จากกรณีการแพร่ระบาดโควิด19 ระลอกเดือนเมษายน 2564 ทวีความรุนแรงมากขึ้นและได้ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ล่าสุดในวันนี้ (5 พ.ค.) คณะรัฐมนตรีได้ออกมาตรการเยียวยารอบใหม่ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ โดยมาตรการเยียวยารอบใหม่ ครั้งนี้ ธนาคารภาครัฐสองแห่งด้วยกัน คือ ธนาคารออมสิน และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้ออกมาตรการเยียวยาระลอกใหม่ เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภค โดย ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ได้ใช้วงเงินรวมกันทั้งสิ้น 20,000 ล้านบาท เพื่อเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดโควิด-19
รายละเอียดมาตรการเยียวยา ของ ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. มีเงื่อนไขอย่างไรบ้างตรวจสอบได้จากบรรทัดถัดจากนี้
วัตถุประสงค์
- มาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิด 19 เป็นการให้สินเชื่อเพื่อเพิ่ม สภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชนและบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบ จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงาน/ลูกจ้าง หน่วยงานเอกชนที่มีเงินเดือนประจำ เป็นต้น
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
- ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย เป็นต้น และเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตรที่มีความจำเป็นต้องใช้ จ่ายเงินฉุกเฉิน ผ่านธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
สนับสนุนวงเงิน 20,000 ล้านบาท
- ธนาคารออมสิน10,000 ล้านบาท
- ธ.ก.ส. จำนวน 10,000 ล้านบาท
อัตราดอกเบี้ย
- คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี (ปลอดชำระเงิน ต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก)
- ระยะเวลา ดําเนินงานถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
มาตรการพักชําระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
- เป็น การให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFs) ขยายระยะเวลาพักชําระหนี้ให้แก่ลูกค้ารายย่อย ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามความสมัครใจ โดยการพักชําระเงินต้นเพื่อลดภาระการชําระหนี้เป็นการชั่วคราว ให้แก่ลูกหนี้ หรือเพื่อนําเงินงวดที่จะต้องชําระหนี้ไปเป็นสภาพคล่องในการดําเนินชีวิตประจําวันหรือเพื่อ การประกอบธุรกิจในช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยวิธีการชําระหนี้ที่พักชําระไว้ดังกล่าวจะต้องไม่เพิ่มภาระ ให้แก่ลูกหนี้มากจนเกินควรเมื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาสัญญาเงินกู้ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ย กรณีที่ SFIs ได้พิจารณาพักชําระไว้ด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง