เตือน พฤติกรรมไม่ระวังตนเองนำไปสู่การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างวิบัติ

19 เม.ย. 2564 | 02:10 น.
อัปเดตล่าสุด :19 เม.ย. 2564 | 09:12 น.

หมอธีระวัฒน์ออกโรงเตือน พฤติกรรมไม่ระวังตนเองนำไปสู่การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างวิบัติ เอื้อให้ไวรัสกลายพันธุ์

รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า ถ้าจะกลัวเรื่องสายพันธุ์...ต้องถามตัวเองว่าขณะนี้ยังมีวินัยรักษาระยะห่างหรือไม่....เท่านั้นก็พอครับ ศ. นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา 19/4/64

การที่กล่าวถึงสายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่จากอังกฤษ และอย่างที่องค์การอนามัยโลก (WHO)ก็ออกมาเตือน ไวรัสกลายพันธุ์คู่ของ อินเดีย และเราก็ทราบแล้วว่าฟิลิปปินส์เป็นกลายพันธุ์คี่ คือ 3 และมีอีกหลายท่อนที่เปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมไปยังมโหฬาร

ทั้งนี้ทั้งหลายทั้งปวงเกิดจากการปล่อยให้มีการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางจนกระทั่งไวรัสมีการผันแปรของรหัสพันธุกรรม

การศึกษาที่รองรับเรื่องการ ผันแปรของรหัสพันธุกรรม ว่ามีผลจริงๆ คือต้อง พิสูจน์ให้ได้ว่าการผันแปรดังกล่าวส่งผลทำให้เกิดมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริงหรือที่เรียกว่า Functional mutations เช่นรายงานจากประเทศจีนในเดือนมีนาคมและเมษายน 2563 ผู้ป่วยติดเชื้อ 11 ราย มีการผันของรหัสพันธุกรรมในตำแหน่งต่างๆของยีนของไวรัส อู๋ฮั่น อย่างน้อย 33 แห่งและเมื่อนำไวรัสไปศึกษาในเซลล์เพาะเลี้ยงพบว่ามีการเพิ่มจำนวนได้มากกว่าเดิมเป็น 100 เท่า หรือทำการศึกษาในหนูแฮมสเตอร์ หรือ ในตัวมิ้งค์ ที่มีการติดเชื้อ โควิด-19 จากคน

และมีการแปรรหัสพันธุกรรมจนเป็นลักษณะเฉพาะตัวของมิ้งค์ และทำให้เกิดโรคได้หลายอวัยวะ เป็นต้น และมิ้งค์รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆที่ติดเชื้อจากคนก็สามารถส่งเชื้อกลับมายังคนได้แต่ในปัจจุบันอาการอย่างน้อยมากหรือไม่รุนแรงเลย

ทั้งนี้การ ผันของรหัสพันธุกรรมของไวรัสในท่อนต่างๆ แม้จะอยู่ใน assemblage หรือ clade หรือที่ชอบเรียกว่า “สายพันธ์” เดียวกัน ส่งผลให้มีการติดเชื้อซ้ำซ้อนครั้งที่สองได้แม้ว่าห่างกันจากการติดเชื้อครั้งแรกเพียงหกสัปดาห์โดยการติดเชื้อครั้งที่สองมีความรุนแรงกว่าครั้งแรก

การสรุปว่าติดได้เก่งขึ้น หรือรุนแรงขึ้น จำเป็นที่ต้อง พิจารณาถึงปัจจัยร่วมอย่างอื่น ในจุดผันแปรย่อยๆของยีนของไวรัสทั้งหมดด้วย และต้องประกอบกับลักษณะของมนุษย์ที่ติดเชื้อแต่ละบุคคล

ปัจจัยด้อยที่ทำให้เปราะบาง และมีการให้การรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ทันท่วงทีหรือไม่

แต่ตัวที่”ร้ายกาจที่สุด”ที่ทำให้ควบคุมไม่อยู่คือพฤติกรรมไม่ระวังตนเอง มีการแพร่ การรับเชื้ออย่างง่ายดาย ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอาจจะที่สุด ที่ทำให้แพร่ระบาดวิบัติ การผันแปรรหัสพันธุกรรม จะนำไปสู่การติดเชื้อใหม่ได้ การฉีดวัคซีนไม่ได้ผล และอาจส่งผลไปทำให้การตรวจหาเชื้อกระบวนการพีซีอาร์ไม่เจอด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :