จากกรณี สมาคมคราฟต์เบียร์ประเทศไทย และผู้ประกอบการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายย่อย เข้ายื่นหนังสือต่อกับกระทรวงสาธารณสุข วานนี้ (1 กุมภาพันธ์ ) เพื่อขอผ่อนปรนให้สามารถขายแอลกอฮอล์เพื่อบริโภคในร้านค้าได้ หลังให้ข้อมูลว่า เนื่องด้วยคำสั่งของกรุงเทพมหานครในการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อการบริโภคภายใน ร้านอาหารและบาร์
ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการร้านอาหารและบาร์อย่างรุนแรง ไม่น้อยกว่า 300 ร้าน และมีผู้ได้รับผลกระทบไม่ต่ำกว่า 5,000 ราย ประมาณการมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นมูลค่าประมาณ 150 ล้านบาทต่อเดือนนั้น จึงขอเสนอให้รัฐบาล ออกมาตรการเพื่อบรรเทาและเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ระหว่างช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ดังต่อไปนี้
1) ผ่อนปรนให้สามารถขายแอลกอฮอล์เพื่อบริโภคในร้านค้าได้ โดยมีมาตรการคัดกรองอย่างเข้มข้นตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข
2) ผ่อนปรนการบังคับใช้กฎหมาย ห้ามเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ โดยอนุญาตให้ร้านค้าสามารถจำหน่ายเบียร์สดลงในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก เพื่อให้ลูกค้านำกลับไปบริโภคที่บ้านได้
3.) ชะลอการบังคับใช้กฎหมายห้ามซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอออล์ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ร้านค้าสามารถจำหน่ายสินค้าทางช่องทางออนไลน์ โดยยังบังคับให้ผู้ขายต้องตรวจสอบอายุของผู้ซื้อสินค้าให้เป็นไปตามกฎหมาย
4.) ผ่อนปรนให้ร้านค้าสามารถโพสต์รูปสินค้า และอธิบายสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางสื่อโซเชียลมีเดียได้ม็อบ “คราฟต์เบียร์” ประท้วง รัฐไร้เยียวยา
5.) อนุญาตให้ผู้ประกอบการชะลอการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มและนำส่งประกันสังคม
6.) อนุญาตให้ผู้นำเข้า สามารถแบ่งชำระภาษีสรรพสามิตและภาษีนำเข้าเป็นงวดๆ เพื่อบรรเทาปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน
ล่าสุด กรมสรรพสามิต โดยนายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษา ด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่ามีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกรมสรรพสามิต 2 ประเด็น ได้แก่ ขอให้ผ่อนปรนการบังคับใช้กฎหมาย ห้ามเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ โดยอนุญาตให้ร้านค้าสามารถจำหน่ายเบียร์สดในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก เพื่อให้ลูกค้าสามารถนำกลับไปบริโภคที่บ้าน
กรมสรรพสามิตขอชี้แจงว่า ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 มาตรา 157 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดเปลี่ยนแปลงภาชนะสุราเพื่อการค้า เว้นแต่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ผลิตสุรา หรือเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 2 เฉพาะกรณีผู้ซื้อได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุราเพื่อดื่มในขณะนั้น
วัตถุประสงค์ของบทบัญญัติมาตรานี้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถ บริโภคสินค้าที่ได้มาตรฐานปราศจากการปนเปื้อน ซึ่งถ้าหากให้ร้านค้าสามารถเปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุได้อย่างอิสระนอกโรงอุตสาหกรรมซึ่งอาจมิได้มีการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพระหว่างการเปลี่ยนแปลงภาชนะเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค
อาจทำให้เบียร์สดดังกล่าวเกิดปัญหาการปนเปื้อนรวมถึงคุณภาพ ของเบียร์สดอาจจะเปลี่ยนแปลงไประหว่างการเปลี่ยนแปลงภาชนะ ดังนั้นการอนุญาตให้ร้านค้าสามารถเปลี่ยนแปลงภาชนะ บรรจุเบียร์สดได้อย่างอิสระอาจจะส่งผลต่อผู้บริโภคให้ได้รับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน
ส่วนการขอแบ่งชำระภาษีเป็นงวดๆ นั้น จะเกิดความเสี่ยงในการติดตามเรียกเก็บภาษีในภายหลัง เนื่องจากมีการนำสินค้านำเข้าที่ยังไม่ได้ชำระภาษีออกไปจำหน่ายส่งผลให้การควบคุม ติดตามสินค้าดังกล่าวให้มาชำระภาษีจะดำเนินการได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าบริโภคต่าง ๆ รวมถึงคราฟท์เบียร์ด้วย
ทั้งนี้ กรมสรรพสามิตได้ให้อำนาจ กรมศุลกากรในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้านำเข้าแทนกรมสรรพสามิต และตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 มาตรา 54 (2) บัญญัติว่า "ในกรณีสินค้าที่นำเข้าให้ผู้นำเข้า ยื่นแบบรายการภาษีตามแบบที่อธิบดีกำหนด พร้อมกับชำระภาษีในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ซึ่งเป็นการชำระภาษีในคราวเดียวกับอากรศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย"
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ม็อบ “คราฟต์เบียร์” ประท้วง รัฐไร้เยียวยา