หากแต่ การให้ Feedback ก็ต้องมีเทคนิคกันนิด เพื่อไม่ให้กระทบกระทั่งและทำให้งานเดินหน้าไหลลื่น “อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา” ผู้ก่อตั้ง และกรรมการบริหาร สลิงชอท กรุ๊ป บอกว่า มีโอกาสอ่านหนังสือที่กำลังเป็น Talk of the Town ในขณะนี้ ชื่อ No Rules Rules เขียนโดย รีด เฮสติ้งส์ CEO ของ Netflix ที่บอกเล่าประสบการณ์และเคล็ดลับในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
รีด เล่าถึงวัฒนธรรมหนึ่งที่สำคัญใน Netflix คือ การพูดกันอย่างตรงไปตรงมาและขอข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) กันอย่างสม่ำเสมอ เทคนิคในการให้และรับ Feedback ของ Netflix ประกอบด้วย A จำนวน 4 ตัว (2 ตัวแรก สำหรับการให้ Feedback และ 2 ตัวหลัง สำหรับการรับ Feedback)
A - Aim to Assist : การให้ Feedback ทุกครั้ง ต้องมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อที่ช่วยเหลือหรือสนับสนุนให้ผู้ได้รับ Feedback ดีขึ้น ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงตัวเองได้มากขึ้น (คนไทยรู้มานานแล้ว เรียกว่า ติเพื่อก่อ)
A - Actionable : การให้ Feedback ที่ดี ต้องมีคำแนะนำที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง การตำหนิอย่างเดียว โดยไม่มีเสนอแนะนำว่า ถ้าต้องการทำให้ดีขึ้น ควรทำอย่างไร ถือเป็น Feedback ที่ไม่มีคุณภาพ
A - Appreciate : เมื่อได้รับ Feedback ให้กล่าวคำขอบคุณ ไม่ว่าจะชอบ Feedback นั้นหรือไม่ และไม่ว่า Feedback นั้นจะเป็นเรื่องจริงหรือเข้าใจผิด ก็ตาม ... เราขอบคุณที่เขาให้ Feedback ไม่ได้ขอบคุณเพราะ Feedback ดีหรือไม่ดี
A - Accept or Discard : เป็นสิทธิ์ของผู้ได้รับ Feedback ว่าจะรับและนำกลับมาปรับปรุง หรือทิ้งไปเลย ก็ได้
ช่วงต้นปี เป็นโอกาสอันดี ที่จะให้และรับ Feedback จากคนรอบข้างที่ทำงานด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน หรือลูกน้อง
ถ้ายังไม่ได้ทำ รีบเลย วันนี้ !
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
4 บทเรียนปีโควิด รู้ค่าคน ส่งเสริมประสิทธิภาพงาน
KTC สร้าง Learning Agility เตรียมพร้อมบุคลากรสู่อนาคต
"Put the right man on the right job" ฟังดูง่าย แต่ทำ...ยากมาก