วันนี้ (16 เม.ย.64 ) นพ.สมบัติ ผดุงวิทย์วัฒนา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวดัสตูล เปิดเผยว่า จากการสอบสวนโรคโควิด-19 กรณีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น เพศหญิง อายุ 34 ปี อาชีพพนักงานบริษัท อาศัยอยู่ในจังหวัด กรุงเทพมหานคร เดินทางมาเที่ยวเกาะหลีเป๊ะ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2564 ตรวจพบเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2564
ผู้ป่วยให้ประวัติว่า
วันที่ 10 เมษายน 2564 เที่ยวคาราโอเกะแถวทองหล่อ กับเพื่อนที่บริษัทจำนวน 5 คน
วันที่ 11 เมษายน 2564 เดินทางมาเที่ยวเกาะหลีเป๊ะะโดยเครื่องบินสายการบิน แอร์เอเชีย FD 3116 เลขที่นั่ง 21C ออกจากสนามบินดอนเมืองกรุงเทพมหานคร ถึงสนามบินหาดใหญ่
นั่งรถตู้ออกจากสนามบินหาดใหญ่ด้วยรถตูข้องบริษทัวร์มีผู้โดยสารมาด้วยกัน จำนวน 8 คน เป็นคนไทย 4 คน ชาวต่างชาติ 4 ค น ถึงท่าเรือ ปากบาราเพื่อลง เรือไปเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งมีผู้โดยสารเที่ยวนั้น 48 ค น ถึงเกาะหลีเป๊ะ เข้าที่พักแห่งหนึ่งบนเกาะหลีเป๊ะ โดยพักคนเดียว
วันที่ 12 เมษายน 2564 ออกทริปดำน้ำ มีผู้ร่วมทริป 12 คน staff 3 คน รวม 15 คน เป็นชาวต่างชาติ13 คน ชาวไทย 2 คน กลับจากดำน้ำ เปลี่ยนที่พักเป็นอีกที่หนึ่ง บนเกาะหลีเป๊ะ และได้รับข้อความจากหัวหน้าที่ทำงานว่ามี เพื่อนร่วมงานที่ไปเที่ยวในกลุ่ม 5คน (ที่ทองหล่อ) มีผู้ติดเชื้อ 1 คน หลังจากนั้นอยู่ต่อในที่พัก รับประทานอาหารในห้องพัก
วันที่ 13 เมษายน 2564 ลงเรือเดินทางไปยังท่าเรือปากบารา เพื่อไปโรงพยาบาลถึงท่าเรือ ปากบารา ต่อด้วยโดยสารรถแท็กซี่ นั่ง คนเดียว ไปยังโรงพยาบาลสตูล เพื่อขอรับการตรวจ ช่วงรอผลการ ตรวจไปพักที่รีสอร์ทแห่งหนึ่งใน อ.เมืองสตูล (พักคนเดียว)
ผลตรวจโรงพยาบาลสตูลครั้งแรกไม่แน่ชัด โรงพยาบาลสตูลส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ตรัง เพื่อยืนยัน
วันที่ 14 เมษายน 2564 ได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ตรัง ผลพบเชื้อ จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสตูล
ผลการปฏิบัติงานของทีม SRRT/CDCU จังหวัดสตูล (ทีมสอบสวนโรคและปฏิบัติการควบคุมโรค)
1.ติดตามสืบสวนสอบสวนค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิด บางจุดได้ค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดครบแล้ว พร้อมคำแนะนำให้ปฏิบัติตามมาตรการ มีสุขอนามัยที่ดี ทุกคนเฝ้าสังเกตอาการกัก ตัวเองเรียบร้อยแล้ว ส่วน อาคารสถานที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่พัก 2แห่ง เรือ3 ลำ รถตู้ และแท็กซี่ ได้มีการทำ ความสะอาดฆ่าเชื้อ โดยผู้ประกอบการได้ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขอนามัย มีการรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัด
2.ทีม SRRT/CDCU (ทีมสอบสวนโรคและปฏิบัติการควบคุมโรค) จัดระบบติดตามตลอด ระยะช่วงเวลาเฝ้าสังเกตอาการกลุ่มเสี่ยงทุกคน จนครบ 14 วัน ติดตามการรายงานสุขภาพ เพื่อประเมิน อาการและสถานการณ์การระบาด ติดตามและแจ้งข้อ มูลให้ผู้สัมผัสรายงานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
3.หากติดต่อค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดไม่ได้ครบทุกคน ได้เตรียมร่างประกาศหาบุคคลเฉพาะ ส่วนที่ติดต่อไม่ได้ไว้แล้ว เพื่อไม่ต้องให้เกิดความตื่นตระหนกโดยใช่เหตุกลุ่มเสี่ยงสัมผัสใกล้ชิดจะได้รับการติดต่อไปเพื่อแนะนำการกัก ตัวปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขอนามัย และเฝ้าระวังสังเกตอาการต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :