รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า ตัวเลขๆๆๆๆๆๆ เราอาจยังห่างจากตัวเลขจริง
1.การทำตัวเลขให้เป็นหลักเป็นฐาน ขอให้บอกตัวเลขในแต่ละพื้นที่ที่ตรวจและเป็นบวกกี่ตัวอย่างและเป็นกี่%ที่บวก
2.การตรวจขณะนี้เป็นเชิงรุกไม่ได้แบบถ้วนทั่วทุกตัวคน แบบใน ตปท ที่ปรับตัวกันหมดแล้ว โดยตรวจอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ในคนที่ต้องทำงานนอกบ้าน หรืออย่างน้อยอาทิตย์ละหนึ่งครั้งสำหรับคนที่ทำงานในบ้านเป็นส่วนใหญ่ ออกจากบ้านน้อย ในประเทศเราเป็นการตรวจเจาะจง ดังนั้น คนที่ประสงค์อยากจะตรวจ ต้องให้ทราบว่ามีข้อจำกัดมากหลาย คนหน้าด่าน คนในห้องปฏิบัติการ เครื่อง สกัด เครื่องเพิ่มปริมาณ น้ำยา สารพัด
3.ขณะที่หาที่ตรวจไม่ได้ และคิดว่าตนเองเสี่ยง ทำตัวตามปกติไม่ได้ ต้องระวังตัวสูงสุดที่จะไม่แพร่เชื้อไปให้คนอื่น และขณะที่พยายามไปหาที่ตรวจที่ต่างๆ เท่ากับเป็นการแพร่เชื้อไปเรื่อยๆ และเช่นกัน ในขณะที่รอผลการตรวจอีกหนึ่งหรือสองวัน ก็ต้องระวังตัวสูงสุด
4.และการตรวจแยงจมูกหนึ่งครั้งไม่บอกอะไรทั้งสิ้น ต้องอีกหนึ่งถึงสองครั้งภายในระยะเวลา 10 ถึง 14 วัน
5.ที่ใดที่ใช้เครื่องตรวจหาเชื้อเร็ว 1.5 ชม ระวังหลุด คือได้ผลลบ แต่จริงๆมีเชื้อ เหมือนที่เจาะเลือดปลายนิ้ว rapid test ตอนนี้ ที่มีอนุมัติขาย มีหลุดได้ถึง 10% นั่นคือ คนที่ติดเชื้อ100 คน จะพลาดว่าไม่ติดเชื้อ 10 คน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :