น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานมาตรการป้องกัน ศูนย์อำนวยการป้องกันการแพร่เชื้อของโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า 2019 ซีพีเอฟ กล่าวว่า การผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดี เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของซีพีเอฟ ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 บริษัทฯ มีการประกาศมาตรการป้องกันโรคทั้งในคนและในสัตว์ เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและคร่งเครัด ควบคู่ไปกับหลักสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานในการเลี้ยงสัตว์ให้มีสุขภาพดีตามธรรมชาติ ไม่เจ็บป่วย เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์คุณภาพดี ในช่วงที่ผู้บริโภคต้องใส่ใจสุขภาพและความปลอดภัยของอาหารตลอดเวลา
ซีพีเอฟ ยังมีระบบการป้องกันโรคทางชีวภาพ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการระบบป้องกันโรคภายในฟาร์ม โดยคำนึงถึงโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง โรงเรือนเป็นระบบปิดที่ควบคุุมอุุณหภูมิอย่างเหมาะสม สัตว์ได้รับน้ำและอาหารจากแหล่งที่สามารถตรวจสอบที่มาของวัตถุดิบได้ โดยรับจากแหล่งที่มั่นใจได้ว่าปลอดภัย ปลอดเชื้อโรค เป็นต้น ทำให้มั่นใจได้ว่าฟาร์มของบริษัททั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ ตลอดจนฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ปลอดภัยจากโรคระบาด ทั้งโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเว่อร์ หรือ ASF ในสุกร และโรคติดเชื้อโควิด 19 ในคน ส่งผลดีต่อการผลิตอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต
“หลักการสวัสดิภาพสัตว์เป็นการส่งเสริมให้สัตว์มีความสุขกาย สบายใจ อารมณ์ดี มีสุขภาพแข็งแรง เติบโตตามวัย ไม่ป่วยและไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบกับคน เช่น ยาปฏิชีวนะ หรือฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นหลักประกันคุณภาพเนื้อสัตว์และคุณภาพอาหารปลอดภัยได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต” น.สพ. ดำเนิน กล่าว
จากการดำเนินงานด้านสวัสดิภาพสัตว์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ซีพีเอฟได้รับการยอมรับในระดับสากล และได้รับการเลื่อนชั้นดีขึ้นมาอยู่ใน Tier 3 จาก Tier 4 ของรายงานเกณฑ์มาตรฐานทางธุรกิจตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ปี 2563 (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare Report : BBFAW)
ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเนื้อสัตว์เพื่อสุขภาพที่ดี เช่น ไก่เบญจา ที่เลี้ยงด้วยข้าวกล้องคัดพิเศษ ปลอดสาร ปลอดภัย ไม่ใช้ฮอร์โมน และไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ 100% ตลอดการเลี้ยงดู และหมูชีวา ที่มีโอเมก้า 3 สูง จากการพัฒนาสายพันธุ์ นวัตกรรมอาหารและการเลี้ยง รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช (Plant-based Meat) เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคจำเป็นต้องรู้วิธีเลือกซื้อเนื้อสัตว์อย่างถูกต้อง โดยต้องมาจากผู้ผลิตที่ผ่านการตรวจสอบและได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ มีสัญญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” อยู่ในบรรจุภัณฑ์มิดชิด ระบุผู้ผลิต วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุชัดเจน ที่สำคัญควรปรุงสุกก่อนรับประทานเพื่อความปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ