป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) จนถึงเวลาประมาณ 21.00 น.
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธ.ก.ส.เปิด8ขั้นตอนลงทะเบียน BAAC Connect แจ้งเตือนเงินประกันรายได้ข้าว

"อนุทิน" ผลักดัน นโยบายกัญชา 6 ต้น-สร้างเศรษฐกิจชุมชุน

วิทยุการบิน เผย "สนามบินเชียงใหม่" ติดท็อปเที่ยวบินเปิดบริการมากสุด

ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเตือนภัยโควิดขั้นสูงสุด หลังยอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันพุ่งทำลายสถิติ

 

สำหรับ ดาวเคราะห์ชุมนุม หมายถึง ดาวเคราะห์ตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไปปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้าที่ระยะห่างเชิงมุม 1-5 องศา (การวัดระยะเชิงมุมบนท้องฟ้า ชูนิ้วก้อยเหยียดแขนให้สุดขึ้นบนท้องฟ้า ระยะ 1 องศา จะห่างกันประมาณ 1 นิ้วก้อย)

 

 

ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ “ดาวเคียงเดือน” และ “ดาวเคราะห์ชุมนุม” ถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์หนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องจากดวงจันทร์และดาวเคราะห์เปลี่ยนตำแหน่งบนท้องฟ้าไปเรื่อยๆ ตามแนวสุริยะวิถี  

ดังนั้น การที่ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ปรากฏบนท้องฟ้าในทิศเดียวกัน หรือเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกันจึงถือเป็นเรื่องปกติ ที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์