รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (Yong Poovorawan) โดยมีข้อความว่า
โควิด-19
จากการติดตามการเปลี่ยนแปลงการแพร่ระบาดของ covid-19 ในประเทศไทยจะเห็นได้ว่าในปีที่แล้วสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยจะเป็นสายพันธุ์มาจากประเทศจีน ในขณะนั้นจากการตรวจจะพบว่าปริมาณไวรัสที่ตรวจพบในผู้ที่ติดเชื้อมีปริมาณ ไม่มากเท่าในปัจจุบัน
การควบคุมระยะแรกเรามีมาตรการเต็มที่ ก็สามารถควบคุมได้
ต่อมาเมื่อการระบาดในและนอก 2 ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมปีที่แล้ว สายพันธุ์ได้พัฒนาเป็นสายพันธุ์ G หรือที่ระบาดมาจากแรงงานที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน
การตรวจพบปริมาณไวรัสในผู้ป่วยก็ มีปริมาณเพิ่มขึ้น โรคก็ทำท่าที่จะควบคุมได้
การระบาดระลอก 3 เกิดขึ้น ปลายเดือนมีนาคมการระบาดครั้งนี้เป็นสายพันธุ์อังกฤษ ปริมาณไวรัสที่ตรวจพบในลำคอผู้ป่วยสูงมากจริงๆ จึงทำให้เกิดการแพร่กระจายได้ง่าย และอย่างรวดเร็ว กว่าสายพันธุ์เดิมๆ ทำให้การควบคุมลำบากยิ่งขึ้นอีก
จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่สามารถที่จะควบคุมได้ ปริมาณไวรัสที่มีจำนวนมาก ทำให้เกิดการแพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่รวมกัน หรือในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งแตกต่างกับปีที่แล้วอย่างมาก
การวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เมื่อเราเรียนรู้เราก็พยายามที่จะต่อสู้ ลดจำนวนการแพร่กระจายของไวรัส แต่ไวรัสเองก็มีการปรับตัว ให้แพร่กระจายได้ง่าย เพิ่มขึ้น เพื่อต่อสู้ กับมาตรการต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น
เราไม่สามารถที่จะกำจัดไวรัสโควิด 19 ให้หมดสิ้นไปได้ ขณะนี้ทำอย่างไรที่จะให้ เราและไวรัสอยู่ด้วยกันได้ ก็ต้องหมายความว่าถ้าเรามีภูมิต้านทาน และไม่เกิดโรครุนแรง หรือเสียชีวิต และไวรัสก็ต้องไม่ทำร้ายเซลล์เจ้าบ้านที่ไปอาศัยอยู่ โดยกฎเกณฑ์จะต้องมีการเลือกตามทฤษฎีแห่งความอยู่รอด
ดังนั้นถ้าทุกคนมีภูมิต้านทาน ไม่ว่าจะเกิดจากการติดเชื้อ หรือจากการให้วัคซีน และถ้าติดเชื้อไวรัสแล้วไม่เกิดโรคหรือเกิดน้อยที่สุด อย่างเช่นไวรัสทางเดินหายใจอื่นๆที่พบอยู่มากมาย ก็จะเป็นวิธี ที่จะทำให้สงบลงได้ จึงมีความจำเป็นที่ให้คนหมู่มากมีภูมิคุ้มกันจากวัคซีน
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมตัวเลขการฉีดวัคซีนในประเทศไทยจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.-26 พ.ค.64 พบว่า มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 3,208,882 โดส ประกอบด้วย เข็มที่ 1 สะสมอยู่ที่จำนวน 2,214,721 ราย และเข็มที่ 2 สะสมอยู่ที่ 994,161 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :