นายเรืองยศ เพ็งสกุล ประธานกลุ่มวิสาหกิจคนกรีดยางรายย่อยถ้ำพรรณรา (วคยถ.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากกรณีที่วันนี้ (31 พ.ค.64) น้ำยางสดจากมือชาวสวนยางปรับลง 5 บาท/กิโลกรัม พรุ่งนี้จะลงต่ออีก 3 บาท/กิโลกรัม วันต่อไป 1-2 บาท นี่คือเป้าหมายในการปรับราคาฐานวัตถุดิบ “น้ำยางสด”ที่รับไปปั่นเป็นน้ำยางข้น ส่วนคู่แข่งชิง “น้ำยางสด” ในตลาดก็คือ ยางพารารมควัน ดังนั้น คนไล่ทุบ ก็จะได้ 2 เด้ง เป็นการทุบราคายางพารารมควันไปด้วย คราวเดียวกัน
เริ่มจากการตั้งราคากลางตามกระแส ตามด้วยการทุบราคาประมูล บวกกับการปล่อยข่าวเรื่องยางจากฝ่ายบริหารที่ส่วนทางกับราคาจริงเสมอ มาถึงวันนี้ กยท. จะต้องมีตลาดทางเลือก ตลาดยางคุณภาพ ตลาดล่วงหน้า ตลาดข้อตกลง ฯลฯ ที่จะทำ
แต่วันนี้ไม่ทำอะไรเลย คนทำงานเป็นทำงานได้ไม่ให้ทำ เอาคนไม่คิดทำงานเข้าไปทำหวังแต่ประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญกว่าส่วนรวม แล้วจะแก้ปัญหาราคายางให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราได้อย่างไร อีกไม่กี่วันราคาน้ำยางสดจะต่ำกว่า 50 บาท/ กิโลกรัมแล้ว
หรือจะรอให้ถึง 3 กิโลกรัม 100 บาท อีกครั้ง ไม่เอาเปรียบเกษตรกรผู้เสียภาษีเซสส์ กิโลกรัมละ 2 บาท ไปหน่อยหรือ อย่ามั่วแต่พูดจะทำโน้นนี่นั้น แต่ด้านราคายังปล่อยให้ทุบตามกระแสข่าวอยู่เลย น่าอายมาก ราคาน้ำยางสดลงคือปัญหาใหญ่ คือฐานแรกของวงจรในกระบวนการผลิตยางพารา ผู้บริหารควรจะออกช่วยสกัดหยุดการไหลในทิศทางปรับตังลงของน้ำยางสด โดยใช้กลไกที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรม แล้วอย่างนี้จะมีการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ไว้ทำไม
อนึ่ง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รายงานสถานการณ์ราคา ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ราคายางวันนี้ในภาพรวมปรับตัวลดลง โดยได้รับปัจจัยกดดันจากการที่ ราคาตลาดล่วงหน้าต่างประเทศและราคาน้ำมันดิบปรับตัว ลดลงประกอบกับการที่มีปริมาณยางออกสู่ตลาดมาก รวมถึง ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และมีการปิดโรงงานผลิตถุงมือยางในจังหวัดตรังและสุราษฎร์ธานีเป็นเวลา 3 วัน นอกจากนี้นักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับ สถานการณ์ "โควิด-19" ที่มีการแพร่ระบาดทั่วโลก แต่อย่างไรก็ ตาม ตลาดยางยังคงได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่มากขึ้นกระตุ้นให้การผลิตยางล้อและถุงมือยางเพิ่มขึ้นและนักลงทุน นักลงทุนยังคงต้องติดตามเศรษฐกิจโลกต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง