แหล่งข่าวจากกลุ่มคลินิคเทคนิคการแพทย์ (แล็บเอกชน) เปิดเผยว่า จากประกาศกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เรื่อง “แนวทางป้องกัน ควบคุม และส่งต่อผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 กรณีสถานพยายาล ประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน” ซึ่งกำลังจะเป็นอุปสรรคการให้บริการตรวจเชื้อโควิด-19 ซึ่งแล็บเอกชนได้ดำเนินการเปิดรับตรวจแบบwalk in จากก่อนหน้านี้จะรับบริการเฉพาะกรณีส่งต่อจากสถานพยาบาลคู่สัญญาเท่านั้น
“สาเหตุที่ต้องรับwalk in เพราะมีคนต้องการรู้ว่าเป็นโควิดหรือไม่ มีจำนวนมาก แล็บเรามีศักยภาพก็คิดว่ารับภาระส่วนนี้ได้ เฉพาะแล็บของผมรับwalk in วันละ 300-400 ราย รู้ผลไม่เกิน 24 หรือ 48 ชั่วโมง ค่าบริการรายละ 1,500 บาทโดยเฉลี่ย”
อย่างไรก็ตาม จากประกาศกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งมีสาระส่วนหนึ่ง กำหนดให้ กรณีผลการตรวจคัดกรองพบเชื้อฯให้สถานพยาบาลแจ้งผล และต้องดำเนินการประสานกับสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับการรักษาพยาบาลทันที นั้นเป็นเงื่อนไขที่อาจทำให้แล็บต้องปิดบริการตรวจโควิด เพราะเมื่อรวมกรณีwalk in วันละ 300 ราย และกรณีส่งต่อมาจากสถานพยาบาลคู่สัญญา วันละ1,500 ราย หรือ รวมเป็นกรณีที่แล็บต้องตรวจหาโควิดเฉลี่ยวันละ 2,000 ราย จะพบผู้ติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 100 ราย ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา
กรณีการตวจพบเชื้อก็จะเข้าเงื่อนไขตามประกาศดังกล่าว ซึ่งปัญหาขณะนี้คือ ไม่สามารถประสานโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนให้หาเตียงให้ผู้ตรวจพบเชื้อได้ เนื่องจาก โรงพยาบาลต่างๆจะไม่สามารถจัดหาเตียงให้ได้ ทำให้ผู้ตรวจพบเชื้อต้องกลับบ้านและรอรับการรักษาทั้งที่ ข้อมูลยังไม่ได้เข้าสู่ระบบสาธารณะสุข
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า เมื่อผลตรวจออกมาก ทางแล็บจะดำเนินการ 2 อย่างคือ 1. ส่งผลตรวจให้เจ้าตัว เท่านั้นกรณีไม่ตรวจพบเชื่อ 2. ส่งข้อมูลเจ้าตัว และ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง(สปคน.) ซึ่งยอมรับว่าปัจจุบันได้เพิ่มช่องทางสายด่วนต่างๆ แต่พบว่าไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากไม่สามารถแน่ใจได้ว่า ข้อมูลที่ส่งต่อไปได้รับการตอบสนองหรือไม่ จึงเพิ่มช่องทางสบายดีbot เข้าไป โดยนำข้อมูลไปวางไว้ แต่ก็เป็นช่องทางที่ไม่แน่ใจเช่นกันว่า จะได้รับการตอบสนองหรือไม่
“ผมแนะนำให้ผู้ที่มีผลตรวจพบเชื้อ ไปเข้าระบบตรวจใหม่กับทางรพ.เอกชนกรณีที่มีกำลังจ่าย หรือไป รพ.รัฐบาลเพื่อให้ตัวเองมีข้อมูลอยู่ในระบบ เพราะดูเหมือนว่า ข้อมูลจากทางผมมันเข้าระบบไม่ได้ ซึ่งเสี่ยงที่จะไม่ได้รับบริการรักษาอย่างทันเวลา”
ปัจจุบัน ศูนย์แล็บขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงราว 5-6 แห่ง รวมที่มีขนาดกลางและขนาดเล็กรวมราว10-20 แห่ง ประชาชนมีความต้องการตรวจหาเชื้อที่ศูนย์แล็บเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เพราะมีความสะดวก ปลอดภัยจากความแออัด และได้รับผลตรวจรวดเร็ว ซึ่งเป็นช่องทางบรรเทาภาระของหน่วยงานสาธารณะสุข โดยผู้เข้ารับการตรวจหาเชื้อ จะเป็นกลุ่มที่กังวลว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง นักเรียน นักกีฬา นักธุรกิจและนักลงทุนที่ต้องการในรับรองผลการตรวจเพื่อใช้ในการเดินทางในภาระกิจต่างๆกัน