ครอบครัวชนกลุ่มน้อย มวชนกะเหรี่ยงจากทุกกลุ่มตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา ออกไปร่วมชุมนุม ต้านรัฐประหารที่จังหวัดเมียวดีแน่นถนน
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 สถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา ในจังหวัดเมียวดี ตรงข้ามอ.แม่สอด จ.ตาก การชุมนุมประท้วงคณะรัฐประหาร ที่นำโดยพลเอกอาวุโส มินอ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสุงสุด และคณะ ยังมีอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการออกประกาศห้ามชุมนุมเกิน 5 คนจากคณะรัฐประหาร แต่การชุมนุมประท้วงของชาวเมียนมาจากหลากหลายอาชีพ ที่มีประชาชน ข้าราชการ นักศึกษา นักเรียน ในจังหวัดเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ฝั่งตรงข้ามอ.แม่สอด เข้าร่วมเพิ่มมากขึ้นนับ 50,000 คน พร้อมเคลื่นขบวนไปรอบ ๆ เมืองเมียวดี ส่งเสียงร้องดังกระหึ่มกึกก้อง เพื่อขับไล่พลเอกอาวุโส มินอ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสุงสุด ออกจากตำแหน่ง และเรียกร้องให้ปล่อยนางอ่องซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี.) และนายอูวินมินต์ ประธานาธิบดี รวมทั้งนักการเมืองทุกคน
ขณะที่หญิงชาวเมียนมา วัย กว่า 40 ปี ในจังหวัดเมียวดีคนหนึ่ง บอกกับสื่อมวลชนว่า ไม่เคยสนใจการเมืองมาเลยตลอดทั้งชีวิต แต่ที่ออกมาชุมนุมครั้งนี้เพราะทนไม่ได้กับความอยุติธรรม ที่มาเพียงแค่ร้องขอให้ทหารปล่อยตัวนางอ่องซาน ซูจี เท่านั้น หากปล่อยแล้วตนไม่สนการเมือง จะกลับไปทำงานตามปกติ
ล่าสุด มีราษฎรเมียนมาเชื้อสายกะเหรี่ยง ในพื้นที่เขตอิทธิพลของกองกำลังกะเหรี่ยงทุกฝ่าย เช่น กลุ่มบีจีเอฟ. หรือกองกำลังพิทักษ์ชายแดน กลุ่มสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู.) และมวลชนชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ออกมาเข้าร่วมการชุมนุมด้วย ทำให้มีผู้ชุมนุมเพิ่มมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ภาพประวัติศาสตร์ ต้านรัฐประหารเมียนมาลาม"เมียวดี-ท่าขี้เหล็ก"