19 มกราคม 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” ว่า วัคซีนโควิด-19 (covid-19) ทำไมจึงฉีดให้กลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ และ บุคลากรทางการแพทย์ก่อน
ทำไมจึงไม่ถึงให้คนหนุ่มสาว วัยแรงงานที่พบการระบาด การแพร่ระบาดของโรค เป็นจำนวนมาก จะได้ลดการแพร่กระจายของโรค ไม่ให้ไปติดผู้สูงอายุ
การพัฒนาวัคซีนมาจนถึงปัจจุบัน มีหลักฐานอย่างชัดเจนว่า สามารถลดความรุนแรงของโรค และลดการตายจากโรค ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะบอกว่า วัคซีนสามารถป้องกันการติดโรค โดยเฉพาะการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ แต่มีข้อมูลชัดเจนว่าลดความรุนแรง และลดอัตราการตาย
การให้ในวัยแรงงานที่พบมีผู้ป่วยจำนวนมาก ยังไม่มีบทพิสูจน์ที่จะลดการแพร่กระจาย เมื่อได้รับวัคซีนในกลุ่มนี้ อาจมีการติดเชื้อแบบไม่มีอาการก็ยังสามารถแพร่กระจายโรคได้อยู่ดี
ดังนั้น ในวัยแรงงานเมื่อป่วยเป็นโรค โอกาสเสียชีวิตน้อยมาก
การให้วัคซีนในกลุ่มนี้ก็ยังไม่มีหลักประกันว่าจะลดการติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ เมื่อเกิดขึ้น ก็ยังสามารถแพร่กระจายโรคได้ จึงมีเหตุผลที่ให้ในกลุ่มเสี่ยงสูง และบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าก่อน เพื่อไม่ให้ป่วยและเสียชีวิต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยอดโควิด 19 ม.ค.64 ทั่วโลกผู้ป่วยเพิ่ม 4.45 แสนราย รวม 95.96 ล้านราย
โควิด-19 ระลอกใหม่ “สงขลา” ติดเชื้อเพิ่ม 2 ราย
อัพเดทไทม์ไลน์"ผู้ติดเชื้อโควิด"กทม.ตรวจสอบเพิ่มอีก 27 ราย
ศิริราชเตรียมแถลงหลังพบบุคลากรติดเชื้อโควิด-19
เปิดรายชื่อ 16 จังหวัดยังไม่พบ"ผู้ติดเชื้อโควิด-19" ระลอกใหม่